กระดานสุขภาพ
สอบถามเรื่องการรับประทานยาไม่ตรงเวลาครับ | |
---|---|
18 กรกฎาคม 2558 07:48:32 #1 สวัสดีครับคือผมเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ ผมมีปัญหาคือการรับประทานยาไม่ตรงเวลาตัวยาชื่อ"TAPAZOLE 5mg. " แต่ผมตื่นมารับประทานตอนเที่ยง ตอนบ่าย (เพราะเลิกงานดึก) จะเป็นอะไรไหมครับ คุณหมอก็บอกว่าห้ามขาดยา การที่ผมตื่นมารับประทานยาแบบไม่เป็นเวลา จะถือว่าเป็นการขาดยาไหมครับ ผมรับประทานทุกวันครับแต่อยู่ที่เรื่องเวลาครับ ขอคำแนะนำจากคุณหมอด้วยครับ ขอบคุณครับ |
|
อายุ: 18 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 56 กก. ส่วนสูง: 167ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.08 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
21 กรกฎาคม 2558 13:19:43 #2 เรียน คุณ e55ce ตัวยาที่คุณสอบถามมานั้นประกอบด้วยตัวยาสำคัญ methimazole ซึ่งใช้เป็นยาที่ใช้ต้านฮอร์โมนธัยรอยด์ที่ร่างกายคุณผลิตออกมามากเกิน. แต่เนื่องจากคุณไม่ได้ให้ข้อมูลปริมาณตัวยาและจำนวนมื้อที่รับประทานต่อวัน. สันนิษฐานว่ารับประทานวันละ 1 ครั้ง จากข้อมูลตัวยา มีค่าครึ่งชีวิต 12-18 ชั่วโมง หมายถึงว่าตัวยาลดปริมาณเหลือ 50% ภายในเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง. และลดเหลือใกล้ศูนย์ เมื่อครบ 24 ชั่วโมง ดังนั้นจึงสามารถรับประทานยาเพียงวันละ 1 ครั้งได้. โดยควรรับประทานยาเวลาใกล้เคียงกันของทุกวัน เพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์สม่ำเสมอทุกวัน. หากไม่ตรงเวลาบ้างบางวัน. ไม่ส่งผลต่อการรักษาครับ. หรืออาจปรับเวลาให้เป็นช่วงเที่ยงหรือบ่ายของทุกวันแทน หากต้องเลิกงานดึกทุกวัน โดยควรรับประทานยาหลังอาหาร เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการใช้ยา ทั้งนี้ควรปรับการรับประทานอาหาร. พยายามคุมรูปแบบและปริมาณอาหารทะเลให้ค่อนข้างสม่ำเสมอ. รวมถึงเกลือที่มีการเสริมไอโอดีน. เพื่อให้แพทย์สามารถปรับปริมาณยาให้เหมาะสมกับปริมาณฮอร์โมนธัยรอยด์ในร่างกายคุณ. ไม่ใช่ห้ามรับประทานนะครับ. แต่ให้รับประทานให้สม่ำเสมอใกล้เคียงกันทุกๆวัน. เช่นอาทิตย์นี้รับประทานอาหารทะเลทุกวัน แต่อีกอาทิย์ไม่ได้รับประทานอาหารทะเลเลย อาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนธัยรอยด์ลดลง. หากแพทย์นัดไปเจาะเลือดตรงกับช่วงนั้น ก็จะประบลดขนาดยาลง ซึ่งอาจน้อยกว่าที่จะควบคุมอาการได้ ควรหลีกเลี่ยงกะหล่ำปลีดิบ เนื่องจากมีสารกอยโตรเจน (goitrogen) ที่จับและลดระดับของปริมาณฮอร์โมนธัยรอยด์ในร่างกาย. อาจทำให้แพทย์ปรับขนาดยาได้ยาก เนื่องจากฮอร์โมนลดลงเกินกว่าที่คาดหวังไว้ แนะนำเพิ่มเติม คุณสามารถสอบถามข้อมูลการใช้ยาได้จากแพทย์และเภสัชกรโรงพยาบาลที่คุณไปรับการรักษาได้ทันที. เพื่อประโยชน์จากการใช้ยาสูงสุด แต่เกิดอันตรายจากการใช้ยาน้อยสุด. ไม่คววรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ ที่มีข้อมูลการตรวจรักษาไม่ครบถ้วน อาจปรับวิธีใช้ให้คุณได้ไม่ตรงกับที่มีข้อสงสัย เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดีๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ ไทรอยด์: โรคของต่อมไทรอยด์ (Thyroid: thyroid diseases) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ http://haamor.com/th/ไทรอยด์/ ทาพาโซล (Tapazole) หรือ เมไทมาโซล (Methimazole) เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร http://haamor.com/th/ทาพาโซล/ |
Anonymous |
1 สิงหาคม 2558 20:10:24 #3
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
|
Anonymous