กระดานสุขภาพ
ไทรอยด์ไม่เป็นพิษ | |
---|---|
9 กรกฎาคม 2560 12:13:18 #1 กินยารักษาไทรอยด์มาประมาณ3ปีครึ่งแล้วค่ะ เจาะเลือดตรวจแล้วทราบว่าไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ หมอก็ให้กินยาเพิ่มขึ้นจากปกติครึ่งเม็ด เพิ่มเป็น1เม็ดต่อวัน แต่ดูเหมือนอาการจะไม่ดีขึ้นเลยค่ะ แล้วช่วงนี้น้ำหนักก็ลดลงเยอะมากทำยังไงก็ไม่ขึ้น พยายามกินให้เยอะขึ้นก็แล้วนะคะ อาจเป็นผลจากเครียดในการทำงานด้วยมั้ยคะ ไม่ทราบว่ามีวิธีรักษาอย่างไรที่จะพอแนะนำได้บ้างมั้ยคะ เพราะเท่าที่รักษาตอนนี้คุณหมอก็ให้แต่ทานยาอย่างเดียวเลยค่ะ แล้วโรคนี้ออกกำลังกายช่วยได้มั้ยคะ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ. ขอบคุณค่ะ ปล. เป็นโรคนี้ตั้งแต่เด็กแล้ว แต่พึ่งมารักษาจริงจัง เพราะตอนเด็กๆไปตรวจโรงพยาบาลรัฐบาลหมอก็แค่บอกว่าไม่เป็นพิษแล้วก็ไม่ได้ให้ยาอะไรมากินเลยค่ะ |
|
อายุ: 26 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 45 กก. ส่วนสูง: 163ซม. ดัชนีมวลกาย : 16.94 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
15 กรกฎาคม 2560 16:09:23 #2 ภาวะ หรือโรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) หรือบางคนเรียกว่า ภาวะ/โรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ หรือภาวะ/โรคพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน คือภาวะ หรือโรคที่เกิดจากร่าง กายพร่อง หรือขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ทำงานลดลง หรือไม่สามารถสร้างไท รอยด์ฮอร์โมนได้ ซึ่งเมื่อเกิดจากตัวโรคของตัวต่อมไทรอยด์เองเรียกว่า “ภาวะ/โรคขาดไท รอยด์ฮอร์โมนปฐมภูมิ (Primary hypothyroidism)” และเมื่อเกิดจากโรคของต่อมใต้สมอง หรือโรคของสมองไฮโปธาลามัสแล้วส่งผลกระทบมายังการทำงานของต่อมไทรอยด์ เรียกว่า “ภาวะ/โรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมนทุติยภูมิ (Secondary hypothyroidism)” ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบต่อมไร้ท่อ ตั้งอยู่ด้านหน้าของลำคอ ในส่วนหน้าต่อลูกกระเดือก หรือกระดูกอ่อนไทรอยด์ (Thyroid cartilage) มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ประกอบด้วย 2 กลีบใหญ่ คือ กลีบด้านซ้าย และกลีบด้านขวา ซึ่งทั้งสองกลีบเชื่อมต่อถึงกันด้วยเนื้อเยื่อบางๆที่เรียกว่า อิสธ์มัส (Isthmus) ต่อมไทรอยด์ปกติของผู้ใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 18-30 กรัม แต่ละกลีบของต่อมไท รอยด์ ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร(ซม.) ส่วนที่กว้างที่สุด ประมาณ 2-3 ซม. และส่วนที่หนาสุดประมาณ 0.8-1.6 ซม. ซึ่งต่อมไทรอยด์ปกติไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และไม่สามารถคลำพบได้ ต่อมไทรอยด์ สร้างฮอร์โมนสำคัญ 3 ชนิด คือ ไทรอกซีน หรือ ที4 (Thyro xine, T4) ไตรไอโอโดไธโรนีน หรือ ที3 (Triiodothyronine, T3) และ แคลซิโทนิน (Calcitonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญน้อยกว่า ฮอร์โมน ที4 และ ที3 เป็นอย่างมาก ดังนั้นโดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึง ไทรอยด์ฮอร์โมน จึงมักหมายความถึงเฉพาะฮอร์โมน ที4 และ ที3 เท่านั้น ฮอร์โมน ที4 และฮอร์โมน ที3 มีหน้าที่สำคัญมาก คือ ควบคุมดูแลการใช้พลังงานทั้งจากอาหาร และจากออกซิเจน หรือ ที่เรียกว่า เมตาโบลิซึม (Metabolism หรือ กระบวนการแปรรูปอณู) ของเซลล์ต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโต