กระดานสุขภาพ

ปวดตรงกลางท้องเจ็บ
Anonymous

14 พฤศจิกายน 2559 16:50:28 #1

ขอรบกวนคุณหมอหน่อย คือไม่ทราบว่าเป็นอะไรชอบปวดแน่นเจ็บตรงกลางท้องมากเลอบ่อยเลอทีเหมือนจะอวกออกมาเลยค่ะ เข้าห้องปวดท้องก็มีแต่ลมทรมานมากค่ะ หิวก็เป็น อิ่มก็เป็น เหมือนกินแล้วไม่ย่อยเลยค่ะ เป็นบ่อยมากและก็แสบท้องด้วยต้องไปหาหมอหรือซื้อยามาทานเองค่ะแต่มีโรคประจำตัวความดันสูงไขมันในเลือดสูงค่ะแต่ไม่ได้ต่อยาแล้วอาการปวดหัวบริเวรกระหมับจนถึงท้ายทอยเหมือนจะระเบิดเกี่ยวกับความดันขึ้นไหมค่ะแล้วอันตรายมากไหมค่ะถ้าไม่ได้ต่อยา
อายุ: 25 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 68 กก. ส่วนสูง: 160ซม. ดัชนีมวลกาย : 26.56 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

21 พฤศจิกายน 2559 11:28:42 #2

อาหารไม่ย่อย หรือธาตุพิการ (Indigestion หรือ Dyspepsia) คือ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายๆอาการพร้อมกัน อาจเกิดในขณะกินอาหาร และ/หรือภายหลังกินอาหาร เช่น แน่นท้อง อึดอัด เรอ แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ บางครั้งอาเจียน

อาหารไม่ย่อย เป็นอาการมักพบในผู้ใหญ่ เป็นอาการพบบ่อยประมาณได้ถึง 25-40% ของประชากรทั้งหมดต่อปี โอกาสเกิดอาการใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย
อาการอาหารไม่ย่อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณ 60%ของผู้มีอาการนี้ทั้งหมด คือ แพทย์หาสาเหตุไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยการตรวจด้วยวิธีใดๆก็ตาม ซึ่งรวมทั้งการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่ง เรียกผู้ป่วยในกลุ่มนี้ว่า Functional dyspep sia

นอกจากนั้นที่พบเป็นสาเหตุของอาการนี้ คือ

  1. จากโรคแผลเปบติค หรือ แผลในกระเพาะอาหาร พบได้ประมาณ 15-25%
  2. โรคกรดไหลย้อน (ไหลกลับ) หรือโรคเกิร์ด (GERD, Gastroesophageal reflux) พบได้ประมาณ 5-15%
  3. โรค มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือโรคมะเร็งหลอดอาหาร พบได้ประมาณ น้อยกว่า 2%
  4. นอกนั้น จากสาเหตุอื่นๆที่พบได้บ้างประปราย เช่น โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคตับอ่อนอัก เสบ โรคกระเพาะอาหารบีบตัวได้น้อย โรคขาดน้ำย่อยอาหารบางชนิด เช่น น้ำย่อยน้ำนม โรคเบาหวานมีพยาธิลำไส้ โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งตับอ่อนและจากผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดส์ (NSAIDS, Non-steroidal anti-inflammatory drug)

อาการจากอาหารไม่ย่อยที่พบได้บ่อย คือ

  1. แน่น อึดอัดท้อง โดยเฉพาะบริเวณกลางช่องท้องตอนบน มักมีอาการได้ตั้งแต่ใน ขณะกินอาหาร หรือหลังกินอาหารอิ่มแล้ว
  2. ปวดท้อง มวนท้อง แต่อาการไม่มาก โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะอาหาร (ช่องท้องบริเวณลิ้นปี่/ตรงกลางของช่องท้องตอนบน)
  3. แสบ ร้อน บริเวณลิ้นปี่ และ/หรือ แสบร้อนกลางอก
  4. อาจมีคลื่นไส้ และ/หรืออาเจียนได้
  5. อาจมีท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอ และ/หรือมีแก๊สในกระเพาะอาหารลำไส้มาก

การดูแลตนเอง การพบแพทย์เมื่อมีอาการอาหารไม่ย่อย คือ

  1. การปรับพฤติกรรมการกินอาหาร โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อปัจจัยเสี่ยง
  2. อาจปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยา ซื้อยาลดกรด หรือยาช่วยย่อยอาหารกินเอง
  3. ถ้าภายหลังการดูแลตนเองแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3-4 สัปดาห์ หรือเมื่อกังวลในอาการ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการ
  4. แต่ถ้าอาการต่างๆเลวลง ควรรีบพบแพทย์ภายใน 1 สัปดาห์ และ
  5. ควรรีบพบแพทย์ฉุกเฉิน เมื่อถ่ายอุจจาระเป็นสีดำเหมือนยางมะตอย หรือมีอาเจียนเป็นเลือด

ป้องกันการเกิดอาการอาหารไม่ย่อยได้โดย การป้องกันสาเหตุ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังได้กล่าวแล้วในตอนต้นที่ป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการกินอาหาร เช่น

  1. กินอาหารให้ตรงเวลา
  2. กินอาหารแต่ละมื้อไม่ให้อิ่มมากเกินไป
  3. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
  4. ไม่กินอาหารรสจัด
  5. หลังกินอาหารไม่นอนทันที
  6. เคลื่อนไหวร่างกายสักพักหลังกินอาหารเพื่อช่วยการย่อย และการบีบตัวของกระ เพาะอาหารเพื่อขับเคลื่อนอาหารออกจากกระเพาะอาหารได้เร็ว ไม่คั่งค้างให้เกิดอาการ

นอกจากนั้น คือการสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างอาการ กับประเภท และปริมาณอาหาร และหลีกเลี่ยง หรือลดปริมาณอาหารเหล่านั้นๆลง ค่อยๆปรับตัวไปเรื่อยๆ

ในส่วนของอาการปวดศีรษะที่ปรึกษามา ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุก่อนค่ะ ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เนื่องจากที่ปรึกษามาอาการดูรุนแรง