กระดานสุขภาพ

ยาไทรอยด์เป็นพิษ
Sint*****a

20 เมษายน 2558 17:20:14 #1

1) ความแตกต่างระหว่างยา P** กับ M** ต่างกันอย่างไร

2) หากต้องรักษาด้วยการกลืนรังสี ควรหลีกเลี่ยงเข้าใกล้เด็กขนาดอายุเท่าไร และอย่างไร

3) รังสีมีลักษณะอย่างไร ที่เรียกว่ากลืนรังสี

ขอบคุณมากค่ะ

อายุ: 46 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 50 กก. ส่วนสูง: 159ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.78 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Sint*****a

22 เมษายน 2558 15:59:22 #2

ยา PTU  กับ ยา Methimazole

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์

(วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์)

26 เมษายน 2558 13:36:05 #3

คำถามข้อ 2,3

แนะนำให้คุณอ่านรายละเอียดของการกิน/ดื่ม/กลืนน้ำแร่รังสีฯ ในการรักษาโรคของต่อมไทรอยด์ในบทความจาก เว็บ haamor.com บทความเรื่อง น้ำแร่รังสีไอโอดีน เมื่ออ่านแล้วมีคำถาม/ข้อสงสัย ให้จดไว้ แล้วนำกลับไปถามแพทย์ผู้ให้การรักษาด้วยน้ำแร่รังสีฯ เพราะคำถามนอกเหนือจากในบทความ คำตอบ จะต้องใช้รายละเอียดประวัติต่างๆทางทางการแพทย์ของผู้ป่วย แพทย์อื่นๆโดยเฉพาะจากทางเว็บจะตอบได้ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยคะ

พญ. พวงทอง

ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

29 เมษายน 2558 15:11:27 #4

เรียน คุณ sinta,

ขออนุญาตเสริมเรื่องยาต้านฮอร์โมนธัยรอยด์ทั้งสองตัวนะครับ

1. PTU หรือชื่อเต็มคือ propylthiouracil ขนาด 50 มิลลิกรัมต่อเม็ด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการธัยรอยด์เป็นพิษเล็กน้อยถึงปานกลาง เนื่องจากมีคุณสมบัติในการยับยั้งไม่ให้ฮอร์โมนธัยรอยด์เปลี่ยนเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้ค่อนข้างน้อย หรือ ช้า ขนาดที่แนะนำ คือ 50-200 มิลลิกรัม แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง โดยควรรับประทานพร้อมอาหาร เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย - ไข้ วิงเวียน ผื่น คัน ปวด/มึนศีรษะ ปวดตามข้อ คลื่นไส้ อาเจียน ค่าเอนไซม์ตับเพิ่มขึ้น หรือค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดลดลง อาจเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ข้อดี คือ ราคาไม่แพง มีค่าครึ่งชีวิตค่อนข้างสั้น (1-2 ชั่วโมง) สามารถหยุดยาได้เร็ว เมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ขนาดโมเลกุลยาค่อนข้างใหญ่ ผ่านออกทางน้ำนมได้น้อย เหมาะกับมารดาที่กำลังให้นมบุตร

2. MMI ชื่อเต็ม Methimazole หรือ Thiamazole ขนาด 5 มิลลิกรัมต่อเม็ด เหมาะกับภาวะธัยรอยด์เป็นพิษปานกลางถึงรุนแรง เนื่องจากออกฤทธิ์ค่อนข้างเร็วกว่า และมีค่าครึ่งชีวิตนาน 10-12 ชั่วโมง ขนาดยาที่แนะนำ คือ 5 - 20 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 ครั้ง พร้อมอาหาร อาการไม่พึงประสงค์ที่พบ คล้ายกับ PTU แต่อาจพบเรื่องผื่นได้น้อยกว่า เนื่องจากส่วนใหญ่มักขึ้นกับขนาดยาที่ใช้ต่อวัน ข้อดี คือ ออกฤทธิ์ได้ค่อนข้างเร็ว สามารถลดระดับการสร้างฮอร์โมนธัยรอยด์ที่มีมากเกินได้อย่างรวดเร็ว ค่าครึ่งชีวิต 12 ชั่วโมง สามารถรับประทานยาเพียงวันละ 1 ครั้งได้

แพทย์เลือกใช้ตามอาการและความรุนแรงของโรค ตัวยามีสูตรโครงสร้างแตกต่างกัน หากมีอาการไม่พึงประสงค์จากตัวยาใด ก็สามารถปรับเปลี่ยนเป็นยาอีกตัวได้ ทางที่ดีที่สุด คือปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาคุณจะดีที่สุด เพราะจะทราบว่าจำเป็นต้องได้รับยาตัวใด มีข้อควรระวังหรือข้อห้ามใช้หรือไม่ นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว อย่าลืมปรับพฤติกรรมสุขภาพตามที่อาจารย์พวงทองแนะนำด้วยนะครับ ทั้งเรื่อง อาหาร การออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ทาพาโซล (Tapazole) หรือ เมไทมาโซล (Methimazole) เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร