กระดานสุขภาพ

มะเร็งไต
Anonymous

19 ธันวาคม 2555 15:03:01 #1

ขอสอบถามข้อมูลครับ

คุณแม่ อายุ 65 เป็นมะเร็งไต 1 ข้าง,ส่องกล้องพบเนื้องอกในกระเพาะอาหาร(หมอบอกเพิ่งเริ่ม) ,โรคความดัน(เป็นนานแล้ว ทานยาประจำ)

ตอนนี้เพิ่งผ่าตัดไต ได้ 2 สัปดาถามหมอพบต่อมน้ำเหลืองโตด้วยแต่เอาออกแล้ว และยังเจออีกสองจุดที่ปอด ตอนนี้กำลังพักฟื้น แต่มีอาการอาเจียนทุกวัน หมอเพิ่งให้ยาแก้อาเจียนวันนี้ ขอสอบถามดังนี้

1.อาการคลื่นใส้อาเจียนเกิดจากผลการผ่าตัดหรือ มะเร็ง ?

2. แม่ผอมมากเนื่องจากอาเจียนทุกวัน ทำอย่างไรดีครับ ?

3. หมอนัดประมาณสัปดาห์ละครั้ง ติดตามอาการ

4. ปกติหลังผ่าตัด หมอจะแจ้งว่าต้องทำอะไรต่อ เช่น ฉายรังษี หรือเคมีบำบัด หรือป่าวครับ?

5. วิธีการยับยั้งเซล มะเร็งไม่ให้แพร่กระจายนอกจากด้านบนแล้วมีวิธีอื่นอีกหรือป่าวครับ ?

ขอบคุณครับ

 

อายุ: 65 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 45 กก. ส่วนสูง: 164ซม. ดัชนีมวลกาย : 16.73 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์

(วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์)

20 ธันวาคม 2555 06:27:09 #2

1. ผ่าตัดได้ 2 สัปดาห์แล้ว ดังนั้น อาการคลื่นไส้อาเจียนของคุณแม่ จึงน่ามีสาเหตุจากโรคมะเร็ง แต่อาจจากสาเหตุอื่นได้บ้าง เช่น ผลข้างเคียงจากยา หรือ ปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ ซึ่งคิดว่าแพทย์คงกำลังหาสาเหตุและดูแลรักษาอยู่แล้วคะ

2. คำตอบเหมือนในข้อ 1 คะ รวมทั้ง คอยพูดคุยให้กำลังใจ และสังเกตว่าอะไรกระตุ้นให้คุณแม่อาเจียนมาก ก็ให้หลีกเลี่ยงสิ่งนั้น และเพื่อจะได้แจ้งแพทย์ พยาบาลได้ถูกต้อง นอกจากนั้นคือ ให้ท่านได้พักผ่อนเต็มที่คะ กินอาหารครั้งละน้อยๆ เป็นอาหารอ่อน เหลว หรือน้ำ ที่ท่านกินแล้วไม่อาเจียน (อ่านเพิ่มเติมใน บทความ ประเภทอาหารทางการแพทย์ ในเว็บ haamor.com) แต่กินให้บ่อยขึ้น เท่าที่ท่านจะกินแล้วไม่อาเจียน การให้กินแล้วอาเจียนผลเสียจะมากกว่าการไม่กินคะ

3. ข้อนี้คุณเพียงเล่ามา ดิฉันเดาคำถามไม่ถูก อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดว่า คุณแม่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล ก็ควรปรึกษา แพทย์ พยาบาลที่ดูแลรักษาคุณแม่คะ

4 และ 5 ที่คุณเล่ามาทั้งหมด คุณแม่ผอมทีเดียว มีโรคประจำตัว สูงอายุ (65ปี) และเป็นโรคมะเร็งระยะที่ 4 ระยะสุดท้าย น่าจะกระจายไปปอดแล้ว และมีเนื้องอกในกระเพาะอาหาร อ่านที่คุณเล่ามา น่าจะเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารด้วยถึงแม้จะระยะเริ่มต้นก็ตาม
การรักษาโรคมะเร็งในภาวะเช่นนี้ เป็นการรักษาประคับประคองตามอาการเป็นหลักสำคัญ เพราะมักไม่มีโอกาสรักษาได้หาย และสภาพร่างกายคุณแม่คงทนทั้ง ยาเคมีบำบัด รังสีรักษา หรือ ยารักษาตรงเป้า ไม่ไหว แพทย์ที่ดูแลรักษา น่าจะคิดว่า การรักษาที่ดีที่สุดในขณะนี้ คือ ดูแลสุขภาพคุณแม่ให้ดีขึ้นก่อน แล้วจึงค่อยพิจารณาเรื่องการรักษามะเร็งคะ

