กระดานสุขภาพ
สอบการทานวิตามิน | |
---|---|
20 ธันวาคม 2558 13:45:26 #1 ขอเรียนถามคุณหมอค่ะดิฉันหลงๆลืมๆบางครังพูดวกไปวนมา และพูดซ้ำๆ ค่ะ ควรทานวิตามินอะไรเสริมได้บางค่ะคุณหมอและต้องทานนานแค่ไหนค่ะ |
|
อายุ: 45 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 55 กก. ส่วนสูง: 157ซม. ดัชนีมวลกาย : 22.31 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
อาจารย์พีระพรรณ โพธิ์ทองนักวิชาการโภชนาการ |
1 กุมภาพันธ์ 2559 14:07:52 #2 เนื่องจากสมองจะทำงานได้ดีต้องได้รับสารอาหารและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงสม่ำเสมอและตลอดชีวิต ตัวอย่างสารสื่อสมอง ที่สำคัญซึ่งมีผลกับสมองและความจำ เช่น 1. อะซิทิลโคลีน จะช่วยเพิ่มความจำ ควบคุมการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อ การหายใจ การนอนหลับ ตื่นตัว สารอะซิทิลโคลีนสร้างจากสารโคลีนหรือเลซิทิน ร่างกายสร้างสารโคลีนได้ แต่บางครั้งไม่เพียงพอต่อร่างกายจึงต้องการอาหารที่มีสารโคลีนให้มากพอ หากขาดโคลีนอาจเร่งความจำเสื่อม อาหารที่มีโคลีนสูงเช่น ไข่ หมู ถั่วเหลือง ตับไก่ เป็นต้น นอกจากนี้ในการสร้างอะซิทิลโคลีนสมองต้องการสารดีเอ็มเอดี ร่วมด้วยและแหล่งของอาหารที่ดีคือปลา 2. สารอาหารชนิดอื่นที่ร่างกายต้องการทุกวันเช่น คาร์โบไฮเดรท โปรตีน สังกะสี โอเมกา 3 วิตามินบี แมกนีเซียม สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น ในแต่ละวันควรกินอาหาร 3 มื้อ และแต่ละมื้อกิน - ข้าว ควรกินข้าวกล้องแทนข้าวขาว ก็จะได้คาร์โบไฮเดรทและวิตามิน - ปลา , หมูอย่างน้อย 4 ช้อนโต๊ะ หรือไข่ 1 ฟองต่อมื้อ จะได้รับโปรตีนที่ดี - ผักอย่างน้อย 1-2 กำมือต่อมื้อ สดหรือสุกก็ได้ จะได้วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ - ผลไม้ 5-6 ชิ้นขนาดพอคำต่อมื้อ ได้วิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ - ถั่วเมล็ดแห้งอย่างน้อย 1 กำมือต่อวันได้โปรตีนและแมกนีเซียม - ดื่มนมพร่อง่ไขมันหรือนมถั่วเหลือง 2 กล่องต่อวันจะได้โปรตีนและโคลีน การดูแลสมองให้ได้รับสารอาหารต่อเนื่องทุกวันจะมีส่วนช่วยให้ไม่ต้องเจอกับโรคหลงลืมได้ ในกรณีที่บางท่านกินอาหารเจระยะนานร่างกายก็จะขาดสารอาหารบางชนิดได้ซึ่งก็จะส่งผลต่อการทำงานของสมองในกรณีนี้ก็จะต้องกินวิตามินเสริมซึ่งควรเสริมเป็นวิตามินบี 1,6,12 , เหล็ก , โฟลิกแอซิก และควรดื่มน้ำตามให้มากด้วยอย่างน้อย 1.5-2 ลิตรต่อวัน ต้องไม่ลืมว่านอกจากอาหารแล้วสมองต้องการออกซิเจนด้วย การออกกำลังกายเพื่อช่วยให้ร่างกายและสมองได้รับออกซิเจนได้อย่างเพียงพอก็เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ต้องหาเวลาออกกำลังกายให้ได้ทุกอาทิตย์ ถ้าได้ทุกวันก็จะยิ่งดี 3. โฮโมซิสเตอีน เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งในร่างกาย เกิดจากการรับประทานอาหารโปรตีนมากเกินไปจึงควรกินอาหารโปรตีนในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกายเท่านั้น ซึ่งร่างกายคนทั่วไปต้องการเพียง 0.8 – 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน แล้วก็ไปเพิ่มกลุ่มอาหารประเภทผักและผลไม้มากขึ้น ซึ่งหากร่างกายตรวจพบค่าโฮโมซิสเตอีนสูงก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ และโรคอื่นๆ ที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายตามมา ความต้องการพลังงานและโปรตีนในแต่ละวัน น้ำหนักตัว 55 กิโลกรัม สูง 157 เซนติเมตร ค่าดัชนีมวลกาย = 22.31 กิโลกรัม/เมตร2 = ปกติ ความต้องการพลังงานในแต่ละวัน = 30 แคลอรี่ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน = 30 x 55 = 1,650 แคลอรี่ต่อวัน ความต้องการโปรตีน 0.8 – 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม = 55 x .8 = 44 กรัมต่อวัน หรือ = 55 x 1 = 55 กรัมต่อวัน หมายเหตุ กินเนื้อสัตว์ทุกชนิด หมู ไก่ ปลา กุ้ง 2 ช้อนโต๊ะ จะได้โปรตีน 7 กรัม กินไข่ทั้งฟอง 1 ฟอง หรือ ไข่ขาว 2 ฟอง จะได้โปรตีน 7 กรัม ดื่มนมพร่องไขมันหรือนมถั่วเหลือง 1 แก้ว ( 240 ซี.ซี) จะได้โปรตีน 7-8 กรัม กินข้าว 1 ทัพพี, ขนมปัง 1 แผ่น จะได้โปรตีน 2-3 กรัม ดังนั้นควรกินอาหารให้ได้รับพลังงานและพลังงานเพียงพอทุกวัน ร่างกายก็จะได้รับสารอาหารทีเพียงพอและบำรุงสมองได้ทุกวันแล้วค่ะ ที่มา ; ศัลยา คงสมบูรณ์ อาหารต้านวัยต้านโรค กรุงเทพฯ: อมรินทร์สุขภาพ, 2552. สุวลี โล่วิรกรณ์ “ กินอย่างไรจึงจะบำรุงสมอง” ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วารสารศูนย์บริการวิชาการ ปีที่ 15 ปีที่ 1-3 ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน 2550. วินัย ดะห์ลัน. อาหารกับสมอง from http://www.chula.ac.th. |
Deru*****e