กระดานสุขภาพ
ปัสสาวะผิดปกติครับ | |
---|---|
10 สิงหาคม 2564 12:47:36 #1 ปวดหลัง ปัสสาวะน้อย สีปัสสาวะเหมือนสีแดงครับ ดูรูปภาพด้วยครับ |
|
อายุ: 23 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 68 กก. ส่วนสูง: 180ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.99 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
Fala*****i |
10 สิงหาคม 2564 12:57:12 #2 http://haamor.com/media/images/webboardpics/falamrai-49653-1.png http://haamor.com/media/images/webboardpics/falamrai-49653-2.png http://haamor.com/media/images/webboardpics/falamrai-49653-3.jpg http://haamor.com/media/images/webboardpics/falamrai-49653-4.jpg http://haamor.com/media/images/webboardpics/falamrai-49653-5.jpg http://haamor.com/media/images/webboardpics/falamrai-49653-6.jpg |
Fala*****i |
10 สิงหาคม 2564 12:57:53 #3
ในรูปปัสสาวะผิดปกติไหมครับต้องไปหาหมอไหมครับ
|
Fala*****i |
12 สิงหาคม 2564 04:34:08 #4
ปัสสาวะน้อยมีเศษสีขาวครับ
|
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
12 สิงหาคม 2564 12:10:24 #5 การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection) หรือเรียกย่อว่า ยูทีไอ (UTI) คือ โรคหรือภาวะที่เกิดจากอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ทั้งนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อโรคทุกชนิด เช่น เชื้อรา และเชื้อไวรัส แต่พบได้น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับการติดเขื้อจากแบคทีเรีย ดัง นั้นในบทนี้จึงจะกล่าวถึงเฉพาะการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นโรค/ภาวะที่พบได้บ่อยมาก พบเกิดได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็ก (พบได้ประมาณ 10% ของโรค/ภาวะนี้) ไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยทั่วไปมักพบในช่วงอายุ 16-35 ปี เป็นโรคพบในผู้หญิงบ่อยกว่าในผู้ชายประมาณ 4 เท่าโดยประมาณ 60%ของผู้ หญิงต้องเคยเกิดโรค/ภาวะนี้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต เป็นโรค/ภาวะที่เกิดซ้ำได้บ่อย โดยพบว่าประมาณ 50% เมื่อเกิดโรคแล้ว จะเกิดโรคซ้ำภายใน 1 ปี การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะมักเกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่างซึ่งเรียกว่า การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง (Lower Urinary tract infection หรือ Lower UTI) คือ โรค/ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) และโรค/ภาวะท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethri tis) มากกว่าประมาณ 20-30 เท่าของการเกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะตอนบนซึ่งเรียกว่า การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน (Upper Urinary tract infection หรือ Upper UTI) ซึ่งมักเป็นการติดเชื้อของกรวยไต (โรคกรวยไตอักเสบ) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ • ผู้หญิง เนื่องจาก ◦ ท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าของผู้ชายมาก เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะ จึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า ◦ ปากท่อปัสสาวะของผู้หญิงเปิดออกสู่ภายนอกในบริเวณใกล้กับช่องคลอด และทวารหนัก จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ทั้งจากช่องคลอด และจากทวารหนัก ◦ ผู้หญิงช่วงมีประจำเดือน บริเวณปากช่องคลอดและปากท่อปัสสาวะจะปน เปื้อนเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเพศจะส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศรวมทั้งปากท่อปัสสาวะติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ◦ มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศในช่วงตั้งครรภ์ และช่วงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายในบริเวณปากช่องคลอดและปากท่อปัสสาวะจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าว แบคทีเรียประจำถิ่น (Normal flora) ที่อยู่ในบริเวณนั้นจึงเปลี่ยนแปลงรุนแรงขึ้น ◦ ภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งตัวครรภ์จะก่อการกดเบียดทับอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะกระเพาะปัสสาวะ จึงก่อให้เกิดทางเดินปัสสาวะอุดกั้นได้ง่าย ปัสสาวะจึงแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ เชื้อโรคจึงเจริญได้ดี จึงเพิ่มเชื้อโรคในปัสสาวะก่อให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น • อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ทั้งหญิงและชาย หรือมีเพศสัมพันธ์บ่อย จึงมีโอกาสติดโรคติด ต่อทางเพศสัมพันธ์ได้สูงกว่าโดยเฉพาะเมื่อมีคู่นอนหลายคน หรือในช่วงเมื่อมีการเปลี่ยนคู่นอน หรือเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศซึ่งรวมถึงท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะเกิดการบาดเจ็บจากเพศสัมพันธ์ จึงส่งผลให้ติดเชื้อได้ง่าย • ผู้หญิงที่คุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฆ่าอสุจิ เพราะยาจะก่อการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อของช่องคลอดและปากท่อปัสสาวะจึงเกิดช่องคลอดอักเสบ และทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่าย • ผู้หญิงที่ใช้การคุมกำเนิดด้วยการใส่ฝาครอบปากมดลูก (Diaphragm) จะติดเชื้อในช่องคลอดและในทางเดินปัสสาวะได้ง่าย จากความไม่สะอาดของมือ (จากการล้วงเข้าไปในช่องคลอด) และของแผ่นครอบไม่เพียงพอ • ใช้เจลหล่อลื่น และ/หรือถุงยางอนามัยที่ไม่สะอาด • มีทางเดินปัสสาวะอุดกั้น เช่น นิ่วในไต นิ่วในท่อไต และ/หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เพราะส่งผลให้น้ำปัสสาวะแช่ค้างในทางเดินปัสสาวะ แบคทีเรียจึงเจริญ เติบโตได้ดีในน้ำปัสสาวะ จึงก่อการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะได้ง่าย • โรคต่อมลูกหมากโต (ในผู้ชาย) เพราะก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ • โรคต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อ จึงส่งผลให้ลุกลามเกิดการติดเชื้อของอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะต่อมลูกหมากจะสัมผัสอยู่กับท่อปัสสาวะ • การนั่งนานๆ เช่น เมื่อรถติดมาก การกลั้นปัสสาวะนานๆ เพราะส่งผลให้เกิดการแช่คั่งของปัสสาวะ เชื้อโรคในปัสสาวะจึงเจริญได้ดี • มีโรคที่ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ร่างกายจึงติดเชื้อได้ง่าย เช่น โรคเบาหวาน • โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เพราะจะมีปัญหาในการถ่ายปัสสาวะ มักเกิดการแช่ค้างของปัสสาวะ แบคทีเรียในปัสสาวะจึงเจริญเติบโตได้ดี • โรค/ภาวะที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือ ปัสสาวะแต่ละครั้งไม่หมด จึงมีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะเสมอแบคทีเรียในปัสสาวะจึงเจริญเติบโตได้ดี เช่น ในผู้สูง อายุ ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลายครรภ์ และในผู้หญิงที่มีโรคกระบังลมหย่อน หรือในโรคต่อมลูกหมากโต (ในผู้ชาย) • การใช้สายสวนปัสสาวะ เพราะท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะจะบาดเจ็บจากสายสวน รวมทั้งการติดเชื้อจากตัวสายสวนเอง เช่น ในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต และผู้ป่วยผ่าตัดใหญ่ที่ต้องใส่สายสวนปัสสาวะ • มีความผิดปกติแต่กำเนิดของทางเดินปัสสาวะ ที่เป็นสาเหตุให้มีการกักคั่งของน้ำปัสสาวะ (พบได้น้อย) อาการจากการการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้บ่อย คือ ◦ ปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ ปวดแสบเวลาปัสสาวะ โดยเฉพาะเมื่อสิ้นสุดปัสสาวะ และมักตื่นปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ ◦ อาจกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ◦ ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นแรง หรือเหม็น ผิดปกติ ◦ อาจมีปัสสาวะเป็นเลือด ◦ ปวดท้องน้อย/อุ้งเชิงกราน • อาการจากติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอื่นๆที่อาจพบได้ คือ ◦ อาจมีไข้ต่ำๆ ◦ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ทั่วตัว ◦ อ่อนเพลีย ◦ คลื่นไส้ อาเจียน ◦ เจ็บบริเวณอวัยวะเพศ และ/หรืออุ้งเชิงกรานเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ◦ มีหนอง หรือ สารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศ ปากช่องคลอด และ/หรือปากท่อปัสสาวะ • อาการจากติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนบนที่นอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว คือ ◦ มีไข้ มักเป็นไข้สูง หนาวสั่น ◦ ปวดเอวทั้งสองข้าง แนวทางการรักษาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ การรักษาสาเหตุ และการรักษาประคับประคองตามอาการ • การใช้ยาปฏิชีวนะ โดยชนิด ขนาดยา (Dose) และระยะเวลาที่ใช้ยา ขึ้นกับ ความรุนแรงของอาการ เชื้อที่เป็นสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง การเป็นการเกิดโรคครั้งแรกหรือเป็นโรค/ภาวะย้อน กลับเป็นซ้ำ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย และในผู้ป่วยที่เกิดโรคบ่อย อาจมีการให้ยาปฏิชีว นะ เพื่อการป้องกันการเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ • การรักษาสาเหตุ เช่น การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อโรคเกิดจากโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์ หรือการรักษาโรคนิ่วในไต หรือโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อโรคเกิดจากโรคนิ่วในไต หรือในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น • การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ยาบรรเทาอาการ คลื่น ไส้ อาเจียน และการดื่มน้ำมากๆ มากกว่าปกติ เป็นต้น การดูแลตนเองและการพบแพทย์เมื่อมีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ • เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ เพราะการรักษาจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องทั้งชนิดของยาปริมาณยา (Dose) และระยะเวลาที่ได้รับยา เพื่อลดโอกาสเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำจากการรักษาที่ไม่เหมาะสม และเชื้อดื้อยาดังนั้นจึงเป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองให้โรคหายได้ • เมื่อพบแพทย์แล้ว ควรปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ • กินยาต่างๆให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่หยุดยาเอง ถึงแม้อาการจะดีขึ้น/หายแล้วก็ตาม • ดื่มน้ำสะอาดให้มากกว่าเดิม อย่างน้อยวันละ 8-10แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม • ไม่กลั้นปัสสาวะนาน • พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่นั่งนานๆ เช่น เมื่อรถติดมาก • งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าโรคจะหายแล้ว • สวมใส่กางเกงในเป็นผ้าฝ้าย100% ไม่รัดแน่นเกินไป เพื่อลดการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ และปากท่อปัสสาวะ และเพิ่มการระบายอากาศไม่ให้บริเวณนั้นอับชื้น • ในผู้หญิงควรล้างบริเวณอวัยวะเพศและปากท่อปัสสาวะจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อลดการปนเปื้อนแบคทีเรียจากปากทวารหนัก • ลองปรับเปลี่ยนชนิดยาคุมกำเนิด (ในผู้หญิง) หรือ เจลหล่อลื่น เมื่อเกิดโรคกระ เพาะปัสสาวะอักเสบโดยหาสาเหตุอื่นไม่ได้ • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ • หลังการขับถ่ายควรล้างด้วยน้ำสะอาด และซับให้แห้งเสมอ อาจใช้กระดาษเปียกสำหรับทำความสะอาดของเด็กอ่อนเมื่อไม่สะดวกที่จะล้างทำความสะอาด • ใช้ทิชชูชนิดอ่อนนุ่ม ไม่แข็งกระด้างในบริเวณอวัยวะเพศเสมอ • รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคต่อมลูกหมากโต การป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สำคัญ คือ • ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วเมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม • เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่นั่งนานๆ เช่น เมื่อรถติดมาก ไม่กลั้นปัสสาวะนานๆ • ใช้ทิชชูที่อ่อนนุ่มในการทำความสะอาดปากท่อปัสสาวะ และอวัยวะเพศ • ไม่ใช้ยาดับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศ • หลายการศึกษาพบว่า การมีเพศสัมพันธ์เพิ่มปริมาณเชื้อโรคในปัสสาวะ ดังนั้นจึงมีคำแนะนำให้ปัสสาวะก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในปัสสาวะลง จึงลดโอกาสเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ • รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง • ไม่สำส่อนทางเพศ รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) • ในผู้หญิง ◦ ทำความสะอาดอวัยวะเพศ และหลังการขับถ่ายจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของแบคทีเรียจากปากทวารหนัก ◦ ไม่ใช้การคุมกำเนิดด้วยยาฆ่าอสุจิ ◦ ไม่ใช้การคุมกำเนิดด้วยการใช้ฝาครอบปากมดลูก |
Fala*****i |
13 สิงหาคม 2564 05:11:52 #6
ดูรูปด้วยครับ
|
Fala*****i |
5 กันยายน 2564 17:43:34 #7
ปวดหลัง ปัสสาวะมีไขมันครับ
|
Fala*****i