 

พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์

Anonymous

20 ธันวาคม 2555 14:53:12 #3

ขอบคุณคุณหมอที่ให้คำแนะนำ ครับ แต่สอบถามอีกอย่างเพื่อให้หายข้อข้องใจครับ

    เมื่อต้นปี แม่ทำ MRI เจอเนื้อร้ายที่ไตยังไม่ลามมาก แต่แม่ไม่ยอมผ่า(คนแก่ตามต่างจังหวัดมักเชื่อเพื่อนบ้านมากกว่าเชื่อหมอ) จนเมื่อ ตค ผมพาไป MRI อีกรอบ พบลามทั่วไต จึงยอมผ่า ขอสอบดังนี้

1 การ MRI ทั้งสองครั้งไม่สามารถเห็นจุดอื่นที่มะเร็งแพร่ไป เช่น ปอด ได้  ?  จนต้องผ่าเข้าไปดูถึงเห็น

2 หรือว่าด้วยเทคโนโลยีการสร้างภาพจากสนามแม่เหล็ก 1.5 Tesla ยังไม่แรงพอสำหรับการสร้างความแตกต่างระหว่างเซลของมนุษย์   เห็นในเวปของ ผู้ผลิตมีทั้ง 3,4 และ 7 tesla ?

Remark คำถามต้านบนไม่ได้ต้องการหาความใครครับ แต่กับรู้สึกเห็นใจคุณหมอใน ตจว ที่ต้องดูแลคนไข้เปนจำนวนมาก อีกทั้งลูกศิษย์(นศ แพทย์) อีกเป็นโขยง ผมแค่ความเคยชินใน ชีวิตการทำงานของตัวเอง

    ขอบคุณครับ

 

 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์

(วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์)

22 ธันวาคม 2555 08:12:53 #4

1,2 การตรวจภาพอวัยวะไม่ว่าด้วยเทคนิคใด ทั้ง เอกซเรย์ อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร( CT scan, CAT scan) รวมทั้ง MRI จะแยกตรวจเป็นอวัยวะๆ เฉพาะอวัยวะที่เกิดโรคเท่านั้น ไม่ได้ตรวจทั้งตัว เช่น ตรวจเฉพาะปอด หรือ การตรวจช่องท้อง ก็จะแยกตรวจเป็นช่องท่องส่วนบน และช่องท้องส่วนล่าง

ดังนั้น คุณแม่ตรวจเอมอาร์ไอไต จึงเป็นการตรวจช่องท้องส่วนบน (ตับ ไต ต่อมหมวกไต) ไม่ใช่การตรวจปอดคะ จึงไม่เห็นโรคของปอด ส่วนเอกซเรย์ปอดธรรมดา ถ้าก้อนเนื้อยังมีขนาดเล็ก ก็มักจะตรวจไม่พบ ซึ่งเป็นข้อจำกัดของเทคโนโลยีคะ

อีกประการ เป็นข้อจำกัดของเทคโนโลยีเช่นกัน บ่อยครั้งภาพที่เห็นจากทั้ง เอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ อัลตราซาวด์ และ/หรือจากเอมอาร์ ไม่สามารถบอกพยาธิสภาพที่แท้จริงได้ จึงอาจแตกต่างจากที่แพทย์ตรวจพบจากผ่าตัด ซึ่งที่ศัลยแพทย์เห็นด้วยตาเปล่าจากการผ่าตัดก็ยังไม่สามารถเห็นพยาธิสภาพที่แท้จริงของโรคได้ พยาธิสภาพที่แท้จริงที่เทคโนโลยีปัจจุบันจะช่วยการวินิจฉัยได้ใกล้เคียงความจริงที่เกิดขึ้น คือ กาตรวจทางพยาธิวิทยาคะ

นอกจากนั้น ถ้าผ่าตัด หลังจากการตรวจภาพนานเป็นสัปดาห์ โรคก็มีการเปลี่ยนแปลงได้ตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ขอบคุณมากเช่นกัน ที่เข้าใจลักษณะงานและข้อจำกัดของแต่ละงานและแต่บุคคลคะ

 

พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์