กระดานสุขภาพ
โดนแมวข่วนที่มือ เลือดซิบๆ 1เดือนผ่านไปเพิ่งฉีดยา | |
---|---|
21 กุมภาพันธ์ 2560 12:24:19 #1 โดนแมวข่วนที่มือคะ มี เลือดซิบๆ 1เดือนผ่านไปเพิ่งฉีดยา เพราะแมวตายไป1อาทิตย์ เพิ่งนึกได้ว่าโดนข่วน มันพอจะป้องกันได้ไหมคะ (แมวป่วยไม่แสดงอาการดุร้าย แต่ตัวแข็งมาก ผอมมากคะ) |
|
อายุ: 25 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 65 กก. ส่วนสูง: 153ซม. ดัชนีมวลกาย : 27.77 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
Luk_*****a |
21 กุมภาพันธ์ 2560 12:25:03 #2
และแมวก็ตายคะ
|
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
4 มีนาคม 2560 15:24:53 #3 โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) เกิดจากเชื้อไวรัสเรบี (Rabies) โดยเชื้อไวรัสนี้จะปรากฏอยู่ในน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรค เชื้อไวรัสเรบีที่มีอยู่ในน้ำลายสัตว์จะติดต่อสู่คนได้ทางบาดแผลที่ถูกกัด หรือทางรอยถลอกของแผลที่ถูกน้ำลายสัตว์ติดเชื้อนี้ หรือเข้าทางเยื่อตา ช่องปาก จมูก ซึ่งเชื้อไวรัสเรบีพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเช่น สุนัข แมว ค้างคาว กระรอก แรคคูน สกั้ง สุนัขจิ้งจอก โคยอท ซึ่งสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคจะต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยพบการติดเชื้อไวรัสเรบีในสุนัขมากที่สุด รองลงมาเป็นแมว ดังนั้นในประเทศไทยจึงอาจเรียกโรคติดเชื้อไวรัสเรบีอีกชื่อหนึ่งว่า โรคพิษสุนัขบ้า เมื่อคนได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า จะมีระยะฟักตัวของโรคก่อนที่จะแสดงอาการที่แตกต่างกันโดย มีช่วงได้ตั้งแต่ 5 วันถึง 5 ปี (พบนานที่สุด 8 ปี) แต่ส่วนใหญ่ไม่เกิน 1 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการทางระบบประสาทที่ดำเนินอย่างรวดเร็วเริ่มจากอาการไข้ กระสับกระส่าย กลืนไม่ได้/กลืนลำบากไวต่อสิ่งกระตุ้น(เช่น เห็นอะไรก็ตกใจ ตัวสั่น) ชัก หมดสติ และเป็นอัมพาต ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดที่ติดเชื้อไวรัสนี้จะเสีย ชีวิต สถานการณ์การติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงเรื่อยมาเนื่องจากการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทั้งก่อนและหลังสัมผัสโรค รวมทั้งการให้ยาอิมมูโนโกลบุลิน(Immunoglobulin) เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าซึ่งมีประสิทธิภาพสูง และการรักษาพยาบาลที่ป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆภายหลังเกิดเหตุบาดเจ็บจากสุนัขกัดเช่น การรักษาความสะอาดของแผลและการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดโอกาสเกิดแผลติดเชื้อแบคทีเรีย และการให้วัคซีนป้องกันบาดทะยักเพื่อการป้องกันการติดเชื้อบาดทะยัก ข้อบ่งใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าคือ ใช้สำหรับป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในเด็กและในผู้ใหญ่ ทั้งแบบป้องกันล่วงหน้าก่อนถูกสัตว์กัด (Pre-exposure vaccination) หรือใช้หลังสัมผัสโรค/เมื่อถูกสัตว์กัด/สัตว์เลียแผล (Post-exposure vaccination) ดังนี้ 1. