กระดานสุขภาพ

ตรวจครรภ์
Taem*****n

9 กันยายน 2561 11:32:18 #1

วันที่ 26สิงหามีอะไรกันหลังจาก 11 วันตรวจแต่ขึ้น1ขีดแบบนี้จะท้องไหม แต่ประจำเดือนยังไม่มาเลย

อายุ: 21 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 50 กก. ส่วนสูง: 151ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.93 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Anonymous

9 กันยายน 2561 19:04:34 #2

ที่ตรวจครรภ์ต้องใช้หลังจากมีอะไรกันประมาณเกือบเดือนไม่ใช่เหรอครับ คุณตรวจเร็วไปครับ ยังไงก็ไม่เจอ ต้องไปตรวจอีกทีเดือน กันยา

แล้วตอนมีอะไรกันได้มีการป้องกันด้วยถุงยาง หรือทานยาคุมไหมครับ

Anonymous

12 กันยายน 2561 12:13:14 #3

สวมถุงยางป้องกันครับตรวจดูถุงยางก็ไม่รั่ว แฟนบอกอาจเป็นเพราะเครียด ปจดเลยมาช้าแต่ก็กังวลอยู่ดี
Anonymous

12 กันยายน 2561 12:14:47 #4

ตอนมีเพศสัมพันธ์เมือกแฟนเป็นสีขาวขุ่นครับ เมือกแบบนี้เป็นช่วงไหนครับ
นพ.เกียรติศักดิ์ คงวัฒนกุล

(สูติ-นรีแพทย์)

17 กันยายน 2561 07:58:34 #5

หากในการมีเพศสัมพันธ์นั้น มีการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธี สวมใส่ถุงยางอนามัยก่อนสอดใส่อวัยวะเพศ ถือว่า เป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพครับ ไม่ทำให้ตั้งครรภ์ครับ สบายใจได้ โดยไม่จำเป็นต้องทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินครับ อย่างไรก็ตามหมอขอแนะนำการคุมกำเนิดสักนิดนะครับ หากครั้งต่อๆไปมีเพศสัมพันธ์ที่อาจมีการสอดใส่อวัยวะเพศ ซึ่งการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ คือ การป้องกันก่อนการมีเพศสัมพันธ์นะครับ เช่น ถุงยางอนามัย และ ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบแผงรายเดือน เป็นต้นครับ และ เรื่องถุงยางอนามัยที่มีปัญหานั้น โดยปกติแล้วกระบวนการผลิตถุงยางอนามัยนั้น ค่อนข้างรัดกุมมากนะครับ การที่จะขาด รั่ว หรือ ปริแตกนั้นเกิดได้น้อยมากแต่หากเกิดมักเกิดจากการใช้ที่ผิดวิธีครับ ซึ่งการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้องนั้น มีหลักการง่ายๆ ดังนี้ คือ ดูวันเดือนปีที่หมดอายุ เลือกขนาดให้เหมาะสม ไม่หลวมหรือแน่นเกินไป การฉีกออกจากซองควรดันให้ถุงยางไปอีกด้านหนึ่งเสียก่อน และ ไม่ใช้กรรไกรหรือของมีคมตัด ใส่ถุงยางในขณะที่อวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่ โดยบีบปลายถุงเพื่อไล่ลมออกก่อน ซึ่งการไล่ลมจะช่วยไม่ให้ถุงยางแตกและหลุดง่ายขณะทำการสอดใส่อวัยวะเพศ ไม่จำเป็นต้องใช้สารหล่อลื่น และ ไม่ควรใช้วาสลีนมาหล่อลื่น เพราะจะทำให้ถุงยางแตกได้ง่ายขึ้น และการใช้ถุงยางอนามัยซ้อนกันมากกว่า 1 ชั้นชึ้นไปนั้น นอกจากจะไม่ช่วยให้ป้องกันมากขึ้นแล้ว ยังทำให้ถุงยางมีโอกาสที่จะขาดและปริแตกง่ายขึ้นด้วยจากการเสียดสีกันเองของถุงยางอนามัยครับ เมื่อต้องการจะถอดถุงยางออก ควรรูดถุงยางจากส่วนโคนลงมาในช่วงที่อวัยวะเพศแข็งตัวอยู่ โดยอาจใช้ทิชชูพันรอบ และ ทำความสะอาดตามปกติครับ หากปฎิบัติตามนี้ ก็สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ โดยจะหลั่งในหรือนอกก็ได้นะครับ ส่วนในฝ่ายหญิงหากต้องการคุมกำเนิดด้วย หมอแนะนำให้ทานยาเม็ดคุมกำเนิดแบบแผงรายเดือนนะครับ ซึ่งในเรื่องของยาเม็ดคุมกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นแบบ 21 เม็ด หรือ 28 เม็ด ก็มีวิธีการใช้เหมือนกันครับ คือ เร่ิมทานเม็ดแรกของแผงภายใน 5 วัน นับจากประจำเดือนมาวันแรก ทานช่วงเวลาไหนก็ได้ ขอให้เป็นเวลาเดิม และ เป็นเวลาที่คาดว่าจะไม่ลืมทาน ซึ่งหากเริ่มทานได้ดังนี้ ก็สามารถมีเพศสัมพันธ์ช่วงใดก็ได้ จะหลั่งด้านในหรือนอกก็ได้ครับ หากทานแบบ 28 เม็ด ก็ให้ทานต่อแผงไปเรื่อยๆ ซึ่งประจำเดือนจะมาช่วง 7 เม็ดสุดท้ายของแต่ละแผง ส่วนหากทานแบบ 21 เม็ด ก็ให้เว้น 7 วัน และเริ่มแผงใหม่ได้เลย โดยระหว่างที่เว้นนี้ จะเป็นช่วงที่ประจำเดือนมาครับ หากมีการลืมทาน หากลืมเพียง 1 เม็ดก็ไห้ทานเมื่อนึกขึ้นได้ และหากลืมทาน 2 เม็ด ก็ไห้ทานวันที่นึกขึ้นได้พร้อมกับเม็ดที่ต้องทานในว้นนั้นๆไปรวมเป็นสองวันติดกัน แต่หากลืมทาน 2 เม็ด ในช่วงที่เลยกลางรอบเดือนไปแล้ว หรือ มากกว่า 3 เม็ดขึ้นไป ก็ให้คุมกำเนิดวิธีอื่นๆด้วย เช่น ใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยครับ

