กระดานสุขภาพ

สอบถามเรื่องยาฆ่าสิวกับอาหารเสริมzincและQ10ค่ะ
Army*****o

26 มิถุนายน 2557 13:39:27 #1

หนูอายุ21ค่ะ หน้ามัน มักเปนสิวตรงคางและรอบปาก
ตอนนี้เปนสิวหัวหนองตรงคาง4-5เม็ดใหญ่บ้างเล็กบ้าง สิวอักเสบแดงไม่มีหัวรวม4-5เม็ดค่ะ ครั้งหนี้เป็นหนักมากกว่าทุกๆครั้งง ปกติไม่ชอบกินยาค่ะเพราะกลัวอาหารข้างเคียง เลยกินแค่amoxy ตอนนี้ก็กินอยู่ค่ะเพราะสองวันก่อนเจ็บคอบวกกับเป็นสิวอยู่ด้วยก้อเลยกินค่ะ แต่สิวก็ไม่ดีขึ้น วันนี้เลยไปร้านยา(ไม่ใช่เภสัชกรขาย)เขาแนะนำให้กินยาclindamycin300 mg เช้าเย็นครั้งละเม็ดเป็นเวลา2สัปดาห์ และถ้าดีขึ้นก็กินต่ออีก2สัปดาห์แต่กินวันละเม็ดแทนค่ะ หนูเลยสงสัยว่า

ปล.หนูไม่เคยมีอาการแพ้ยาใดๆค่ะ
>>>>>หนูเป็นสิวหนักขนาดต้องกินยาพวกนี้เลยไหมคะๆ หรือแค่แต้มๆ แล้วกินamoxyต่อไป
>>>>>กินclindamycinนานไปไหมคะ 4อาทิตย์ถ้ากินแค่สองอาทิตย์ได้ไหมคะ แล้วมีอาการข้างเคียงอะไรที่ควรระวัง หลีกเลี่ยงอย่างไรคะ
>>>>>Doxycyclin & Clindamycin อะไรแรงกว่ากันคะ


อาหารเสริม zinc Q10
หนูซื้ออาหารเสริมzincมากินเพราะมีคนบอกว่าช่วยควบคุมความมันเพราะหนูเปนคนหน้ามันน่าจะช่วยลดสาเหตุการเกิดสิวได้บ้าง ส่วนQ10ที่หนูซื้อมามีน้ำมันรำข้าวผสมอยุ่ด้วยค่ะ
>>>>zinc กับ Q10ควรกินช่วงเวลาไหนดีที่สุดคะ
>>>>zinc กับ Q10 มีประโยชน์อะไรช่วยด้านไหนบ้างคะๆ 

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ ^^ 

อายุ: 21 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 46 กก. ส่วนสูง: 158ซม. ดัชนีมวลกาย : 18.43 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
รศ.พญ.เปรมจิต จันทองจีน

แพทย์โรคผิวหนัง

29 มิถุนายน 2557 16:00:30 #2

สิว โดยทั่วไปแบ่งการรักษาตามความรุนแรงของโรค ว่าเป็นน้อย เป็นปานกลาง หรือเป็นมาก

  • สิวที่มีความรุนแรงน้อย อาจมีเพียงสิวอุดตันหรือสิวอักเสบไม่เกิน 5 เม็ด
  • สิวที่มีความรุนแรงปานกลาง อาจมีสิวอักเสบ 5-10 เม็ด
  • สิวที่มีความรุนแรงมาก อาจมีสิวหัวช้าง หรือมีสิวอักเสบมากกว่า 10 เม็ด

ในกรณีที่เป็นสิวที่มีความรุนแรงน้อย รักษาโดยการใช้ยาทาก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาร่วมด้วย ส่วนสิวที่มีความรุนแรงมาก จำเป็นต้องรับประทานยาร่วมด้วยในการรักษา แต่สำหรับสิวที่มีความรุนแรงปานกลาง ก็อาจจะทายาอย่างเดียว หรือทายาร่วมกับการรับประทานยาร่วมด้วยก็ได้

สำหรับยารับประทานก็มีได้หลายตัว เช่น ยากลุ่ม amoxycillin, doxycyline, clindamycin, bactrim, และยากลุ่ม retinoids เป็นต้น ยาแต่ละตัวก็มีการบริหารยา ประสิทธิภาพ ผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ซึ่งจำเป็นที่ผู้ป่วยจะตัดสินใจร่วมกับแพทย์ผู้ทำการรักษา และโดยทั่วไปการรักษาสิว มักจะต้องรักษาต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นเวลา 1-2 เดือน