เพื่อการทำงาน และเพื่อการซ่อมแซมเซลล์ที่บาดเจ็บสึกหรอ และยังช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายด้วย ส่วนฮอร์โมนแคลซิโทนิน มีหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของเกลือแร่แคลเซียมในร่างกายให้อยู่ในสมดุล ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่ทำงานโดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของต่อมใต้สมอง (Pituita ry gland) และของสมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus เป็นสมองส่วนหนึ่งของสมองใหญ่/Cerebrum โดยอยู่ในส่วนลึกกลางสมองใหญ่) ซึ่งทั้งต่อมใต้สมอง และสมอง ไฮโปธาลามัส ยังควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นๆด้วย เช่น ต่อมหมวกไต รังไข่ และอัณฑะ และยังมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ และจิตใจ ดังนั้น การทำงานของต่อมไทรอยด์ รวมทั้งโรค หรือ ภาวะผิดปกติต่างๆของต่อมไทรอยด์ จึงสัมพันธ์กับการทำงาน และโรคต่างๆของอวัยวะเหล่านั้น รวมถึงความสัมพันธ์กับอารมณ์และจิตใจ เนื่องจาก ฮอร์โมน แคลซิโทนิน มีบทบาทน้อยมากในการดำรงชีวิต และในโรคของต่อมไทรอยด์ ดังนั้นในบทนี้ เมื่อกล่าวถึงเรื่องของต่อมไทรอยด์ จึงกล่าวถึงเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับฮอร์โมน ที4 และฮอร์โมน ที3 เท่านั้น และจะรวมเรียก “ฮอร์โมน ที4 และ ที3 ว่า ไทรอยด์ฮอร์โมน” อาการจากภาวะ/โรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมนจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ค่อยๆเกิดอาการ ไม่ใช่อาการที่เกิดเฉียบพลัน นอกจากนั้นยังมีได้หลายๆอาการร่วมกัน ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการขึ้นกับว่าขาดฮอร์โมนในปริมาณเล็กน้อย หรือในปริมาณมาก ซึ่งอาการที่พบได้บ่อย คือ อ้วน ฉุ บวม ที่ใบหน้า รอบดวงตา ลำตัว แขน มือ ขาและเท้า หัวใจเต้นช้า เหนื่อยง่าย ช้า เซื่องซึม ง่วงนอนตลอดเวลา เมื่อเกิดในเด็ก เด็กจะเจริญเติบโตช้า เตี้ยกว่าเกณฑ์มาก ท้องผูก เหงื่อออกน้อย ทนหนาวไม่ได้ ตัวเย็นกว่าคนทั่วไป ผมร่วง ผิวหนังหยาบ แห้ง คัน เล็บด้าน เปราะ ฉีก แตก ง่าย ขนคิ้วบางโดยเฉพาะในส่วนปลายๆของคิ้ว กล้ามเนื้อเป็นตะคริวบ่อย กล้ามเนื้อลีบ ปวดข้อต่างๆ พูดเสียงแหบ มีภาวะซีด ไม่มีสมาธิ เมื่อเกิดในเด็ก สติปัญญาจะต่ำกว่าเกณฑ์ มีไขมันในเลือดสูง (โรคไขมันในเลือดสูง) ในผู้หญิง ประจำเดือนจะผิดปกติ เช่น มาแต่ละครั้งในปริมาณมาก และนาน ในผู้ชายอาจมีนมตั้งเต้า (Gynecomastia) ความรู้สึกทางเพศลดลง เป็นหมัน ซึมเศร้า บางคนอาจมีลิ้นใหญ่ และ/หรือหูได้ยินเสียงลดลง อาจมีต่อมไทรอยด์โต หรือโรคคอพอก (โรคของต่อมไทรอยด์) แนวทางการรักษาภาวะ/โรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน คือ การให้กินยาไทรอยด์ฮอร์โมนชดเชย ซึ่งหลายสาเหตุอาจต้องกินยาไทรอยด์ฮอร์โมนตลอดชีวิต เช่น หลังผ่าตัดต่อมไท รอยด์ หลังการฉายรังสีรักษาบริเวณลำคอ และหลังการกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน การดูแลตนเอง การพบแพทย์ คือ เมื่อมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ ไม่ควรดูแลตนเอง หลังจากพบแพทย์แล้ว ควรดูแลตนเองดังนี้ ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำเสมอ กินยาให้ครบถ้วน ไม่ขาดยา โดยเฉพาะไม่ขาดยาไทรอยด์ฮอร์โมน พบแพทย์ตามนัดเสมอ รีบพบแพทย์ก่อนนัด เมื่ออาการต่างๆเลวลง หรือมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือมีความกังวลในอาการ |
Anonymous