กระดานสุขภาพ
ยาคุมฉุกเฉิน | |
---|---|
26 พฤศจิกายน 2557 12:34:43 #1 อยากทราบว่าถ้า กินยาคุมฉุกเฉิน จะมีสาเหตุให้ ประจำเดือนเลื่อนอยากทราบว่าเลื่อนกี่วันครับ |
|
อายุ: 20 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 80 กก. ส่วนสูง: 180ซม. ดัชนีมวลกาย : 24.69 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
27 พฤศจิกายน 2557 16:27:42 #2 Dear Khun f02b6, ก่อนอื่นขอแจ้งถึงข้อมูลเกี่ยวกับยาคุมกำเนิดฉุกเฉินก่อนนะครับ - ยานี้ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์ เมื่อฉุกเฉินหรือเมื่อวิธีการคุมกำเนิดปกติไม่สามารถทำได้หรือผิดพลาด เช่น เมื่อถูกข่มขืน หรือเมื่อใช้ถุงยางอนามัยไม่ถูกต้อง ทำให้ปริแตกหรือฉีกขาด - กลไกในการป้องกันการตั้งครรภ์ มีหลัก ๆ 3 กลไกคือ -- ทำให้มูกที่ปากช่องคลอด มีความข้นเหนียวเพิ่มมากขึ้น ลดโอกาสที่ตัวอสุจิจะเข้าไปผสมกับไข่ -- ทำให้ท่อนำไข่บีบตัวช้าลง ลดโอกาสที่ไข่จะมาพบกับตัวอสุจิ -- ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีสภาพไม่เหมาะสมกับกับการฝังตัวของตัวอ่อน ถ้ามีการผสมของไข่กับตัวอสุจิ - โอกาสเสี่ยงในการตั้งครรภ์ ประมาณ 8-15 เปอร์เซ็นต์ จึงไม่นิยมใช้เป็นทางเลือกแรกในการคุมกำเนิด รวมถึงมีผลเสียต่อสุขภาพของฝ่ายหญิงซึ่งจะกล่าวถึงในภายหลัง - การรับประทานยาที่ถูกต้อง มีได้ 2 แบบ คือ -- รับประทานยา 1 เม็ดทันที แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมงของการมีเพศสัมพันธ์ จากนั้นรับประทานยาอีก 1 เม็ด เว้นห่างจากยาเม็ดแรก 12 ชั่วโมง ข้อดีคือ อาการคลื่นไส้ อาเจียนค่อนข้างน้อย แต่ข้อเสียคือมักลืมรับประทานยาเม็ดที่สอง หรือรับประทานล่าช้ากว่ากำหนด ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการตั้้งครรภ์ -- รับประทานยาพร้อมกัน 2 เม็ดทันที ภายใน 72 ชั่วโมงของการมีเพศสัมพันธ์ ข้อดีคือ ไม่ต้องกลัวลืมรับประทานยาเม็ดที่สอง ข้อเสีย มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดมวนแน่นท้องมากกว่าแบบแรก - อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย : เวียนศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมวน แน่นท้อง เลือดประจำเดือนมาผิดปกติ -- โดยจะมีเลือดออกหลังจากรับประทานยาประมาณ 5-7 วัน แต่เป็นจากฤทธิ์ของตัวยา ไม่ใช่เลือดประจำเดือนตามปกติ -- ซึ่งเลือดประจำเดือนมักจะมาช้ากว่ากำหนดเดิม ประมาณ 7-14 วัน หากเกินจากนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจภาวะการตั้งครรภ์ - ข้อควรระวังพิเศษ : จากข้อมูลบริษัทยา ไม่ควรรับประทานยาเกิน 2 กล่องต่อเดือน เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงในการตั้งครรภ์นอกมดลูก (ท่อนำไข่) เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการตกเลือดในช่องท้อง แต่จากข้อมูลการศึกษาวิจัย พบว่าสตรีที่ได้รับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน "มากเกินกว่า 3 ครั้ง ตลอดชีวิต" จะมีอัตราเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งต่ออวัยวะต่าง ๆมากกว่าสตรีที่ไม่เคยได้รับยาคุมกำเนิดมาก่อน หรือเคยรับประทานยาคุมกำเนิดปกติ เนื่องจากตัวยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมีปริมาณฮอร์โมน 1500 ไมโครกรัม เทียบกับยาคุมกำเนิดปกติ ประมาณ 50-75 ไมโครกรัมเท่านั้น - ข้อแนะนำเพิ่มเติม : หากคุณยังไม่ได้แต่งงาน และต้องการคุมกำเนิด ควรใช้วิธีการสวมถุงยางอนามัย เนื่องจากช่วยในการคุมกำเนิดแล้วยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัพมันธ์อีกด้วย เช่น หนองใน ซิฟิลิส แผลริมอ่อน พยาธิในช่องคลอด หูดหงอนไก่ เริม ไวรัสตับอักเสบ บีหรือ ซี หรือที่เลวร้ายสุดคือ เอชไอวี ที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ ที่ปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาให้หายขาด นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไวรัส เอชพีวี ที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในเพศหญิง และมะเร็งองคชาติในเพศชาย เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ การคุมกำเนิด (Contraception) และ ยาเม็ดคุมกำเนิด (Birth control pill) แพทย์หญิง กีรติ ลีละพงศ์วัฒนา สูตินรีแพทย์ |
Anonymous