กระดานสุขภาพ
ผลกระทบจากวิตามินดี | |
---|---|
20 เมษายน 2557 02:39:52 #1 เป็นโรคกระดูกพรุนและบาง ขณะนี้รักษาด้วยยาที่ให้ทางเส้นเลือด ปีละ ๑ ครั้ง แต่ไม่ได้ทานแคลเซี่ยมจากโรงพยาบาล ซื้อทานเอง เป็น liquid filled absobable calcium 1200 mg (120% as Calcium cabornate) plus 1000 iu (250% D3 cholecalciferal) วันละ ๑ เม็ด และทานนม 250 ml ไปอ่านเจอว่า ถ้ารับวิตามินดีต่อวันมากเกินไป กลับทำให้กระดูกพรุน โรคพระเพาะ และปัญหาหลอดเลือด แต่ไม่กระจ่างว่าแค่ไหนคือมากเกินไป รบกวนคุณหมอด้วยค่ะ และถ้ามากไป จะแก้ปัญหาอย่างไรคะ ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 400 เม็ด ขอบคุณมากค่ะ |
|
อายุ: 57 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 46 กก. ส่วนสูง: 153ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.65 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผลเภสัชกร |
21 เมษายน 2557 04:17:37 #2 เรียน คุณ sapin, ไม่แน่ใจในสูตรตำรับของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่คุณซื้อหามารับประทานเอง ได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประเทศไทยหรือไม่ โดยทั่วไปการรับประทานแคลเซียม 1 ครั้ง ร่างกายจะสามารถดูดซึมได้ประมาณ 40% ของปริมาณที่ได้รับเข้าไป เช่น หากรับประทาน 1500 มิลลิกรัมของ แคลเซียม คาร์บอเนต (เทียบเท่ากับ แคลเซียม 600 มิลลิกรัม) ร่างกายจะได้รับประมาณ 250 มิลลิกรัม ดังนั้นการแบ่งรับประทานวันละหลายครั้ง ร่างกายจะดูดซึมได้มากกว่า ที่แนะนำคือไม่ควรเกิน 500 มิลลิกรัมต่อมื้อ และควรรับประทานหลังอาหาร เนื่องจากตัวยาจะละลายได้ดีในภาวะเป็นกรด ไม่ควรดื่มนมพร้อมกัน เนื่องจากนมจะทำให้เป็นด่าง การละลายของแคลเซียมก็จะลดลง ควรลดหรืองดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โกโก้ หรือน้ำอัดลม เนื่องจากจะเร่งการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ ส่วนวิตามินดี ขนาดที่ต้องได้รับในแต่ละวัน ประมาณ 50 ไมโครกรัม ส่วนใหญ่ได้รับจากแสงแดดช่วงเช้า ก่อน 10.00 น. อาหาร นม เนย ปลา (ทะเล) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน สามารถสะสมในร่างกายได้ อาการที่แสดงออกเบื้องต้นว่าได้รับวิตามินเกินขนาด คือ เวียนศีรษะ มึนงง เซื่องซึม คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดตามข้อ ส่วนวิตามินดี 3 ซึ่งเป็นรูปแบบที่ร่างกายใช้ได้ทันที US RDA ขนาดที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุหญิง อายุ 51-70 ปี แคลเซียม คือ 1200 มิลลิกรัม และวิตามินดี 600 ยูนิต ส่วนที่อายุมากกว่า 70 ปี คือ แคลเซียม 1200 มิลลิกรัม และวิตามินดี 800 ยูนิต ดังนั้นสูตรที่คุณรับประทาน อาจไม่เหมาะสมสำหรับบ้านเราซักเท่าไร เนื่องจากบ้านเรามีแดดทุกวัน ผิดกับต่างประเทศที่มีแดดเพียงปีละ 6 เดือน แต่หากยังมีเหลืออยู่ ก็สามารถรับประทานได้ เพียงแต่ให้คอยสังเกตอาการผิดปกติที่แจ้งไว้ข้างต้น หรือลองปรึกษาเภสัชกรประจำร้านยาหรือโรงพยาบาลที่คุณรักษาประจำ เพื่อรับประทานสลับกับแคลเซียมปกติ (อย่าลืมสังเกตวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมของคุณด้วยว่าจะรับประทานได้ทันก่อนหมดอายุหรือไม่) ข้อแนะนำ การได้รับจากอาหารตามธรรมชาติจะดีกว่านะครับ ถ้าคุณรับประทานอาหารได้ครบ 5 หมู่ ได้สารอาหารครบถ้วน รับประทานผักสด ผลไม้ที่มีรสไม่หวานจัด อาจเสริมผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เนื่องจากมีไฟโตเอสโตรเจน (สารคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง) ช่วยลดอาการของวัยหมดประจำเดือน เสริมแคลเซียม โปรตีนที่ดีและย่อยง่าย
อย่าลืมปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนที่จะเริ่มใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใด ๆนะครับ เนื่องจากบางปัญหาจากการใช้ยาอาจไม่สามารถแก้ไขได้ หรืออาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ไม่ควรรอคำตอบจากทางหน้าเว็บ เนื่องจากอาจารย์หลายท่านมีงานประจำ อาจไม่ว่างมาตอบคำถามได้ตลอดเวลาครับ เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราครับ ที่ วิตามิน (Vitamin) โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร |
Sapi*****n