กระดานสุขภาพ
ปวดบั้นเอว+กระเบนเหน็บ : นั่งนาน - ยืนนาน ไม่ได้ | |
---|---|
13 มิถุนายน 2558 08:37:44 #1 ปวดบั้นเอว+กระเบนเหน็บ : นั่งนาน - ยืนนาน ไม่ได้ สาเหตุ : ยกของหนักมากลงรถเข็นผิดท่า เพศ : หญิง / อายุ : 44 ปี กิจกรรมที่ทำ : ทำขนม+อาหาร เป็นงานอดิเรก ระยะเวลาที่เป็น+รักษา : ต.ค. 57 - มิ.ย. 58 ก่อนบาดเจ็บ : ปกติไม่มีอาการปวดหลัง + ออกกำลังเป็นประจำด้วยการเดินเร็ววันละ 50 นาทีตอนเช้า และ แอโรบิกแบบไม่หนัก 45 นาที (5 วัน/สัปดาห์) ตอนเย็น / สามารถนั่ง+ยืน+เดินได้นาน ไม่มีปัญหาการปวดใดๆรบกวน 1. ตั้งแต่ยกของหนักผิดท่าก็ปวดบั้นเอว ไปหาหมอกระดูกและข้อที่คลินิก หมอให้ยาแก้ปวด+คลายกล้ามเนื้อแต่ไม่ดีขึ้น อาทิตย์ที่ 2 เริ่มปวดทั้งหลังจนยาก็เอาไม่อยู่ ปวดจนนอนไม่หลับ ทานยานอนหลับก็นอนได้แค่ 1-2 ชั่วโมง (ช่วงปวด... นั่งได้น้อยมาก 5 นาทีก็ปวดแล้ว, ที่นั่งโซฟาที่เคยนั่งๆ หรือ ที่นั่งนุ่มๆแบบปกติก็นั่งไม่ได้เลย...ต้องนอนราบตลอดแทบทั้งวัน) 2. ไปปรึกษาหมอแผนกศัลยกรรมประสาทที่โรงพยาบาล ไม่มีอาการร้าวลงขา หมอวินิจฉัยว่าเป็น “Muscle strain” ส่งไปแผนกกายภาพบำบัด ทำ Shortwave+Hotpack+Moblization+สอนท่าออกกำลัง (ขยันออกกำลังทุกวันวันละ 2 ครั้งๆละ 50-60 นาที) ดีขึ้นน้อยมาก ยังมีอาการนั่ง+ยืนได้สักพัก แล้วเมื่อยบั้นเอว+กระเบนเหน็บ...ต้องมานอนราบจึงจะดีขึ้น *** วันไหนปวดก็ประคบร้อน+กิน Norgesic*** 3. เข้าเดือนกุมภาพันธ์ 58 ไปพบหมอท่านเดิมอีกครั้ง หมอสั่งทำ MRI – LS & X-ray แบบให้แอ่นหลัง LS Spine (AP-Flixion, Extension) ผลปกติ แต่ก็ยังมีอาการเดิมถ้านั่งนาน หรือ ยืนนานจะเมื่อยจุดเดิม 4. พบหมอเวชศาสตร์ฟื้นฟูอีกโรงพยาบาล – หมอให้เทสต์ท่าต่างๆ บอกว่าไม่มีอาการกระดูกทับเส้น ส่งไปกายภาพ / นักกายภาพทำ Shortwave+Hotpack+Mobilization ให้....บอกว่ากล้ามเนื้อหลังฝั่งขวา Weak ด้านซ้ายตึง จึงให้ท่าออกกลังกายด้านข้าง+ด้านหน้า+ท่า Core Mobilazation เพิ่ม...ดีขึ้น เมื่อยน้อยลงแต่ไม่หาย *** ครบคอร์สทำกายภาพ 2 เดือน นักกายภาพบอกว่ากล้ามเนื้อแข็งแรงแล้ว+ความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก็ดีแล้ว แต่ก็ยังงว่าทำไม่ดิฉันจึงยังมีอาการปวดเมื่อยอยู่ 5. เม.ย. 58 พบแพทย์แผนจีนฝังเข็มที่โรงพยาบาล ฝังสัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวม 8 ครั้ง (ครบ 1 คอร์ส) ดีขึ้นเป็นบางวัน 6. อาการปัจจุบัน : ทำกิจกรรมต่างๆได้นานขึ้น ท่าบางท่าที่เคยทำไม่ได้ช่วงที่ปวดมากๆก็ทำได้ แต่ถ้านั่งนานประมาณ 30 นาที หรือ ยืนทำกิจกรรมต่างๆนานก็จะเมื่อยบั้นเอว+กระเบนเหน็บเช่นเคย.... *** ออกกำลังหลัง (บริหารกล้ามเนื้อหลัง+กล้ามเนื้อด้านข้าง+กล้ามเนื้อหน้าท้อง) ยังทำอย่างต่อเนื่องตามปกติทุกวันมิเคยขาด+เพิ่มการเดินออกกำลังวันละ 40 นาที เดิน 3-5 วัน/สัปดาห์ คำถาม : ตามหลักการควรจะหายแล้ว รักษามาแทบทุกอย่างแล้วแต่ทำไมเคสดิฉันถึงยังไม่หายคะ....เป็นอะไรอย่างอื่น หรือ ควรตรวจอะไรเพิ่มเติมอีกเปล่าคะ? *** อาการค่อนข้างเป็นอุปสรรคในชีวิตค่ะ...มีข้อจำกัดของเวลาในการทำกิจกรรม...ทำแล้วก็ต้องมานอนราบเพื่อพักหลังจึงจะไปทำกิจกรรมต่อได้ / จะเดินทางไกล เช่น นั่งรถนานหลายชั่วโมง หรือ นั่งเครื่องแบบที่เคยก็ทำไม่ได้ / นั่งดูคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะก็นั่งได้แป๊ปเดียว ฯลฯ / ตองระวังท่าทางต่างๆมากขึ้น เช่น นั่ง-ยืน-ก้ม (นักกายภาพแนะนำต้องงดยกของหนักไปตลอด ไม่งั้นอาการปวดมากๆก็จะกลับมาเป็นอีกค่ะ) MRI of the Lumbrosacral Spine History “ Chronic back pain Findings : The study reveals decreased lumbar lordosis. No spondylolisthesis is seen. Mild lumbar convexity of the left side is noted. Normal vertebral marrow signal is seen. No vertebral height loss is detected. Normal appearance of intervertebral discs is noted. No spinal canal stenosis or nerve root compression is seen. The conus medullaris ends at L1 level without abnormality. The cauda equine nerve roots are normally distributed. The paravertebral soft tissue is unremarkable. Bilateral visualized SI joins are unremarkable. Impression : Unremarkable study.
LS Spine (AP, Flexion, Extension) * Mild scoliosis and hyperlordosis is shown. * No fracture, narrow disc space or spur is noted. * Extension is done but flexion is limited, no subluxation. Impression : Mild lumbar scoliosis. Limited flexion without subluxation. |
|
อายุ: 44 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 52 กก. ส่วนสูง: 161ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.06 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
นพ. สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์แพทย์ออร์โธปิดิกส์ |
23 มิถุนายน 2558 04:47:39 #2 -อ่านเรื่องราวของคุณ คุณได้รับการรักษาและตรวจวินิจฉัยจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง ได้รับการทำกายภาพบำบัดและฝึกกายบริหาร รวมทั้งตัวคุณเอง มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ -อาการของคุณ พยาธิสภาพน่าจะเป็นที่ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว -ที่อาการยังไม่หายดี อาจมีพยาธิสภาพบางอย่าง เช่น กระดูกสันหลังมีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติในขณะยืนหรือเคลื่อนไหว ซึ่งถ้ากล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรงดี จะลดอาการปวดลงได้ครับ -ในระหว่างนี้ควรติดตามการรักษาจากคุณหมอเป็นระยะๆ จะได้แก้ไขถ้าอาการเป็นมากขึ้นครับ |
Baby*****y