กระดานสุขภาพ

Mecobalamin กับ สารปรอท
Emil*****7

29 มิถุนายน 2557 08:59:17 #1

มีอาการชาปลายนิ้ว ได้ยา mecobalamin มารับประทาน

อ่านในใบแทรกมีเขียนไว้ว่า ไม่แนะนำให้ใช้ในขนาดที่สูงเป้นเวลานาน

สำหรับผุ้ที่มีอาชีพต้องควบคุมสารปรอท อยากสอบถามว่า เกี่ยวข้องกันอย่างไรคะ

 

อายุ: 43 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 51 กก. ส่วนสูง: 163ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.20 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

30 มิถุนายน 2557 18:16:24 #2

เรียน คุณ emily.prentise.7,

ไม่ทราบว่าได้รับยาจากแพทย์หรือซื้อยามารับประทานเองครับ เนื่องจากตัวยา mecobalamin ที่คุณสอบถามมานั้น
โดยสารเคมีเป็นอนุพันธ์หรือสารสังเคราะห์ต่อจาก Vitamin B12 หรือ cyanocobalamin โดยการเติมหมู่ methyl เข้าไปในโมเลกุลของตัวยา ช่วยให้อยู่ในรูปที่พร้อมออกฤทธฺ์ทันที ทำให้ซ่อมแซมเซลล์ประสาทที่บาดเจ็บหรือเสียหาย ลดการส่งสัญญาณผิดปกติของเส้นประสาท (ลักษณะเดียวกับไฟช็อต สายไฟขาด)

ข้อบ่งใช้ คือ โรคของระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Neuropathy) ในผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ป่วยทั่วไป

อาการไม่พึงประสงค์ พบน้อย ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เนื่องจากเป็นวิตามินคล้ายกับที่ได้จากอาหาร การรับประทานติดต่อกันนาน ๆ ไม่เกิดการสะสม เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายน้ำ สามารถขับออกทางปัสสาวะได้

ส่วนข้อควรระวังอื่น ๆที่คุณสอบถามมานั้น เนื่องจากอาจบดบังอาการของผู้ที่ได้รับสารปรอท จนเกิดอาการพิษได้
อาการพิษปรอท มักเป็นแบบเรื้อรัง ค่อยเป็นค่อยไป อาการที่พบได้บ่อย คืออาการเกี่ยวกับระบบสมองและประสาท หากได้รับติดต่อกันนาน ๆจะทำให้เกิดอาการเจ็บหรือชาปลายมือปลายเท้า หรืออาการเหมือนเข็มแทง หากได้รับมากจะทำให้เกิดอาการแขนขาอ่อนแรง ประสาทรับความรู้สึกสูญเสียไป จนถึงกับเป็นอัมพาต ไม่สามารถหายใจได้ แน่นหน้าอก และตายได้ อาการพิษที่ทำลายเส้นประสาทจากปรอทนี้ ไม่สามารถรักษาให้กลับมาดีดังเดิมได้ พบครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น คงพอคุ้น ๆชื่อ "โรคมินามาตะ" การใช้ยา mecobalamin จะบดบังอาการเจ็บหรือชาปลายมือปลายเท้า เมื่อตรวจพบอีกครั้ง อาจเกิดพิษจากปรอท จนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงต้องมีการตรวจติดตามกับแพทย์ เพื่อสังเกตอาการว่าดีขึ้นหรือไม่ มีอาการอื่น ๆร่วมด้วยหรือไม่

 

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

สามารถอ่านรายละเอียดอาการพิษจากสารปรอท ได้ที่

http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=79