กระดานสุขภาพ
เกิดตุ่มที่บริเวณก้น รบกวนสอบถามครับ | |
---|---|
6 กันยายน 2561 12:33:08 #1 เกิดตุ่มที่บริเวณก้น ไม่มีความเสี่ยงด้านเพศสัมพันธ์ เกิดจากอะไรหรอครับ ผมออกกำลังกายเกือบทุกวันกับนั่งทำงานนานๆหลายชมติดต่อกันเกี่ยวไหมครับ |
|
อายุ: 29 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 71 กก. ส่วนสูง: 175ซม. ดัชนีมวลกาย : 23.18 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
Anonymous |
6 กันยายน 2561 12:35:43 #2
ใช่ฝีคัณฑสูตรรึป่างครับ กังวล รึเป็นอะไรหรอครับ
|
Anonymous |
22 กันยายน 2561 01:25:42 #3 รบกวนหนอยครับ |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
29 กันยายน 2561 15:36:01 #4 การอักเสบของต่อมไขมันและขุมชน หรือเป็นก้อนสีแดงกดเจ็บที่มีใจกลางเป็นเชื้อโรคกับเซลล์ที่ตายแล้ว พบได้ทุกวัย ส่วนใหญ่มักขึ้นเพียงหัวเดียวหรือขึ้นหลายหัวติดๆ กัน เรียกว่า ฝีฝักบัว (Carbuncles) และมักเกิดที่ชั้นใต้ผิวหนังรอบก้น ใบหน้า ลำคอ รักแร้ และขาหนีบ สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสแตฟีโลค็อกคัส (Staphylococcus) อาจติดต่อโดยการสัมผัสถูกผู้ป่วยโดยตรง อาจเกิดในผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่รับประทานยาสเตียรอยด์ รวมถึงการรักษาความสะอาดไม่เพียงพอ หรือการเสียดสีกับเสื้อผ้า พยาธิสรีรภาพ เมื่อเชื้อเข้าไปในร่างกาย ตามปกติที่ผิวหนังจะมีสิ่งปิดกั้น เชื้อซึ่งเป็นสาเหตุของปฏิกิริยาของการอักเสบในรูขุมขน ปกติแล้วแผลจะแตกและหายเองในเวลา 2-3 สัปดาห์ เนื่องจากฝีไม่ว่าจะเกิดที่ใดก็ตามจะเป็นกลไกของร่างกายในการควบคุมให้เชื้อโรคอยู่ในขอบเขตไม่ให้แพร่กระจาย จึงมีการสร้างผนังหุ้มรอบเชื้อโรคไว้ หากมีภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอมักจะมีฝีได้ง่าย และมีความเสี่ยงที่ฝีจะรุนแรงและมีขนาดใหญ่นั่นเป็นเพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้ อาการ มีตุ่มหรือก้อนบวมแดง มีอาการปวดและกดเจ็บ มีผมหรือขนอยู่ตรงกลาง หากขึ้นใหม่ๆ จะมีลักษณะแข็ง โดยตุ่มนี้จะขยายโตขึ้นและเจ็บมาก ต่อมาจะค่อยๆ นุ่มลงและกลัดหนอง บางครั้งเมื่อฝีเป่งมากๆ จะแตกเองได้ แล้วอาการเจ็บปวดจะทุเลาลง อาจพบต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงมีการอักเสบร่วมด้วย เช่น เป็นฝีที่เท้าอาจมีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบบวมและแดง เป็นฝีที่มืออาจมีการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ เป็นฝีฝักบัวอาจมีไข้และมีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วย เป็นฝีหัวเดียวอาการทั่วไปมักเป็นปกติ เป็นต้น เมื่อฝีหายแล้วอาจมีแผลเป็น การวินิจฉัยโรค ตรวจหาสาเหตุ เช่น การเพาะเชื้อ (Culture) เป็นต้น การรักษา ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นจัดๆ ประคบวันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที ให้ยาแก้ปวดลดไข้ ยาปฏิชีวนะ เช่น คล็อกซาซิลลิน (Cloxacillin) อีริโทรไมซิน (Erythromycin) เป็นต้น หากฝีสุกอาจใช้เข็มเจาะดูดหรือผ่าระบายเอาหนองออก หากฝีมีขนาดใหญ่ แพทย์จะผ่าเอาฝีออก ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการดมยาสลบ ทำความสะอาดแผล โดยเปลี่ยนผ้าปิดแผล (Dressing) และใช้ก๊อซชิ้นเล็กๆ อุดแผลไว้ (Packing) หากเป็นฝีบริเวณก้นให้แช่ก้น (Sitz baths) เพื่อช่วยให้แผลสะอาดหายเร็วและมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ดีขึ้น แนะนำให้ผู้ป่วยรักษาความสะอาดและทำให้แผลแห้ง ส่วนการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าฝีซึ่งคล้ายกับการผ่าตัดริดสีดวงทวาร |
รศ.พญ.เปรมจิต จันทองจีนแพทย์โรคผิวหนัง |
12 ตุลาคม 2561 10:55:17 #5 จากภาพ เห็นเป็นตุ่มนูนแดง ไม่แน่ใจว่ามีการแกะเกา อาการคันร่วมด้วยหรือไม่ คิดถึงกลุ่มรูขุมขนอักเสบมากที่สุดค่ะ อาจทายากลุ่มยาฆ่าเชื้อร่วมกับยาสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบค่ะ และเลี่ยงการแกะเกา อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการไม่ดีขึ้น แนะนำไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติม ซักประวัติที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป |
Anonymous