กระดานสุขภาพ
ตรวจสุขภาพประจำปี | |
---|---|
11 พฤศจิกายน 2562 04:32:20 #1 สวัสดีค่ะ พอดีว่าหนูไม่เคยตรวจสุขภาพเลย แล้วทีนี้หนูอยากให้ ผปค พาไปตรวจสุขภาพค่ะ ไม่ทราบว่า คุณหมอเขาจะถามว่าเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนไหมคะ/ตรวจโปรแกรมไหน ถึงจะโดนถามแบบนี้คะ คือหนูเคยมีกับแฟนค่ะ ป้องกันด้วยการทานยาคุมเสมอ ใส่ถุงยางเพิ่มช่วงที่คิดว่าเสี่ยงควบคุมกับทานยาคุมค่ะ แต่ไม่อยากให้ ผปค ทราบ |
|
อายุ: 21 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 56 กก. ส่วนสูง: 163ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.08 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
13 พฤศจิกายน 2562 21:14:41 #2 การตรวจสุขภาพ สำหรับบประชาชนทั่วไป เพื่อให้บริการตรวจแก่ผู้ที่ยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ หรืออาจะมีความผิดปกติเพียงเล็กน้อยไม่ชัดเจน การตรวจสุขภาพนี้เป็นเพียงการค้นหาโรคที่อาจแฝงอยู่โดยยังไม่ปรากฎอาการผิดปกติ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น การตรวจสุขภาพ ช่วยให้สามารถตรวจพบโรคเหล่านี้ในระยะเริ่มต้น เป็นประโยชน์ในการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของโรค ทำให้ได้ผลในการรักษาที่ดี ลดความรุนแรง ภาวะแทรกซ้อน หรือความพิการต่างๆ ที่อาจเกิดจากโรคบางโรคได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจสุขภาพ มิได้ เป็นการรับประกันว่าท่านจะปลอดจากโรคดังกล่าวข้างต้น หากแต่จะช่วยให้ตรวจพบโรคระยะเริ่มแรกได้เท่านั้น การดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม การออกกำลังกาย ยังคงเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ท่านมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ การสังเกตุอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวท่านและการปรึกษาแพทย์เมื่อมีภาวะผิดปกติดังกล่าว ก็เป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยตรวจหาโรคที่ท่านอาจเป็นเพิ่มเติมได้ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น สำหรับทุกคนและทุกวัย การตรวจสุขภาพโดยรวมเบื้องต้น หรือการตรวจแบบ comprehensive สำหรับทั้งเพศหญิงและเพศชาย ประกอบไปด้วย 1.การตรวจร่างกายทั่วไป โดยแพทย์จะสอบถามประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิดของคนในครอบครัว ประวัติอาการต่างๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประวัติการใช้ยา รวมถึงพฤติกรรมต่างๆที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ ร่วมกับการตรวจเบื้องต้น เช่น การตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย ประกอบกับการตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถแยกโรคได้ในระดับหนึ่ง ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ประเมินความเข้มข้นของเลือด ซึ่งอาจบอกถึงสภาวะผิดปกติเช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย จำนวนเกล็ดเลือด รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว 2.ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) เพื่อประเมินความเสี่ยง และคัดกรองโรคเบาหวาน 3.ตรวจวัดระดับไขมันในเลือด เพื่อดูระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ รวมถึงไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดีและคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี เพื่อูประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ตรวจระดับกรดยูริก เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์ 4.ตรวจการทำงานของไต เป็นการตรวจเลือดเพื่อดูระดับค่าครีเอตินิน (creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และ ค่า BUN (Blood Urea Nitrogen) ซึ่งเป็นค่าของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน เพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต 5.ตรวจการทำงานของตับ เป็นการตรวจดูความผิดปกติของตับและทางเดินน้ำดี โดยตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือดเพื่อหาภาวะตับอักเสบ ตับเสื่อมสภาพ ภาวะดีซ่าน 6.ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เป็นการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์จากระดับฮอร์โมนในเลือด เช่น TSH และ Free T4 7.ตรวจไวรัสตับอักเสบ โดยไวรัสตับอักเสบบีสามารถตรวจคัดกรองการติดเชื้อเบื้องต้นได้จากส่วนประกอบของเชื้อ HBsAg และการตรวจระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อได้แก่การตรวจ HBsAb ขณะที่ไวรัสตับอักเสบซีสามารถตรวจคัดกรองการติดเชื้อเบื้องต้นได้โดยตรวจ Anti-HCV 8.ตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง ได้แก่ การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) ในสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี และตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) ในสุภาพบุรุษทุกช่วงวัย 9.ตรวจปัสสาวะ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น รวมถึงโรคอื่นๆ ที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะเช่น โรคเบาหวาน 10.ตรวจอุจจาระ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหารเบื้องต้น เช่น ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ พยาธิ รวมถึงตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ริดสีดวงทวาร มะเร็งทางเดินอาหาร 11.ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการประเมินการทำงานของหัวใจในขณะพัก เพื่อดูความผิดปกติเช่นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การนำไฟฟ้าที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 12.เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องทรวงอก เช่น ขนาดของหัวใจ วัณโรคและโรคต่างๆของปอด 13.ตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะสำคัญภายในช่องท้องเช่น ตับ ไต ตับอ่อน ม้าม เส้นเลือดใหญ่ภายในช่องท้อง รวมถึงมดลูกและรังไข่ในผู้หญิงและต่อมลูกหมากในผู้ชาย 14. ฝตรวจวัดความสามารถในการมองเห็นและความดันลูกตา เป็นการตรวจสุขภาพตาทั่วไป และค้นหาความเสี่ยงต่อภาวะต้อหิน การตรวจต่างๆ เหล่านี้เหมาะกับกลุ่มคนวัยทำงานขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุทั้งสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี โดยอาจมียกเว้นบ้าง สำหรับการตรวจบางอย่างในผู้สูงอายุ เช่น การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำเป็นกรณีไป |
Jira*****a