กระดานสุขภาพ

เรียนถามเรื่องผลชื้นเนื้อมะเร็งเต้านมค่ะ
Anonymous

28 มิถุนายน 2559 02:08:50 #1

ขอเรียนถามคุณหมอค่ะ ดืฉันอายุ 46 ปี เป็นมัเร็งเต้านมก้อนขนาด 1.7 ซ ไม่เขาต่อมน้ำเหลืองผ่าตัดโดยเอาออกทั้งหมดแล้วเอาเนื้อด้านหลังมาเสริมค่ะ ได้รับเคมีสูตร AC 4 ครังและทานยาต้านฮอรโมน 5 ปี ผลชิ้นเนื้อมีดังนี้ค่ะ ER 90% PR 90% HER2/neu score 2+ Ki 67 10 % ตอนแรกไม่อยากให้ยามานี้มาคิดได้ว่าได้รับน้อยไปหรือเปล่าค่ะ เพราะอ่านเจอบทความว่าถ้าเป็นชนิดher2+ จะต้องได้รับยาherseptin ถึงจะได้ผลดี เพราะสายพันธ์นี้เป็นสายพันที่รุนแรงและจะอายุสั้น จากที่กังวนมากอยู่แล้วว่ากลัวกลับมาเป็นอีกตอนนี้ทำให้เครียดจัดเลย จึงอยากจะขอถามคุณหมอค่ะว่าจากผลนี้และการรักษาที่ได้รับเพียงพอรึยัง โอกาสการกลับมาเป็นอีกมากน้อยแค่ไหนค่ะ กราบขอบพระคุณคุณหมอเป็นอย่างสูงค่ะ
อายุ: 46 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 57 กก. ส่วนสูง: 158ซม. ดัชนีมวลกาย : 22.83 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์

(วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์)

29 มิถุนายน 2559 03:10:04 #2

ในมะเร็งเต้านม การตรวจ HER2 ครั้งแรกถือเป็นการตรวจเบื้องต้นจะให้ผลตรวจเป็น 4 ระดับคือ

0(negative คือ ผลเป็นลบ)

  • 1+(1บวก)หมายถึง ผลบวกต่ำมากที่ทางคลินิก/ทางการรักษายังจัดอยู่ในกลุ่มผลเป็นลบ
  • 2+(2บวก)หมายถึง ผลไม่แน่ชัดว่า บวกหรือลบ คือ borderly ซึ่งทางคลินิก ยังถือว่า ผลเป็นลบ
  • 3+(3บวก) หมายถึง ให้ผลบวก (positive) ซึ่งการตรวจ Her2 เบื้องต้นที่ได้ผล 3+ นี้ ผลยังอาจผิดพลาดได้ประมาณ 50% คืออาจเป็นผลบวกลวง ดังนั้น ในผู้ป่วยที่มี Her2 ให้ผลบวก 3+ แพทย์จะตรวจซ้ำอีกครั้งด้วยเทคนิคที่เฉพาะเจาะจงและซับซ้อนเพื่อยืนยันความถูกต้อง

ดังนั้น กรณีคุณ ทางคลินิก จึงถือว่า ผลตรวจ HER2 ยังเป็นผลลบ

ส่วนคำถามเรื่อง วิธีรักษาที่คุณได้รับรวมทั้งโอกาสโรคย้อนกลับเป็นซ้ำมีมากน้อยแค่ไหน แนะนำคุณปรึกษากับแพทย์ผู้รักษา เพราะวิธีรักษาและ การพยากรณ์โรคมะเร็งแพทย์ผู้รักษาเท่านั้นที่จะให้คำตอบเรื่องเหล่านี้ที่ถูกต้องเหมาะสมเพราะมีรายละเอียดทางด้านคลินิกอีกมากมาย เช่น ชนิดเซลล์มะเร็ง ลักษณะการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง จำนวนต่อมน้ำเหลืองที่ผ่าตัดออกมาได้ ฯลฯ รวมถึงต้องมีการตรวจร่างกายคุณด้วย

ดังนั้นแพทย์ทางเว็บจึงไม่สามารถให้คำปรึกษาในเรื่องเหล่านี้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมค่ะ

พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์

แพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา