กระดานสุขภาพ
ยาเพนนิซิลินกับซัลฟา | |
---|---|
18 ธันวาคม 2555 17:02:32 #1 อยากทราบว่าผู้ที่แพ้ยาซัลฟาและเพนนิซิลินหากมีอาการเป็นหวัด ไข้ เจ็บคอ และมีเสมหะด้วยจะใช้ยาอะไรได้บ้างค่ะ
|
|
อายุ: 53 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 63 กก. ส่วนสูง: 160ซม. ดัชนีมวลกาย : 24.61 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
21 ธันวาคม 2555 16:50:12 #2 เรียน คุณ NoNoon54897 ยาปฏิชีวนะ หรือที่ประชาชนทั่วไปมักติดปากเรียกว่า "ยาแก้อักเสบ" นั้น มีมากมายหลายกลุ่มครับ ทั้งแพทย์และเภสัชกรกำลังรณรงค์ให้เปลี่ยนคำเรียกนะครับ เพราะยาแก้อักเสบทางเภสัชศาสตร์นั้น มักใช้เรียกยาที่ลดอาการปวดอักเสบมากกว่าครับ เช่น ยาบรรเทาปวด อักเสบของกระดูกหรือกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแต่อย่างใด ส่วนยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ มักใช้เรียกยาที่ใช้กำจัดเชื้อ หรือลดปริมาณของเชื้อ (แบคทีเรีย เชื้อรา ฯ) มีทั้งกลุ่ม อีริโธรมัยซิน ลินโคมัยซิน ควิโนโลน เซฟาโลสปอริน ฯต้องแล้วแต่อาการหรือว่าช่วงนั้น มีเชี้อกลุ่มไหนระบาดอยู่ หรือหากรับประทานยากลุ่มเดิมไปแล้ว อาการไม่ดีขึ้น แพทย์จึงจะค่อย ๆขยับไปเป็นกลุ่มอื่นครับ กลุ่มเพนิซิลลินก็มีมากมายหลายตัว ต้องแล้วแต่อาการที่แพ้ว่ามีอาการอย่างไร เพราะแพทย์จะพิจารณาความจำเป็นในการใช้ยานะครับ เช่น แพ้มีอาการ คันนิดหน่อย แต่เมื่อติดเชื้อแบคทีเรียเข้ากระแสเลือด ก็ต้องเลือกใช้ยานั้น ๆครับ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนนะครับ ไม่แนะนำให้ซื้อยากินเอง เนื่องจากหากใช้ยาไม่ถูกกับโรค จะทำให้เกิดเชื้อดื้อยา รวมถึงอาจกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิต้านทานกับยานั้น จะเสี่ยงต่อการแพ้ยามากขึ้น ต้องดูว่าเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไม่ หรือเกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่การติดเชื้อแบคทีเรียมักจะมีไข้สูง น้ำมูกหรือเสมหะเขียวข้นตลอดทั้งวัน เจ็บคอ คอแดง (หมายถึงในลำคอนะครับ เทียบกับลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม) หากมีอาการไม่มาก พอทนได้ แนะนำให้พักผ่อนเพียงพอ บ้วนปากกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆบ่อย ๆ เพราะจะช่วยลดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย ในลำคอลงได้ ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ หากปฏิบัติตามนี้แล้ว 3-4 วัน อาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อพิจารณาเลือกใช้ยาให้เหมาะสม หรืออาจเสริมด้วยสมุนไพร ฟ้าทะลายโจร ซึ่งมีการวิจัยแล้วว่าประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใกล้เคียงกับเพนิซิลลินเลยนะครับ แต่ไม่มีสูตรโครงสร้างเหมือนเพนิซิลลินที่คุณแจ้งว่าแพ้ เมื่อได้รับยาจากแพทย์หรือเภสัชกรแล้ว ต้องรับประทานยาตามคำแนะนำ อย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ เพื่อลดปริมาณเชื้ออย่างรวดเร็ว ร่างกายจึงจะกำจัดเชื้อที่เหลือออกไปได้ จะได้ไม่เกิดเชื้อดื้อยา หรือเสี่ยงต่อการแพ้ยาได้ง่ายขึ้น เป็นกำลังใจให้หายไว ๆนะครับ เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล หมายเหตุ ไม่ทราบว่าจำอาการที่แพ้ได้หรือไม่ครับ เนื่องจากหากไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ มักสับสนระหว่าง |
Nono*****7