กระดานสุขภาพ
สงสัยเรื่องเบาหวานครับ | |
---|---|
20 กุมภาพันธ์ 2562 08:44:46 #1 วันนี้ลองให้ ป้าที่เป็น อสม ของตำบล เจาะเลือดดู น้ำตาลในเลือด 141 ถือว่าปกติรึเปล่าครับ นอน 22.00 ตื่นมา 08.00 แล้วก็ไปลองเจาะตรวจดูเลยครับ / เพราะว่ารู้สึก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หงุดหงิด ปัสสาวะบ่อย หิวบ่อย หิวน้ำบ่อยด้วยครับ อาการเป็นมาตั้งแต่ ปี 60 แล้วครับ |
|
อายุ: 22 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 90 กก. ส่วนสูง: 173ซม. ดัชนีมวลกาย : 30.07 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
24 กุมภาพันธ์ 2562 17:19:09 #2 เบาหวาน (Diabetes mellitus หรือ Diabetes หรือเรียกย่อว่า โรคดีเอ็ม, DM) เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ต้องได้รับการดูแลรักษาตลอดชีวิต ทั้งนี้เกิดจากการที่ในเลือดมีน้ำตาลสูงกว่าปกติ เบาหวานเป็นโรคที่พบได้สูงในคนทุกอายุและทั้งสองเพศ แต่จะพบได้สูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยทั่วไป แบ่งเบาหวานได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ เบาหวานชนิด 1 (Diabetes mellitus type 1), เบาหวานชนิด 2 (Diabetes mellitus type 2) และเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ (Ges tational diabetes mellitus) เบาหวานชนิด 1 เบาหวานชนิดนี้พบได้น้อยประมาณ 5% ของเบาหวานทั้งหมด เกิดจากตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยผิดปกติ หรือสร้างไม่ได้เลย ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการรัก ษาด้วยการฉีดยาอินซูลินตลอดชีวิต ดังนั้น จึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า โรคเบาหวานชนิดต้องพึ่งอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes mellitus) และเพราะเบาหวานชนิดนี้มักพบในเด็กและวัยรุ่น จึงเรียกได้อีกชื่อว่า โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น หรือ Juvenile diabetes mellitus ( อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.comบทความเรื่อง โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น) เบาหวานชนิด 2 เป็นเบาหวานที่มักพบในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในคนอ้วน ดังนั้น จึงเรียกอีกชื่อว่า เบาหวานในผู้ใหญ่ (Adult onset diabetes mellitus) และเป็นเบาหวานที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งอินซูลิน (Non- insulin-dependent diabetes mellitus) ซึ่งเบา หวานชนิดนี้พบได้สูงที่สุดประมาณ 90 - 95% ของโรคเบาหวานทั้งหมด ดังนั้น โดยทั่วไป เมื่อกล่าวถึงโรคเบาหวาน จึงมักหมายถึงโรคเบาหวานชนิดนี้ เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ พบได้ประมาณ 2 - 5% ของเบาหวานทั้งหมด กล่าวคือ เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์เท่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ -โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ซึ่งส่งผลให้เซลล์ต่างๆดื้อต่ออินซูลิน -ขาดการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนัก และช่วยให้เซลล์ต่างๆไวต่อการนำน้ำตาลไปใช้ หรือช่วยการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดได้ดีนั่นเอง -พันธุกรรม เพราะพบว่า คนที่มีครอบครัวสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง ท้องเดียวกัน) เป็นเบา หวานมีโอกาสเป็นเบาหวานสูงกว่าคนทั่วไป -เชื้อชาติ เพราะพบว่า คนบางเชื้อชาติเป็นเบาหวานสูงกว่า เช่น ในคนเอเชียและในคนผิวดำ -อายุ ยิ่งอายุสูงขึ้น โอกาสเป็นเบาหวานยิ่งสูงขึ้น อาจจากการเสื่อมถอยของเซลล์ตับอ่อน หรือขาดการออกกำลังกายจากสุขภาพที่เสื่อมถอย -มีไขมันในเลือดสูง -มีความดันโลหิตสูง เบาหวานมีอาการอย่างไร? อาการหลักสำคัญของเบาหวาน คือ หิวบ่อย กระหายน้ำ และปัสสาวะปริมาณมากและบ่อย นอกจากนั้น เช่น เหนื่อย อ่อนเพลีย ผิวแห้ง คัน ตาแห้ง อาการชาเท้าหรือรู้สึกเจ็บแปลบที่ปลายเท้าหรือที่เท้า ผอมลงโดยหาสาเหตุไม่ได้ เมื่อเกิดแผลในบริเวณต่างๆแผลมักหายช้ากว่าปกติโดยเฉพาะแผลบริเวณเท้า บางครั้งสายตาพร่ามัวโดยหาสาเหตุไม่ได้ การวินิจฉัย แพทย์วินิจฉัยโรคเบาหวานได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ประวัติการเจ็บ ป่วยของคนในครอบครัว การตรวจร่างกาย และที่สำคัญคือ การตรวจเลือดเพื่อดูปริมาณน้ำตาลในเลือด และ/หรือ ดูสารที่เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1C: Glycated hemoglobin) ค่าปกติของน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารอย่างน้อยประมาณ 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Sugar หรือเรียกย่อว่า FBS) คือ น้อยกว่า 110 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (มก./ดล.) หรือถ้าตรวจเลือดที่ 2 ชั่วโมงหลังแพทย์ให้กินน้ำตาลประมาณ 75 กรัม (Glucose tolerance Test หรือเรียกย่อว่า จีทีที/ GTT) ค่าน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 140 มก./ดล หรือค่า HbA1C น้อยกว่า 6.5% เบาหวาน คือ ค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารสูงตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป และ/หรือ ค่าจีทีที สูงตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป หรือค่า HbA1C มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5% อาจมีการตรวจอื่นๆประกอบด้วย เช่น การตรวจปัสสาวะดูน้ำตาลในปัสสาวะซึ่งจะไม่พบในคนปกติ นอกจากนั้น คือ การตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต เพราะเบาหวานมักส่งผลต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง และการตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์ เพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงของเบา หวานต่อจอตา หรือที่เรียกว่า เบาหวานขึ้นตา |
Soho*****e