กระดานสุขภาพ

การใช้ยารักษาริดสีดวงทวารหนัก
Ratc*****n

5 เมษายน 2561 19:53:02 #1

สวัสดีครับ ผมเป็นโรคริดสีดวงมาตั้งแต่เด็กๆ (ประมาณ 16 ปีที่แล้ว) เคยผ่าตัดแบบธรรมดาไป 1 ครั้งเมื่อตอนปี 2555  แต่ไม่หาย หมอผ่าตัดออกไม่หมด จึงเหลือริดสีดวงอยู่ปัจจุบัน

ผมมารักษาแบบจริงๆจังโดยใช้วิธีการกินยาแผนโบราณ*** แล้วเหน็บยา *** ด้วย

โดยวิธีการรักษาคือ

กินยาแผนโบราณ***หลังอาหาร 3 มื้อ เช้า กลางวัน เย็น ครั้งละ 2 เม็ด ทุกวัน

เหน็บยา *** ก่อนนอนครั้งละ 1 เม็ด ทุกวัน

ผมอยากทราบว่า

-ยาแผนโบราณ*** คุณสมบัติเทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน *** ไหมครับ ?

อ่านเจอใน Internet บอกว่ายาเหน็บ *** เป็นยาประเภทเสตียรอย ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ

-ที่บอกว่าไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆนี่ นานเท่าไร มีตัวเลขที่ชัดเจนไหม ?

-แล้วทำไมจึงไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ ?

-แล้วถ้าต้องเว้นระยะการใช้ยาเหน็บ *** จะต้องเว้นระยะกี่วันจึงจะกลับมาใช้เพื่อรักษาความต่อเนื่องอีกครั้ง ?

อายุ: 23 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 73 กก. ส่วนสูง: 167ซม. ดัชนีมวลกาย : 26.18 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

6 เมษายน 2561 15:04:26 #2

เรียน คุณ ratchakorn

ขออนุญาตตอบคำถามของคุณเป็นข้อ ๆนะครับ

1. ยาสมุนไพรเพชรสังฆาต ได้มีการศึกษาวิจัยโดยพ.ญ. ดวงรัตน์ เชียวชาญวิทย์ และคณะ ได้ทำการศึกษาประเมินการรักษาในผู้ป่วยประมาณ 120 ราย จากโรงพยาบาลต่างกัน ใน 4 จังหวัด พบว่าให้ประสิทธิภาพในการรักษาใกล้เคียงกับยา D... ที่คุณสอบถามมา ทั้งนี้ในข้อมูลของสมุนไพรเพชรสังฆาตของมูลนิธิอภัยภูเบศร์ พบว่านอกจากสารสำคัญ Flavonoid และวิตามินซีแล้ว สมุนไพรดังกล่าว ยังมีฤทธิ์ในการช่วยระบายอ่อน ๆอีกด้วย ซึ่งน่าจะเป็นข้อดีของสมุนไพรดังกล่าว

2 การใช้ยาเหน็บที่เข้าสเตียรอยด์ดังกล่าว ในทางการแพทย์มักใช้เพื่อบรรเทาอาการ เนื่องจากส่วนประกอบสำคัญมียาชารวมอยู่ด้วย ไมใช่วัตถุประสงค์หลักที่ใช้เพื่อการรักษา โดยมักให้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดร่วมด้วย หรือมีภาวะหูรูดหดเกร็ง เมื่อจะขับถ่ายอุจจาระ โดยส่วนใหญ่แพทย์มักให้ใช้ติดต่อกันไม่เกิน 2 สัปดาห์ หากจำเป็นต้องใช้นานกว่านี้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิต เนื่องจากบริเวณลำไส้ใหญ่และทวารหนักมีเส้นเลือดฝอยปริมาณมาก การใช้ยาติดต่อกันนาน ๆจะเกิดการดูดซึมจนใกล้เคียงกับการรับประทานยาสเติียรอยด์ส่งผลกดการทำงานของระบบต่อมใต้สมองได้

ในส่วนของการรักษาริดสีดวงทวารหนักนั้น นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย เช่น

  • - การรับประทานอาหารที่่มีกากใยสูง เพื่อเพิ่มปริมาณกากอุจจาระ ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ อย่างน้อย วันละ 6-8 แก้ว เพื่อช่วยให้อุจจาระนุ่่มลง ขับถ่ายได้ง่าย
  • - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ลำไส้ได้มีการเคลื่อนไหว หรือหากต้องนั่งโต๊ะทำงานประจำ ก็ควรลุกขึ้น ยืนหรือเดินทุก 1-2 ชั่วโมง เพือช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร
  • นอกจากนี้ยังช่วยในการลดน้ำหนักด้วย พบว่าผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์หรือน้ำหนักตัวเกิน จะมีความดันในช่องท้องมาก จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคริดสีดวงทวารหนักเพิ่มขึ้น
  • - หรือหากเป็นรุนแรง การรักษาด้วยยาอาจไม่เพียงพอ อาจต้องมีการผ่าตัดซ่อมแซมหูรูดทวารหนัก เพื่อจัดการกับหลอดเลือดที่โป่งพองออก

หากมีข้อสงสัยเร่งด่วนเกี่ยวกับการใช้ยา หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สามารถสอบถามได้จากแพทย์หรอืเภสัชกรร้านยาใกล้บ้านได้ทันที ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ เนื่องจากอาจช้าไป ไม่ทันการ หรืออาจต้องมีการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับข้อมูลทางสังคม ประวัติทางครอบครัว ยาอื่น ๆที่ใช้ร่วมกัน หรือโรคอื่น ๆที่อาจส่งผลต่อการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาสูงสุดนะครับ

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

  • แนะนำบทความดีๆจากกองบรรณาธิการของเราที่
  • ริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids or piles)
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
  • วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • ยาพรอกโตซีดิล (Proctosedyl suppository/ointment)
  • เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
  • รับมือกับริดสีดวงทวารอย่างไรดี (ตอนที่ 1)