ส่วนในเรื่องของการตรวจการตั้งครรภ์นั้น ควรตรวจในช่วงที่ประจำเดือนไม่มาหรือขาดหายไปประมาณ 1 สัปดาห์จากวันที่ควรจะมา หรือ ประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังจากมีเพศสัมพันธ์ ผลที่ได้จะน่าเชื่อถือครับ การตรวจก่อนหน้านี้ ไม่สามารถบอกได้ ส่วนการตรวจการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะนั้น เป็นการตรวจฮอร์โมน hCG ที่มีอยู่ในร่างกายที่ขับออกทางปัสสาวะครับ ซึ่งจะตรวจพบได้เร็วมาก คือ มีความแม่นยำสูงและไวมาก และ จะไม่ต่างกับการตรวจการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะนะครับ ซึ่งการตรวจในเลือดจะมีประโยชน์ในบางกรณีเช่น ช่วยวินิฉัยภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก ช่วยวินิฉัยภาวะแท้งค้าง และ ประเมินการตั้งครรภ์ในการทำเด็กหลอดแก้วเป็นต้นครับ ดังนั้น การตรวจการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะก็เพียงพอที่จะวินิจฉัยการตั้งครรภ์ได้แล้วครับ

เรื่องมูกๆหลังการมีเพศสัมพันธ์นั้น อาจมีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอดได้เล็กน้อยนะครับ แต่ไม่ควรจะมีอาการต่างๆ เช่น ปวดท้องน้อย เลือดออกเป็นเลือดสด หรือ กะปริดกะปรอย ตกขาวปริมาณมาก กลิ่นเหม็น อวัยวะเพศปวดบวม ปัสสาวะผิดปกติ แสบขัด เป็นต้นครับ หากมีอาการต่างๆนี้ ก็ควรมาพบแพทย์ทันทีเลยนะครับ ส่วนหากมีอาการเป็นลักษณะของตกขาวที่มากขึ้นนั้น ปกติแล้ว ในช่วงหลังกลางรอบเดือนจนถึงก่อนจะมีประจำเดือนรอบถัดไป หรือหลัง มีเพศสัมพันธ์อาจมีสารคัดหลั่งที่มากขึ้นได้นะครับ หากไม่มีอาการผิดปกติใด เช่น ตกขาวสีเขียวหรือเหลือง กลิ่นเหม็น หรือปวดท้องน้อย ก็ไม่ต้องกังวลครับ สามารถสังเกตอาการไปได้ก่อนครับ ส่วนหากตกขาวนั้น หากตกขาวผิดปกติที่เป็นลักษณะสีขาวเหลือง คล้ายทิชชูเปียกหรือ นมโยเกิตร่วมด้วย และ มีอาการคันเป็นหลักนั้น จะเป็นอาการของการติดเชื้อราในช่องคลอดครับ และในบางท่านอาจมีอาการคันบริเวณปากช่องคลอดร่วมด้วย ซึ่งลักษณะรอยโรคอาจเป็นผื่นสีออกชมพูหรือแดงๆ ขอบเขตชัดเจน มักเป็นสองข้างของปากช่องคลอดและผิวหนังระหว่างขาก็ได้ การรักษาหลักนั้น หากมีอาการภายในช่องคลอด ยาที่ใช้โดยทั่วไปเป็นมาตรฐานจะเป็นยาในช่ือสามัญ clotrimazole ครับ เป็นลักษณะเม็ด ใช้เหน็บช่องคลอด เป็นเวลา 7 วันนะครับ หากมีอาการภายนอกด้วย ก็อาจลองใช้ยาที่มีช่ือสามัญ clotrimazole ชนิดทา ทาก็ได้ครับ ที่สำคัญ ต้องทาบริเวณที่เป็นรอยโรค โดยเฉพาะอย่างย่ิง ที่ขอบ เพราะเชื้อราจะอยู่บริเวณนี้มากๆ และ เป็นบริเวณที่แบ่งตัว ลามต่อไปครับ ทาจนอาการดีชึ้นจนหาย และ ทาต่อประมาณ 1-2 สัปดาห์ด้วยนะครับ ไม่เช่นนั้น จะเป็นซ้ำได้ง่าย และในช่วงที่มีประจำเดือน อาจเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยขึ้นเพื่อลดความอับชื้นนะครับ งดเพศสัมพันธ์ก่อนนะครับ หลังเข้าห้องน้ำหรืออาบน้ำก็ควรเช็ดด้วยผ้าสะดาดให้แห้ง ใช้ชุดชั้นในที่บางไม่อับชื้นง่าย อาจพิจารณาเปลี่ยนชุดชั้นในใหม่เลยครับ ส่วนหากมีลักษณะกลิ่นเหม็น หรือ คันมาก ตกขาวเป็นสีเขียวเหลืองจะเป็นอาการแสดงของการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดนะครับ แต่หากเป็นเพียงมูกเล็กน้อย ไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ก็อาจเป็นเพียงสารคัดหลังที่มีมากขึ้นหลังมีเพศสัมพันธ์นะครับ ดังนั้น หมอแนะนำหากตกขาวยังคงผิดปกติอยู่ ควรมาพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจภายใน หาสาเหตุและรักษาอย่างถูกวิธีนะครับ

หากตรวจการตั้งครรภ์ตามช่วงที่หมอกล่าวไปแล้วปกติ ไม่ตั้งครรภ์ ลักษณะประจำเดือนที่ผิดปกติ มาไม่เป็นรอบหรือไม่สม่ำเสมอ หรือ ระยะห่างระหว่างรอบไม่สม่ำเสมอนั้น สาเหตุส่วนใหญ่ในช่วงอายุนี้มักเกิดจากมีสาเหตุบางประการที่ทำให้มีทำให้ไข่ไม่ตก หรือ ตกไม่สม่ำเสมอ เช่น ภาวะเครียด วิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนไม่เป็นเวลา นอนดึกติดต่อกัน น้ำหนักเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว หรือ กำลังลดน้ำหนัก ออกกำลังกายแบบหักโหมมากเกินไป ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือ พร่องออร์โมน ทานยาหรือสารบางอย่างที่ออกฤทธ์คล้ายออร์โมน เช่น ยาสตรีต่างๆ ยาขับเลือด หรือ เดินทางบ่อย เปลี่ยนแปลงสถานที่หรือการดำเนินขีวิต เป็นต้นครับ หากสาเหตุต่างๆนี้หายไปหรือดีขึ้น อาการประจำเดือนก็จะกลับมาปกติ แต่หากไม่ได้มีสาเหตุอย่างที่หมอกล่าวไป และ รอบประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มาไม่เป็นรอบ หรือ ขาดหายไปนานเกิน 3 สัปดาห์แล้ว ก็ควรมาพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุจะดีกว่าครับ ไม่ควรไปทานยาอะไรก็ตามที่ต้องการให้มีเลือดประจำเดือนออกมาหรือเป็นการขับเลือดนะครับ เนื่องจากยาในกลุ่มนี้หากเป็นกลุ่มที่เป็นฮอร์โมน นอกจะไม่ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นรอบดี ยังส่งผลต่อทำให้ประจำเดือนผิดปกติ อาจมามาก มากะปริดกะปรอย หรือ ขาดหายไปนาน และไม่มาตามรอบนะครับ