กระดานสุขภาพ
ปรึกษาเรื่องการรักษาคอพอกเป็นพิษครับ | |
---|---|
8 สิงหาคม 2557 14:38:52 #1 เรื่องการรักษา พอดีไปโรงพยาบาลหมอนัดไปตรวจกับไปเอายามา2-3ครั้งเเล้วเเต่ละครั้งหมอคนละคนคนนึงอยากให้กินน้ำเเร่ เพราะตอนที่มาโรงพยาบาลครั้งเเรกขาอ่อนเเรงเขากลัวว่าถ้ามันกลับมาเป็นอีกกลัวหัวใจหยุดเต้น เเต่พอมาหาอีกคนบอกให้กินยาไปก่อนทั้งๆที่บอกว่าโอกาสที่จะหายขาดหลังกินยาเสร็จมีเเค่ครึ่งเดียว คือตอนนี้ต้องการตัดสินใจว่าจะรักษาด้วยวิธีไหนดี สิ่งที่ผมเข้าใจคือถ้ากินยาจนระดับฮอร์โมนปกติ(ครบ2ปี) เเล้วเราก็ต้องมาลุ้นว่ามันจะกลับมาเมื่อไหร่ ถ้ามันกลับมาเราต้องกินยาต่อหรือต้องไปกินน้ำเเร่เลย? ถ้ากลับมาเป็นอีกมันจมีโอกาสร้ายเเรงขนาดที่ก้อนโตจนต้องผ่าทิ้งเลยรึป่าว? เเล้วอะไรเป็นปัจจัยควบคุมว่ามันจะกลับมาเมื่อไหร่? เเล้วถ้ากินน้ำเเร่ มันมีโอกาสกลับมาเป็นอีกรึป่าว? หมอคนที่สองบอกผมว่ามันมีโอกาสกลับมาเป็นอีก เเล้วถ้าเเบบนั้นมันต่างกับกินยาให้ครบยังไง? เเต่หมอคนเเรกบอกมันจะไม่กลับมาเป็นอีกเเต่ต้องลุ้นว่าเมื่อไหร่เราจะมีอาการของคน thyroid hormone ต่ำ ถ้าถึงเวลานั้นก็ต้องกินยาเพิ่มไทรอยด์ไปตลอดชีวิต คือตอนนี้มันไม่ค่อยชัดเจนอะครับคนที่เเนะนำอีกเเบบอีกคนเเนะนำอีกเเบบเราก็ไม่รู้จะเลือกยังไง เเล้วการกินยาตัวนี้มีผลเสียต่อร่างกายยังไงบ้างครับ? เพราะต้องกินติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเรื่องความสูงการเจริญเติบโต เพราะผมเล่นกีฬาด้วยอยากให้มันสูงกว่านี้กลัวโรคที่เป็นอยู่กับการกินยาจะมีผลรึป่าว ขอบคุณนะครับที่ช่วยตอบ >< |
|
อายุ: 18 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 65 กก. ส่วนสูง: 180ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.06 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อวยพร ปะนะมณฑากุมารแพทย์ระบบต่อมไร้ท่อ |
19 สิงหาคม 2557 01:43:40 #2 อายุ 18 ปีแล้วแผ่นกระดูกปิดหมดแล้วจะไม่สูงอีกค่ะ ส่วนเรื่องการรักษาไทรอยด์เป็นพิษ มี 3 วิธี คือ วิธีที่ 1 การให้ยาต้านไทรอยด์ ต้องใช้เวลา 11/2 ถึง 2 ปี และต้องตรวจวัดระดับฮอร์โมนเป็นระยะๆ วิธีที่ 2 คือการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ จะใช้กรณีที่มีต่อมขนาดใหญ่มาก กดทางเดินหายใจ ทำให้หายใจลำบาก วิธีที่ 3 การให้ไอโอดีนกัมมันตรังสี มีวัตถุประสงค์ให้เซลล์ต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไม่ทำงาน ซึ่งไม่เพียงแต่ต่อมจะยุบหมดทำให้ไม่เห็นคอพอก แต่จะเกิดภาวะพร่องไทรอยด์อย่างถาวร จึงต้องให้ไทรอยด์ฮอร์โมนชดเชยตลอดชีวิต ซึ่งการปรับระดับฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยวิธีนี้จะง่ายกว่าการปรับยาต้านไทรอยด์มากค่ะ |
Anonymous