กระดานสุขภาพ
เครียดมากค่ะ โดนแมวข่วนเมื่อตอนอายุ 5 ขวบค่ะ แต่ไม่ได้รับวัคซีน | |
---|---|
11 มิถุนายน 2561 03:03:19 #1 ตอนนั้นไปงานศพแล้วไปแหย่จนแมวข่วนเอาอะค่ะ แม่บอกว่าเป็นรอยข่วนขาวๆไม่มีเลือด แม่เอาแอลกอฮอล์ราดก็หายไป แล้ว แม่พึ่งมาเล่าให้ฟัง ปัจจุบันอายุ 20 ค่ะ จากวันนั้นจำได้ว่าโดนข่วนก็ไม่ได้เข้าใกล้สัตว์ตัวไหนอีกเลยเพราะกลัว เกิดความเครียดมากได้อ่านมา พอดีไปอ่านเจอบทความของคุณหมอท่านนึง บอกว่าระยะฟักตัวของพิษสุนัขบ้ายาวนานกว่า 19 ปี อ้างอิงจาก : http://haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2/ อยากขอรายละเอียดเพิ่มเตืมอะค่ะ แล้วก็เลยอยากจะรู้ว่า ถ้าอย่างนั้นแสดงว่าโอกาสที่เชื้อยังมีอยู่ในตัวก็เป็นไปได้ใช่มั้ยคะ แล้วอย่างนี้ถ้าจะไปฉีดยังทันมั้ยคะ เพราะตอนนั้นก็เด็กมากจนไม่รู้เดียงสา แล้วถ้ามีเชื้อจะทำยังไงให้คนอื่นไม่ติดเชื้อไปด้วยอะคะ ต้องไปอยู่โรงบาลหรือควรอยํู่แต่ในบ้านมั้ยคะ ขอบคุณค่ะ |
|
อายุ: 20 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 53 กก. ส่วนสูง: 168ซม. ดัชนีมวลกาย : 18.78 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
19 มิถุนายน 2561 18:24:54 #2 โดยทั่วไปหากมีการติดเชื้อจริง มักจะแสดงอาการและก่อโรคแล้วค่ะ การไปฉีดวัคซีนตอนนี้ไม่ได้ช่วยอะไรค่ะ หากฉีดจะเป็นการฉีดก่อนการติดเชื้อค่ะ ไม่จำเป็นต้องแยกตัวค่ะ ใช้ชีวิตปกติค่ะ การฉีดวัคซีนหลังการสัมผัสสัตว์ จะต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงในการติดเชื้อด้วยเสมอ โดยอาจแบ่งเป็นกรณีได้ดังนี้ 1. ไม่ต้องฉีดวัคซีนในกรณีที่สัมผัสกับสัตว์โดยที่ผิวหนังไม่มีแผลหรือรอยถลอก เช่น การให้อาหาร ถูกเลีย สัมผัสน้ำลายหรือเลือด (ยกเว้น น้ำลายหรือเลือดของสัตว์กระเด็นเข้าทางตา หรือปากจะต้องรับการฉีดวัคซีน) 2 ต้องฉีดวัคซีนในกรณีที่ 2.1ถูกงับเป็นรอยช้ำที่ผิวหนัง ไม่มีเลือดออก 2.2 ถูกเลีย หรือ น้ำลายถูกผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือมีแผล 2.3 ถูกข่วนที่ผิวหนังโดยไม่มีเลือดออกหรือออกซิบๆ 2.4 ถูกกัดหรือข่วนเป็นแผล (แผลเดียวหรือหลายแผล) และมีเลือดออก 2.5มีน้ำลายหรือสารคัดหลั่ง (เช่น เลือด) จากร่างกายสัตว์ ซากสัตว์ เนื้อสมองสัตว์ รวมถึงการชำแหละหรือลองผิวหนังสัตว์ ถูกเยื่อบุตา ปาก จมูกหรือแผลตามผิวหนัง นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายที่ถูกสัตว์กัด หรือข่วนจนเป็นแผลและมีเลือดออก หรือถูกกัดเป็นแผลที่ใบหน้า ศีรษะ คอ มือ และนิ้วมือ หรือมีแผลลึก แผลฉีกขาดมาก จะต้องได้รับการฉีดอิมมูโนโกลบุลิน(Immunoglobulin; IG) โดยเร็วที่สุด โดยฉีดบริเวณรอบแผลร่วมกับวัคซีนในวันที่ 0 เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้เป็นกลุ่มมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง ในการเข้ารับการฉีดวัคซีนนั้นสามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง) ในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เช่น สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลรัฐบาลที่ใกล้ที่สุด (ที่ใดก็ได้) ทันที จนครบทุกเข็มโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใดๆ ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกสุนัข แมวหรือสัตว์อื่นๆ กัด? เมื่อถูกสัตว์ข่วนหรือกัดโดยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าควรรีบปฐมพยาบาลและปฏิบัติตัวดังนี้ ล้างแผลทันทีด้วยน้ำและฟอกด้วยสบู่หลายๆ ครั้ง ล้างสบู่ออกให้หมด ถ้าแผลลึกให้ล้างถึงก้นแผลอย่างน้อย 15 นาที ระวังอย่าให้แผลช้ำ ห้ามใช้ครีมใดๆ ทา ถ้ามีเลือดออกควรปล่อยให้เลือดไหลออก อย่าบีบหรือเค้นแผล เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น 1. การฉีดแบบป้องกันล่วงหน้า (Pre-exposure immunization) ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่: แนะ นำให้ฉีดวัคซีนทั้งสิ้น 3 เข็มโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ณ วันที่ 0 (เข็มที่ 1), ณ วันที่ 7 (เข็มที่ 2) และ ณ วันที่ 21 หรือ 28 (เข็มที่ 3) เมื่อฉีดครบทั้งสิ้น 3 เข็มถือว่าครบวัคซีนชุดแรก (Primary vaccination) โดยวันที่ฉีดอาจคลาดเคลื่อนได้บ้างเล็กน้อย 1 - 2 วัน 2. การฉีดวัคซีนกระตุ้นหลังได้รับวัคซีนแบบป้องกันล่วงหน้าทั้งในเด็กและผู้ใหญ่: ภายหลังได้รับวัคซีนชุดแรก (Primary vaccination) ครบ 1 ปีแล้ว ให้ทำการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำอีก 1 เข็ม จากนั้นกระตุ้นซ้ำทุกๆ 5 ปี ทั้งนี้อาจพิจารณาการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าสูง ซึ่งจะทำการฉีดเข็มกระตุ้นซ้ำเมื่อทำการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันแล้วต่ำกว่า 0.5 ยูนิต/มิลลิลิตร 3. การฉีดแบบป้องกันหลังสัมผัสโรค (Post-exposure immunization) ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่: วิธีการฉีดวัคซีนสำหรับการป้องกันหลังสัมผัสโรคคือ ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular) หรือฉีดเข้าในผิวหนัง (Intradermal) โดยให้ฉีดวัคซีนในช่วง 14 วันแรกภายหลังสัมผัสโรคเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรคดังนั้นผู้ป่วยควรมารับวัคซีนให้ตรงตามตารางเวลาที่กำหนดเสมอ กรณีมาผิดนัดโดยทั่วไปจะทำการฉีดวัคซีนเข็มต่อไปเลยโดยไม่ต้องเริ่มการฉีดวัคซีนใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ร่วมด้วย 3.1 วิธีฉีดสำหรับป้องกันหลังสัมผัสโรคทั้งในเด็กและผู้ใหญ่: ก.กรณีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular):
ข. กรณีฉีดเข้าในผิวหนัง (Intradermal): การฉีดด้วยวิธีนี้มีข้อจำกัดโปรดศึกษาหัวข้อ “วิธีบริหารวัคซีนฯ” เพิ่มเติม
|
Apat*****t