กระดานสุขภาพ

น้ำตาล150
Anonymous

25 สิงหาคม 2564 13:22:34 #1

คุณหมอครับอี๊ผมรูปร่างอ้วนกลางๆไม่แน่ใจเรื่องน้ำหนักส่วนสูงตรวจน้ำตาลแล้วมีผลน้ำตาลเกินทุกครั้งครั้งแต่มีสองครั้งที่น้ำตาลประมาณ150 ผมเลยสงสัยว่าจะ อันตรายไหมครับ ควรได้การดูแลรักษาหรือใช้ยาไหมครับเพราะไปตรวจที่อนามัยแถวบ้านไม่ได้ให้รับยาหรือติดตามอาการ
อายุ: 68 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 150ซม. ดัชนีมวลกาย : 26.67 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

12 กันยายน 2564 07:26:27 #2

เบาหวานเป็นภาวะเรื้อรังของการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเกิดการความบกพร่องของการสร้างอินซูลิน หรือของการทำงานของอินซูลิน หรือทั้งสองกรณี โรคเบาหวานมักจะเกี่ยวพันกับโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงหลายโรคและอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

  • เบาหวานชนิดที่ 1 เป็นชนิดพึ่งอินซูลิน
  • เบาหวานชนิดที่ 1 นี้ พบประมาณ 5-10% ของโรคเบาหวานทุกประเภท ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานชนิดที่ 1 นั้นมีน้อยกว่าเบาหวานชนิดที่ 2 ปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดภาวะเบาหวานชนิดที่ 1 ได้แก่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง พันธุกรรม และสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย
  • เบาหวานชนิดที่ 2 คือชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน (NIDDM) เบาหวานชนิดที่ 2 นี้ พบเป็นจำนวน 90-95% ของจำนวนโรคเบาหวานทุกชนิด ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานประเภทนี้ได้แก่ อายุที่มากขึ้น ความอ้วน บุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นเบาหวาน ประวัติการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความต้านทานต่อกลูโคสต่ำ ร่างกายไม่เคลื่อนไหว เชื้อชาติ ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ มีประวัติเคยเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด
  • เบาหวานที่เกิดในช่วงตั้งครรภ์ เกิดขึ้น 2-5% ของจำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่พบหลังการคลอดบุตรแล้วผู้หญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นของการพัฒนาที่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มีงานวิจัยกล่าวไว้ว่า ร้อยละ 40 ของผู้หญิงที่มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะพัฒนาเป็นเบาหวานได้ในอนาคต
  • เบาหวานชนิดพิเศษอื่นๆ มีผลจากความผิดปกติทางพันธุกรรม การผ่าตัด ยาเสพย์ติด ภาวะขาดสารอาหาร การติดเชื้อและความเจ็บป่วยอื่นๆ เบาหวานชนิดนี้พบเป็นจำนวน 1-2% ของคนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาวานทั้งหมด

หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน

  • วิธีการตรวจวินิจฉัยที่ใช้กันทั่วไปสำหรับการตรวจเบาหวานก็คือการวัดระดับกลูโคสในพลาสมา (Fasting plasma glucose : FPG) อย่างไรก็ตามแพทย์อาจเลือกใช้การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส (Oral glucose tolerance test: OGTT) ก็ได้
  • วินิฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ขึ้นไป **
  • ผลการสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา (nonfasting plasma glucose) โดยไม่มีการอดอาหารที่มีค่าตั้งแต่ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) บ่งชี้ว่าเป็นเบาหวาน
  • การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส (โดยให้รับประทานน้ำตาลปริมาณ 75 กรัมที่ละลายในน้ำ แล้ววัดระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังจากนั้น) หากมีค่าน้ำตาลตั้งแต่ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ขึ้นไปจะบ่งชี้ว่าเป็นเบาหวาน