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้า (Pre-exposure vaccination) มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าดังนี้ บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อพิษสุนัขบ้าเช่น บุคลากรในห้องทดลองและผู้ทำการค้นคว้าวิจัยหรือทำงานด้านการผลิตเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า จึงแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อนี้ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันล่วงหน้า เมื่อทำการฉีดวัคซีนตามตารางที่กำหนดแล้ว ให้ทำการตรวจสอบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค/ภูมิคุ้มกันฯโรคนี้ทุกๆ 6 เดือนเพื่อคงระดับภูมิคุ้มกันฯให้อยู่ในช่วงการป้องกันโรคนี้ โดยระดับภูมิคุ้มกันฯในเลือดที่สามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้คือ 0.5 ยูนิต/มิลลิลิตร กรณีพบว่าระดับภูมิคุ้มกันฯต่ำกว่าเกณฑ์ควรรับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้ากระตุ้นภูมิคุ้มกันฯซ้ำ 1 เข็ม บุคคลที่มีความเสี่ยงแต่ต่ำกว่ากลุ่มแรกได้แก่ สัตวแพทย์ ผู้ช่วยสัตวแพทย์ ผู้ดูแลสัตว์/สัมผัสสัตว์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ บุรุษไปรษณีย์ ก็ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเช่น เดียวกันและควรตรวสอบภูมิคุ้มกันฯทุก 1 ปี ประโยชน์ของการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสนี้ มีประโยชน์หลายประการเช่น ในผู้ที่จำเป็นต้องสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำ การฉีดวัคซีนฯเพื่อป้องกันจะทำให้ระดับภูมิคุ้มกันโรคฯสูงพอที่ป้องกันการติดเชื้อฯในกรณีที่ไปสัมผัสโรคฯที่อาจไม่รู้ตัว อีกทั้งยังทำให้การรักษาภายหลังสัมผัสโรคฯมีค่าใช้จ่ายลดลงและมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น เพราะผู้ป่วยที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน กรณีได้รับบาดเจ็บจากสัตว์สามารถรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ากระตุ้นเพิ่มเติมอีก 1 - 2 ครั้งเท่านั้นและไม่จำเป็นต้องให้ยาอิมมูโนโกลบุลิน แม้การสัมผัสโรคจะรุนแรงคือเกิดบาดแผลที่มีเลือดไหล 2. การฉีดวัคซีนนี้ป้องกันหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า (Post-exposure vaccination) มีจุด ประสงค์เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรคฯ ขนาดและตารางเวลาในการฉีดวัคซีนสำหรับป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในเด็กและในผู้ใหญ่จะเหมือนกัน ดังนั้นจึงสามารถปฏิบัติตามตารางเวลาในการฉีดวัคซีนได้ทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยผู้ใหญ่ โดยวิธีการฉีดวัคซีนจะแตกต่างกันตามจุดประสงค์ในการฉีดดังนี้ 1. การฉีดแบบป้องกันล่วงหน้า (Pre-exposure immunization) ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่: แนะ นำให้ฉีดวัคซีนทั้งสิ้น 3 เข็มโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ณ วันที่ 0 (เข็มที่ 1), ณ วันที่ 7 (เข็มที่ 2) และ ณ วันที่ 21 หรือ 28 (เข็มที่ 3) เมื่อฉีดครบทั้งสิ้น 3 เข็มถือว่าครบวัคซีนชุดแรก (Primary vaccination) โดยวันที่ฉีดอาจคลาดเคลื่อนได้บ้างเล็กน้อย 1 - 2 วัน 2. การฉีดวัคซีนกระตุ้นหลังได้รับวัคซีนแบบป้องกันล่วงหน้าทั้งในเด็กและผู้ใหญ่: ภายหลังได้รับวัคซีนชุดแรก (Primary vaccination) ครบ 1 ปีแล้ว ให้ทำการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำอีก 1 เข็ม จากนั้นกระตุ้นซ้ำทุกๆ 5 ปี ทั้งนี้อาจพิจารณาการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าสูง ซึ่งจะทำการฉีดเข็มกระตุ้นซ้ำเมื่อทำการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันแล้วต่ำกว่า 0.5 ยูนิต/มิลลิลิตร 3. การฉีดแบบป้องกันหลังสัมผัสโรค (Post-exposure immunization) ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่: วิธีการฉีดวัคซีนสำหรับการป้องกันหลังสัมผัสโรคคือ ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular) หรือฉีดเข้าในผิวหนัง (Intradermal) โดยให้ฉีดวัคซีนในช่วง 14 วันแรกภายหลังสัมผัสโรคเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค ดังนั้นผู้ป่วยควรมารับวัคซีนให้ตรงตามตารางเวลาที่กำหนดเสมอ กรณีมาผิดนัดโดยทั่วไปจะทำการฉีดวัคซีนเข็มต่อไปเลยโดยไม่ต้องเริ่มการฉีดวัคซีนใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ร่วมด้วย 3.1 วิธีฉีดสำหรับป้องกันหลังสัมผัสโรคทั้งในเด็กและผู้ใหญ่: ก.กรณีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular): ในรายที่เคยได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันล่วงหน้ามาก่อนโดยได้รับวัคซีนครบตามจำนวนแล้ว สามารถฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 1 เข็มในกรณีที่ได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มสุดท้ายมาน้อยกว่า 6 เดือน โดยฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็ม (0.5 มิลลิลิตรหรือ 1 มิลลิลิตรแล้วแต่วัคซีนแต่ละชนิด) ณ วันที่ 0 (เข็มที่ 1) เพียงครั้งเดียวเท่านั้น, และกรณีได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มสุดท้ายมานานกว่า 6 เดือน (โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยได้รับมานานเท่าใดก็ตาม) ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นเข้ากล้ามเนื้อทั้งหมดจำนวน 2 เข็มคือ ฉีด ณ วันที่ 0 (เข็มที่ 1) และ ณ วันที่ 3 (เข็มที่ 2) และไม่จำเป็นต้องฉีดยาอิมมูโนโกลบุลินป้องกันเชื้อพิษสุนัขบ้า ข. กรณีฉีดเข้าในผิวหนัง (Intradermal): การฉีดด้วยวิธีนี้มีข้อจำกัดโปรดศึกษาหัวข้อ “วิธีบริหารวัคซีนฯ” เพิ่มเติม ในรายที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันฯล่วงหน้าครบตามจำนวนมาก่อนแล้ว สามารถฉีดวัคซีนฯหลังสัมผัสโรคเข้าในผิวหนังจำนวน 1 เข็มในกรณีที่ได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มสุดท้ายมาน้อยกว่า 6 เดือน โดยฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันเข้าในผิวหนังปริมาณ 0.1 มิลลิลิตรจำนวน 1 จุด ณ วันที่ 0 (เข็มที่ 1) เพียงครั้งเดียวเท่านั้น กรณีได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเข็มสุดท้ายมานานกว่า 6 เดือน (โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยได้รับมานานเท่าใดก็ตาม) ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นเข้าในผิวหนังปริมาณ 0.1 มิลลิลิตรจำนวน 2 เข็มคือ ฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนังจำนวน 1 จุด ณ วันที่ 0 (เข็มที่ 1) ณ วันที่ 3 (เข็มที่ 2) และไม่จำเป็นต้องฉีดยาอิมมูโนโกลบุลินป้องกันเชื้อพิษสุนัขบ้า 3.2 กรณีผู้ป่วยมีการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าซ้ำในช่วงที่กำลังได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอยู่: ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีก เพราะพบว่าขณะนั้นผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันเพียงพอในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอยู่แล้วและไม่จำเป็นต้องฉีดยาอิมมูโนโกลบุลินป้องกันเชื้อพิษสุนัขบ้า |
Luk_*****a