กระดานสุขภาพ

ทาน Probiotics แบบเม็ด ทำให้เกิดอาหารเรอใช่ไหมครับ
Prob*****p

10 ตุลาคม 2560 00:49:22 #1

คือ ตั้งแต่ผมทานโพรไบโอติคแบบเม็ดแคปซูล (13ล้านตัว) สองครั้งต่อวัน เช้า-เย็น

เหมือนรู้สึกว่าตัวเองเรอทั้งวัน เรอมันทุกครั้งที่ดื่มน้ำ เรอทุกครั้งที่ตื่นนอนครับ 

มีความเป็นไปได้ไหมครับที่การทานโพรไบโอติคเป็นต้นเหตุ

 

คือ ผมมีลมในท้องเยอะมากๆครับ ทั้งจุก เสียด แน่นหน้าอก แต่หลังจากทุกครั้งทีเรอ มันจะรู้สึกโล่ง รู้สึกดีมาก

 

อ่อแล้วก็ผมกำลังรักษาเรื่องโรคกระเพาะอยู่ด้วยครับ พอดีอาหารย่อยไม่ค่อยดี (ตอนนี้ดีขึ้น)

แต่ยังทานได้ไม่มากเท่าแต่ก่อนครับ

 

ผมกำลังสับสนว่ามันเป็นเพราะโรคกระเพาะ หรือ โพรไบโอติคครับที่ทำให้ผมเรอบ่อย เพราะช่วงแรกๆที่ผมเป็นโรคกระเพาะมันก็ยังไม่เรอบ่อยนะครับ มาเรอเอาตอนกินโพรไบโอติคมาได้อาทิตย์กว่าๆ

อายุ: 21 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 172ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.28 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

10 ตุลาคม 2560 14:14:19 #2

เรียน คุณ probioticssppp

คำถามนี้คงตอบได้ยากนะครับ เนื่องจากไม่มีข้อมูลอาการและความรุนแรงของโรคของคุณ ทั้งโรคแผลในทางเดินอาหาร และ อาการแน่นท้อง ท้องอืด เร

ถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ ก็ตอบว่าเป็นไปได้บ้าง แต่ไม่น่ารุนแรง เพราะ Probiotics คือ จุลชีพที่ช่วยย่อยและทำให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดีขึ้น แต่หากคุณรับประทานอาหารที่จุลชีพย่อยได้ยากก็จะทำให้เกิดการหมักเป็นแก๊ซขึ้นได้ คล้ายกับที่คุณรับประทานจำพวกถั่ว แล้วมักมีอาการท้องอืด ผายลมบ่อย ๆ หรืออาจจะเกิดจากยาที่ใช้ลดการสร้างกรด ก็อาจทำให้อาหารทที่คุณรับประทานไปนั้นย่อยยากขึ้น โดยเฉพาะพวกโปรตีน หรืออาจจะเกิดจากภาวะของโรคเอง

ดังนั้นนอกจากการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการรักษาโรคแล้ว ต้องปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารด้วย เช่น ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 4-5 มื้อเดิม โดยที่ไม่ควรรับประทานอาหารแต่ละมื้ออิ่มเกินไป แค่พอหายหิวก็พอ / เลือกอาหารที่ย่อยง่าย งดอาหารรสจัด เปรี้ยว เผ็ด เค็ม อาหารหรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นการหลั่งกรด เช่น ชา กาแฟ โกโก้ / เลี่ยงการดื่มนมวัว โดยเฉพาะหลังบ่าย 2 โมงเป็นต้นไป เพื่อเลี่ยงภาวะกระตุ้นกรดไหลย้อน / หลังรับประทานอาหาร ควรเดินเพื่อให้อาหารได้ย่อย ลำไส้มีการเคลื่อนไหว บีบตัว ไล่อาหารลงไปตามทางเดินอาหาร
หากอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษา จะมีข้อมูลประวัติโรคประจำตัว ประวัติครอบครัว ประวัติทางสังคม (ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ นอนดึก ฯ)

 

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริิผล

 

แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่

แผลเปบติค (Peptic ulcer) / แผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

โปรไบโอติค (Probiotic)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

โพรไบโอติก จุลินทรีย์มหัศจรรย์ (ตอนที่ 2)

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

ซินไบโอติค (Synbiotics)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์

วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

มีแก๊สในท้อง แน่นอึดอัด ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอ ผายลม (Gas,Bloating,Belching,and Flatulence)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์

วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

อาหารไม่ย่อย ธาตุพิการ (Indigestion)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์