กระดานสุขภาพ
อยากถามคุณหมอเรื่องตรวจสอบเบาหวานครับ | |
---|---|
3 พฤศจิกายน 2559 11:18:06 #1 คือผมมีอาการคล้ายจะเป็นเบาหวาน คืออาการมันไม่แน่นอนอะครับ คอแห้งบ้างแต่เป็นบางทีคันตามเนื้อตามตัวก็มีบ้างแต่มันเหมือนมีนิดเดียวอะครับ แล้วก็แผลหายปกติ ไม่ได้ช้าอะไร(เช่นผมเป็นที่ปากใช่เวลาประมาน1อาทิตหาย ผมหนังศรีสะเป็นแผลเพราะย้อมผมหนัก ใช่เวลาประ5-6วันก็หายแล้วอะครับ) ไม่มีมดมาตอมฉี่. แต่ผมลองตรวจสอบเบาหวานโดย นำสารละลายเบเนดิกผสมกับฉี่แล้วเอาไปต้ม มันเหมือนเปลี่ยนเป็นสีเขียวอะคับ เหมือนสีน้ำเงินอบเขียวคับ ในเว็บเขาบอกว่าถ้าตรวจว่าเป็นสีเขียว(+1)ขึ้นไป ให้เราคิดไว้เลยวาเราเป็นเบาหวาน แต่ผมได้ไปอ่านกระทู้ในเว็บ***เขาบอกว่าเขามีอาการเป็นเบาหวาน มีมดมาตอมฉี่ด้วย แล้วเขาไปตรวจกับหมอ หมอบอกเขาว่า ไกล่เป็นแล้วอยู่ในขั้นเสี่ยงถ้าไม่ลดน้ำตาลอาตเป็นได้ ผมก็เลยสงสัยว่าระหว่างผมที่มดไม่ขึ้นฉี่กับเขาที่มดขึ้นฉี่ มันน่าจะเป็นเขาที่มีน้ำตาลในฉี่มากกว่าผม แต่ทำไมหมอบอกเขาว่าแค่เสี่ยงจะเป็น แต่ผมเป็นหละคับ(ที่บอกว่าผมเป็นคือดูจากเว็บ) |
|
อายุ: 22 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 141 กก. ส่วนสูง: 178ซม. ดัชนีมวลกาย : 44.50 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
6 พฤศจิกายน 2559 17:05:18 #2 เบาหวาน (Diabetes mellitus หรือ Diabetes หรือเรียกย่อว่า โรคดีเอ็ม, DM) เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ต้องได้รับการดูแลรักษาตลอดชีวิต ทั้งนี้เกิดจากการที่ในเลือดมีน้ำตาลสูงกว่าปกติ เบาหวานเป็นโรคที่พบได้สูงในคนทุกอายุและทั้งสองเพศ แต่จะพบได้สูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยทั่วไป แบ่งเบาหวานได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ เบาหวานชนิด 1 (Diabetes mellitus type 1), เบาหวานชนิด 2 (Diabetes mellitus type 2) และเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ (Ges tational diabetes mellitus) เบาหวานชนิด 1 เบาหวานชนิดนี้พบได้น้อยประมาณ 5% ของเบาหวานทั้งหมด เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยผิดปกติ หรือสร้างไม่ได้เลย ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการรัก ษาด้วยการฉีดยาอินซูลินตลอดชีวิต ดังนั้น จึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า โรคเบาหวานชนิดต้องพึ่งอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes mellitus) และเพราะเบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและวัยรุ่น จึงเรียกได้อีกชื่อว่า โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น หรือ Juvenile diabetes mellitus ( อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.comบทความเรื่อง โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น) เบาหวานชนิด 2 เป็นเบาหวานที่มักพบในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในคนอ้วน ดังนั้น จึงเรียกอีกชื่อว่า เบาหวานในผู้ใหญ่ (Adult onset diabetes mellitus) และเป็นเบาหวานที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งอินซูลิน (Non- insulin-dependent diabetes mellitus) ซึ่งเบา หวานชนิดนี้พบได้สูงที่สุดประมาณ 90 - 95% ของโรคเบาหวานทั้งหมด ดังนั้น โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงโรคเบาหวาน จึงมักหมายถึงโรคเบาหวานชนิดนี้ (อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง รู้ทันเบาหวาน) เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ พบได้ประมาณ 2 - 5% ของเบาหวานทั้งหมด กล่าวคือ เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์เท่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่
เบาหวานมีอาการอย่างไร? อาการหลักสำคัญของเบาหวาน คือ หิวบ่อย กระหายน้ำ และปัสสาวะปริมาณมากและบ่อย นอกจากนั้น เช่น แพทย์วินิจฉัยเบาหวานได้อย่างไร? แพทย์วินิจฉัยโรคเบาหวานได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ประวัติการเจ็บ ป่วยของคนในครอบครัว การตรวจร่างกาย และที่สำคัญคือ การตรวจเลือดเพื่อดูปริมาณน้ำตาลในเลือด และ/หรือ ดูสารที่เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1C: Glycated hemoglobin) ค่าปกติของน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารอย่างน้อยประมาณ 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Sugar หรือเรียกย่อว่า FBS) คือ น้อยกว่า 110 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (มก./ดล.) หรือถ้าตรวจเลือดที่ 2 ชั่วโมงหลังแพทย์ให้กินน้ำตาลประมาณ 75 กรัม (Glucose tolerance Test หรือเรียกย่อว่า จีทีที/ GTT) ค่าน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 140 มก./ดล หรือค่า HbA1C น้อยกว่า 6.5% เบาหวาน คือ ค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารสูงตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป และ/หรือ ค่าจีทีที สูงตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป หรือค่า HbA1C มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5% อาจมีการตรวจอื่นๆประกอบด้วย เช่น การตรวจปัสสาวะดูน้ำตาลในปัสสาวะซึ่งจะไม่พบในคนปกติ นอกจากนั้น คือ การตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต เพราะเบาหวานมักส่งผลต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง และการตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์ เพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงของเบา หวานต่อจอตา หรือที่เรียกว่า เบาหวานขึ้นตา ดังนั้นในการจะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานคือ ต้องเจาะเลือดเพื่อดูปริมาณน้ำตาล ถึงจะวินิจฉัยได้นะคะ |
Anonymous