กระดานสุขภาพ
ปวดปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะมีเลือดปน | |
---|---|
1 กรกฎาคม 2562 11:16:46 #1 สวัสดีครับ วันนี้ตอนเช้าผมอั้นปัสสาวะเพราะรถติดมาก พอได้ปัสสาวะครั้งแรกก็ยังปกติ แต่พอปัสสาวะครั้งต่อมารู้สึกแสบๆขัดๆ และรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยมาก จนเมื่อตอนเย็นพบว่าปัสสาวะมีเลือดปน รู้สึกแสบและขัด และเมื่อปัสสาวะเสร็จแล้วก็รู้สึกปวดปัสสาวะต่อทันที |
|
อายุ: 22 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 170ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.76 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
4 กรกฎาคม 2562 15:35:11 #2
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นโรค/ภาวะที่พบได้บ่อยมากพบเกิดได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็ก(พบได้ประมาณ10% ของโรค/ภาวะนี้) ไปจนถึงผู้สูงอายุโดยทั่วไปมักพบในช่วงอายุ16-35 ปีเป็นโรคพบในผู้หญิงบ่อยกว่าในผู้ชายประมาณ4 เท่าโดยประมาณ60%ของผู้หญิงต้องเคยเกิดโรค/ภาวะนี้อย่างน้อย1 ครั้งในชีวิตเป็นโรค/ภาวะที่เกิดซ้ำได้บ่อยโดยพบว่าประมาณ50% เมื่อเกิดโรคแล้วจะเกิดโรคซ้ำภายใน1 ปี การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะมักเกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่างซึ่งเรียกว่าการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง(Lower Urinary tract infection หรือLower UTI) คือโรค/ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ(Cystitis) และโรค/ภาวะท่อปัสสาวะอักเสบ(Urethri tis) มากกว่าประมาณ20-30 เท่าของการเกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะตอนบนซึ่งเรียกว่าการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน(Upper Urinary tract infection หรือUpper UTI) ซึ่งมักเป็นการติดเชื้อของกรวยไต(โรคกรวยไตอักเสบ) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะคือ • ผู้หญิงเนื่องจาก ◦ ท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าของผู้ชายมากเชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะจึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า ◦ ปากท่อปัสสาวะของผู้หญิงเปิดออกสู่ภายนอกในบริเวณใกล้กับช่องคลอดและทวารหนักจึงมีโอกาสติดเชื้อได้ทั้งจากช่องคลอดและจากทวารหนัก ◦ ผู้หญิงช่วงมีประจำเดือนบริเวณปากช่องคลอดและปากท่อปัสสาวะจะปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเพศจะส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศรวมทั้งปากท่อปัสสาวะติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ◦ มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศในช่วงตั้งครรภ์และช่วงวัยหมดประจำเดือนซึ่งจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายในบริเวณปากช่องคลอดและปากท่อปัสสาวะจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวแบคทีเรียประจำถิ่น(Normal flora) ที่อยู่ในบริเวณนั้นจึงเปลี่ยนแปลงรุนแรงขึ้น ◦ ภาวะตั้งครรภ์ซึ่งตัวครรภ์จะก่อการกดเบียดทับอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะโดยเฉพาะกระเพาะปัสสาวะจึงก่อให้เกิดทางเดินปัสสาวะอุดกั้นได้ง่ายปัสสาวะจึงแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะเชื้อโรคจึงเจริญได้ดีจึงเพิ่มเชื้อโรคในปัสสาวะก่อให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น • อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ทั้งหญิงและชายหรือมีเพศสัมพันธ์บ่อยจึงมีโอกาสติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้สูงกว่าโดยเฉพาะเมื่อมีคู่นอนหลายคนหรือในช่วงเมื่อมีการเปลี่ยนคู่นอนหรือเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศซึ่งรวมถึงท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะเกิดการบาดเจ็บจากเพศสัมพันธ์จึงส่งผลให้ติดเชื้อได้ง่าย • ผู้หญิงที่คุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฆ่าอสุจิเพราะยาจะก่อการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อของช่องคลอดและปากท่อปัสสาวะจึงเกิดช่องคลอดอักเสบและทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่าย • ผู้หญิงที่ใช้การคุมกำเนิดด้วยการใส่ฝาครอบปากมดลูก(Diaphragm) จะติดเชื้อในช่องคลอดและในทางเดินปัสสาวะได้ง่ายจากความไม่สะอาดของมือ(จากการล้วงเข้าไปในช่องคลอด) และของแผ่นครอบไม่เพียงพอ • ใช้เจลหล่อลื่นและ/หรือถุงยางอนามัยที่ไม่สะอาด • มีทางเดินปัสสาวะอุดกั้นเช่นนิ่วในไตนิ่วในท่อไตและ/หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะเพราะส่งผลให้น้ำปัสสาวะแช่ค้างในทางเดินปัสสาวะแบคทีเรียจึงเจริญเติบโตได้ดีในน้ำปัสสาวะจึงก่อการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะได้ง่าย • โรคต่อมลูกหมากโต(ในผู้ชาย) เพราะก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ • โรคต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อจึงส่งผลให้ลุกลามเกิดการติดเชื้อของอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะเพราะต่อมลูกหมากจะสัมผัสอยู่กับท่อปัสสาวะ • การนั่งนานๆเช่นเมื่อรถติดมากการกลั้นปัสสาวะนานๆเพราะส่งผลให้เกิดการแช่คั่งของปัสสาวะเชื้อโรคในปัสสาวะจึงเจริญได้ดี • มีโรคที่ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำร่างกายจึงติดเชื้อได้ง่ายเช่นโรคเบาหวาน • โรคอัมพฤกษ์อัมพาตเพราะจะมีปัญหาในการถ่ายปัสสาวะมักเกิดการแช่ค้างของปัสสาวะแบคทีเรียในปัสสาวะจึงเจริญเติบโตได้ดี • โรค/ภาวะที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือปัสสาวะแต่ละครั้งไม่หมดจึงมีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะเสมอแบคทีเรียในปัสสาวะจึงเจริญเติบโตได้ดีเช่นในผู้สูงอายุในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลายครรภ์และในผู้หญิงที่มีโรคกระบังลมหย่อนหรือในโรคต่อมลูกหมากโต(ในผู้ชาย) • การใช้สายสวนปัสสาวะเพราะท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะจะบาดเจ็บจากสายสวนรวมทั้งการติดเชื้อจากตัวสายสวนเองเช่นในผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตและผู้ป่วยผ่าตัดใหญ่ที่ต้องใส่สายสวนปัสสาวะ • มีความผิดปกติแต่กำเนิดของทางเดินปัสสาวะที่เป็นสาเหตุให้มีการกักคั่งของน้ำปัสสาวะ(พบได้น้อย) อาการจากการการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้บ่อยคือ ◦ ปัสสาวะบ่อยครั้งละน้อยๆปวดแสบเวลาปัสสาวะโดยเฉพาะเมื่อสิ้นสุดปัสสาวะและมักตื่นปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ ◦ อาจกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ◦ ปัสสาวะขุ่นมีกลิ่นแรงหรือเหม็นผิดปกติ ◦ อาจมีปัสสาวะเป็นเลือด ◦ ปวดท้องน้อย/อุ้งเชิงกราน • อาการจากติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอื่นๆที่อาจพบได้คือ ◦ อาจมีไข้ต่ำๆ ◦ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วตัว ◦ อ่อนเพลีย ◦ คลื่นไส้อาเจียน ◦ เจ็บบริเวณอวัยวะเพศและ/หรืออุ้งเชิงกรานเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ◦ มีหนองหรือสารคัดหลั่งบริเวณอวัยวะเพศปากช่องคลอดและ/หรือปากท่อปัสสาวะ • อาการจากติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนบนที่นอกเหนือจากที่กล่าวแล้วคือ ◦ มีไข้มักเป็นไข้สูงหนาวสั่น ◦ ปวดเอวทั้งสองข้าง แนวทางการรักษาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะคือการใช้ยาปฏิชีวนะการรักษาสาเหตุและการรักษาประคับประคองตามอาการ • การใช้ยาปฏิชีวนะโดยชนิดขนาดยา(Dose) และระยะเวลาที่ใช้ยาขึ้นกับความรุนแรงของอาการเชื้อที่เป็นสาเหตุปัจจัยเสี่ยงการเป็นการเกิดโรคครั้งแรกหรือเป็นโรค/ภาวะย้อนกลับเป็นซ้ำและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยและในผู้ป่วยที่เกิดโรคบ่อยอาจมีการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกันการเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ • การรักษาสาเหตุเช่นการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เมื่อโรคเกิดจากโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์หรือการรักษาโรคนิ่วในไตหรือโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะเมื่อโรคเกิดจากโรคนิ่วในไตหรือในกระเพาะปัสสาวะเป็นต้น • การรักษาประคับประคองตามอาการเช่นให้ยาแก้ปวดยาลดไข้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนและการดื่มน้ำมากๆมากกว่าปกติเป็นต้น การดูแลตนเองและการพบแพทย์เมื่อมีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะคือ • เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เพราะการรักษาจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องทั้งชนิดของยาปริมาณยา(Dose) และระยะเวลาที่ได้รับยาเพื่อลดโอกาสเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำจากการรักษาที่ไม่เหมาะสมและเชื้อดื้อยาดังนั้นจึงเป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองให้โรคหายได้ • เมื่อพบแพทย์แล้วควรปฏิบัติตามแพทย์พยาบาลแนะนำ • กินยาต่างๆให้ครบถ้วนถูกต้องไม่หยุดยาเองถึงแม้อาการจะดีขึ้น/หายแล้วก็ตาม • ดื่มน้ำสะอาดให้มากกว่าเดิมอย่างน้อยวันละ8-10แก้วเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม • ไม่กลั้นปัสสาวะนาน • พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอไม่นั่งนานๆเช่นเมื่อรถติดมาก • งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าโรคจะหายแล้ว • สวมใส่กางเกงในเป็นผ้าฝ้าย100% ไม่รัดแน่นเกินไปเพื่อลดการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศและปากท่อปัสสาวะและเพิ่มการระบายอากาศไม่ให้บริเวณนั้นอับชื้น • ในผู้หญิงควรล้างบริเวณอวัยวะเพศและปากท่อปัสสาวะจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอเพื่อลดการปนเปื้อนแบคทีเรียจากปากทวารหนัก • ลองปรับเปลี่ยนชนิดยาคุมกำเนิด(ในผู้หญิง) หรือเจลหล่อลื่นเมื่อเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบโดยหาสาเหตุอื่นไม่ได้ • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ • หลังการขับถ่ายควรล้างด้วยน้ำสะอาดและซับให้แห้งเสมออาจใช้กระดาษเปียกสำหรับทำความสะอาดของเด็กอ่อนเมื่อไม่สะดวกที่จะล้างทำความสะอาด • ใช้ทิชชูชนิดอ่อนนุ่มไม่แข็งกระด้างในบริเวณอวัยวะเพศเสมอ • รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นโรคเบาหวานหรือโรคต่อมลูกหมากโต การป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สำคัญคือ • ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ6-8 แก้วเมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม • เคลื่อนไหวร่างกายเสมอไม่นั่งนานๆเช่นเมื่อรถติดมากไม่กลั้นปัสสาวะนานๆ • ใช้ทิชชูที่อ่อนนุ่มในการทำความสะอาดปากท่อปัสสาวะและอวัยวะเพศ • ไม่ใช้ยาดับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศ • หลายการศึกษาพบว่าการมีเพศสัมพันธ์เพิ่มปริมาณเชื้อโรคในปัสสาวะดังนั้นจึงมีคำแนะนำให้ปัสสาวะก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในปัสสาวะลงจึงลดโอกาสเกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ • รักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง • ไม่สำส่อนทางเพศรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) • ในผู้หญิง ◦ ทำความสะอาดอวัยวะเพศและหลังการขับถ่ายจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของแบคทีเรียจากปากทวารหนัก ◦ ไม่ใช้การคุมกำเนิดด้วยยาฆ่าอสุจิ ◦ ไม่ใช้การคุมกำเนิดด้วยการใช้ฝาครอบปากมดลูก |
Etc1*****4