กระดานสุขภาพ
กระดูกเท้าร้าว | |
---|---|
7 พฤศจิกายน 2555 05:08:41 #1 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (วันที่ 2) เท้าซ้ายพลิก (ฝ่าเท้าด้านในหงายออก) ไปหาหมอกระดูกและเอ็กซเรย์ พบว่ากระดูกร้าว (บริเวณกระดูกซึ่งอยู่ริมด้านนอก) แต่ไม่เคลื่อนออกจากกัน คุณหมอไม่ได้ให้ใส่เฝือกบอกว่าไม่จำเป็น กระดูกจะเชื่อมต่อกันเองเพียงแต่ให้ยามาทานลดการอักเสบและแคลเซี่ยม ด้วยความไม่แน่ใจประกอบกับจะต้องเดินทางไปต่างประเทศวันพุธหน้า (วันที่ 14) เป็นเวลา 1 อาทิตย์และจะต้องเดินค่อนข้างเยอะ ก็เลยไปหาหมอกระดูกอีกโรงพยาบาลซึ่งผลการตรวจเป็นแบบเดียวกันและคุณหมอไม่ได้ให้ใส่เฝือกเพียงแต่ให้ยามาทานเช่นเดียวกัน รบกวนสอบถามว่าถ้าจะต้องเดินทางไปต่างประเทศและจะต้องเดินค่อนข้างเยอะ จะส่งผลให้อาการแย่ลงกระดูกร้าวมากขึ้นรึเปล่าค๊ะ หรือจะต้องระวังอะไรบ้าง ผ่านมา 4 วันตอนนี้อาการบวมและรอยฟกช้ำลดลงแล้ว ถ้านั่งอยู่เฉยๆก็รู้สึกปรกติไม่ปวด เวลาเดินจะเจ็บบริเวณกระดูกที่ร้าวแต่ไม่มากลงน้ำหนักที่เท้าได้มากขึ้น ขอคำแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ |
|
อายุ: 49 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 52 กก. ส่วนสูง: 160ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.31 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ผศ.ดร.นพ. ภาสกร วัธนธาดา(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา และการวิเคราะห์การเคลื่อนไหว) |
8 พฤศจิกายน 2555 15:38:29 #2 ฟังจากอาการของคุณ 571b6 แล้วคือมีอาการบาดเจ็บจากเท้าพลิก ทำให้กระดูกร้าวแต่ยังอยู่ในตำแหน่งเดิม ไปพบแพทย์แล้ว 2 ท่านให้ความเห็นตรงกันว่าไม่ต้องเข้าเฝือก ส่วนอาการเรื่องการบวม รอยฟกช้ำ การลดน้ำหนักในการเดินดีขึ้นตามลำดับ โดยส่วนตัวของผมคงให้ความเห็นเรื่องการรักษาไม่ได้มากนักเนื่องจากไม่ทราบว่ากระดูกที่ร้าวเป็นกระดูกชิ้นไหน และบริเวณที่ร้าวมีระยะทางยาวมากน้อยแค่ไหน รอยร้าวของกระดูกจะหายเองใช้เวลาประมาณเท่าไร แต่ฟังจากอาการที่คุณเดินลงน้ำหนักได้ดีขึ้น ก็ดูไม่น่าจะมีความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บเพิ่มเติมมากนัก ในฐานะแพทย์ทางเวชศาสตร์การกีฬาแนะนำคุณ 571b6 ว่าขณะเดินทางไปต่างประเทศที่ต้องมีการเดินมาก ไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูงเพราะมีความเสี่ยงเกิดเท้าพลิกขึ้นอีก ควรใส่รองเท้ากีฬาประเภทการเดินหรือการวิ่ง เพราะรองเท้ากีฬาประเภทนี้จะช่วยลดแรงกระแทกที่เกิดขึ้นกับกระดูกบริเวณข้อเท้ามากที่สุด ดังนั้นความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บซ้ำของกระดูกที่ร้าวจะมีน้อยลงครับ สำหรับการผูกเชือกรองเท้ากีฬา แนะนำให้คุณ 571b6 ผูกเชือกรองเท้าในลักษณะที่ทำเป็น loop ใน 2 รูร้อยเชือกสุดท้ายที่ด้านปลายลิ้นรองเท้า แล้วนำเชือกอีกฝั่งสอดไขว้เข้าไปใน loop ที่ทำขึ้น ลักษณะการผูกเชือกในลักษณะนี้จะรัดข้อเท้าให้เคลื่อนไหวได้น้อยกว่าการผูกเชือกรองเท้าในลักษณะอื่น ส่งผลให้การป้องกันการบาดเจ็บซ้ำของกระดูกที่ร้าวเพิ่มขึ้นได้อีกพอสมควร อย่างไรก็ตามการผูกเชือกรองเท้าในส่วนของโคนลิ้นรองเท้า คุณ 571b6 สามารถผูกไขว้แบบปกติทั่วไปได้ ในกรณีที่คุณ 571b6 มีความกว้างบริเวณหน้าเท้าที่แคบ แต่หากคุณ 571b6 มีความกว้างบริเวณหน้าเท้าที่กว้างคุณสามารถผูกเชือกที่บริเวณโคนลิ้นรองเท้าได้ตามรูปที่แสดงนี้ครับ
รูปประกอบอ้างอิงจาก: http://blog.altrazerodrop.com/tips/lacing-technique/ |
Anonymous