กระดานสุขภาพ
ท้องอืดท้องบวมปัสสาวะบ่อย | |
---|---|
8 กันยายน 2559 11:20:34 #1 สวัสดีค่ะ คือหนูเป็นตามหัวกระทู้เลยค่ะ คืออาการท้องอืดเรอเหม็นเปรี้ยวแน่นท้องและจุกตรงลิ้นปี่เหมือนอาหารไม่ย่อยด้วยค่ะ แล้วท้องหนูบวมเหมือนคนท้องเลยค่ะแต่ไม่น่าใจตั้งท้องเพราะประจำเดือนมาปกติทุกเดือนและไม่พศพ.ประมาน2เดือนแล้ว แต่ท้องทีกจะกรัตุกเกิดจากอะไรหรอค่ะ และมีอาการปัสสวะบ่อยร่วมด้วยการที่ท้องบวมจะไปกดทับท่อปัสสวะทำให้ปวดบ่อยหรือเปล่าค่ะ ขอบคุณค่ะ |
|
อายุ: 19 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 165 กก. ส่วนสูง: 58ซม. ดัชนีมวลกาย : 490.49 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
12 กันยายน 2559 04:28:12 #2 จากอาการกลุ่มแรกก่อนนะคะ ที่มีอาการท้องอืด เรอเปรี้ยว จุกลิ้นปี่ อาการนี้ทำให้คิดถึงภาวะกรดไหลย้อนค่ะ การรักษาจะใช้การรักษาด้วยยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมค่ะ ส่วนอาการที่มีปัสสาวะบ่อยและท้องโตขึ้น แนะนำให้พบแพทย์ตรวจร่างกายค่ะ การปรับการดำเนินชีวิตเพื่อบรรเทาอาการจากภาวะกรดไหลย้อน อาการของโรคกรดไหลย้อนสามารถบรรเทาให้เบาบางลงได้ การปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันเพียงบางอย่าง เช่น อาหารที่คุณรับประทานให้ลดความจัดจ้านลง กินอาหารให้ตรงเวลา หรือแม้แต่ขนาดของเสื้อผ้าที่คุณสวมใส่ 1. รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ 2. ไม่ควรเข้านอน หรือเอนกายหลังรับประทานอาหาร หลังรับประทานอาหารไม่ควรเข้านอนหรือเอนกายทันที ควรรออย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพื่อให้อาหารเคลื่อนตัวออกจากกระเพาะอาหารก่อน 3. งดบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 4. การปรับการดำเนินชีวิตเพื่อบรรเทาอาการ 5. ลดแรงกดต่อกระเพาะอาหาร 6. ผ่อนคลายความเครียด 7. การตั้งครรภ์
การรักษาด้วยยาเป็นวิธีการหนึ่งในการรักษาโรคกรดไหลย้อนในผู้ป่วยส่วนใหญ่อย่างได้ผล การรักษาด้วยยามีเป้าหมายต่างกันไปตามชนิดของยาและอาการ ยาที่ใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน สามารถแบ่งตามกลุ่มการออกฤทธิ์ได้ดังนี้ - ยาลดกรด (Antacid) ลดความเป็นกรดของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ใช้ในผู้ที่มีอาการเล็กน้อย หรือเป็นเพียงครั้งคราว เช่น Aluminium hydroxide , magnesium hydroxide เป็นต้น ในปัจจุบันยากลุ่มยับยั้ง Proton Pump เป็นยาที่ให้ผลการรักษาได้ดีที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดการหลั่งกรด และได้ผลเร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ คุณอาจต้องรับประทานยานี้ติดต่อกันนาน 6-8 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น ขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์ และเมื่อคุณสามารถปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตได้ แพทย์อาจปรับลดขนาดยาลงทีละน้อย ในรายที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนรุนแรงจนใช้ยาเต็มที่แล้วไม่ได้ผล หรือมีข้อห้ามในการกินยา รวมทั้งไม่ต้องการรับประทานยาตลอดเวลา หรือเป็นซ้ำบ่อยหลังหยุดยา ซึ่งพบได้ร้อยละ 10 ของผู้ป่วย แพทย์อาจพิจารณาใช้การผ่าตัดเป็นทางเลือกในการรักษา |
Anonymous