กระดานสุขภาพ

ความเสี่ยงโรคติดต่อวัณโรค
Bank*****g

4 มกราคม 2562 04:29:52 #1

คุณตาป่วยเป็นวัณโรค. หมอให้นอน รพ ประมาน 2 อาทิตใส่ยาครับ. วันนี้จะออกมาพักที่บ้านครับ. ทีนี้ทางบ้านให้แกอยู่บ้านอีกหลังคนเดียว. อยากถามว่าถ้าตอนกลางคืนแกมีอาการไอ. จาม ตลอดทั้งคืน แล้วผมนอนบนบ้านไม้ 2 ชั้น ซึ่งเปิดหน้าต่าง และมีช่องตรงหลังคา บ้านที่ผมนอนห่างจากบ้านของคุณตาประมาน 10 เมตร แบบนี้ตอนกลางคืนผมหลับแล้วตา แกไอ เชื้อวัณโรคนั้นจะลองไปในอากาศแล้วผมนอนบนบ้านที่ห่างประมาน 10 เมตรผมจะมีโอกาศสูดอากาศนั้นแล้วเสี่ยงติดเชื้อวัณโรคไหมครับ
อายุ: 29 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 85 กก. ส่วนสูง: 175ซม. ดัชนีมวลกาย : 27.76 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Bank*****g

4 มกราคม 2562 15:02:54 #2

อีก 1 คำถามครับคุณหมอ พ่อผมไปหมุนถังอ๊อกซิเจนให้คุณตาและหยิบจับสิ่งของๆคุณตาแล้วกลับมาบ้านไม่ล้างมือ จากนั้นก็จับถุงใส่ของจากนั้นผมก็เอาถุงนั้นใส่รถงยนต์เปิดแอร์แบบนี้เราสูดอากาศในรถเข้าไป เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคไหมครับ
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

5 มกราคม 2562 09:14:37 #3

เชื้อวัณโรค หรือ TB (tubercle bacillus) จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในกลุ่มเชื้อแบคทีเรียที่มีการเจริญเติบโต หรือการแบ่งตัวช้ากว่าแบคทีเรียทั่วไปชนิดอื่นๆ โดยแบคทีเรียกลุ่มนี้ชื่อว่า ไมโครแบคทีเรีย มีหลายสายพันธุ์ซึ่งก่อให้เกิดวัณโรคได้ แต่สายพันธุ์ที่พบบ่อยและก่อปัญหามากที่สุดในมนุษย์คือ เชื้อ Mycobacterium tuberculosis

มนุษย์สามารถติดเชื้อวัณโรคได้โดยผ่านทางการหายใจเอาเชื้อที่ล่องลอยในอากาศเข้าไปภายในปอด และต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด เชื้อในปอดหรือต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดอาจมีการแพร่กระจายทางเลือดหรือระบบน้ำเหลือง และอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ได้ทั่วร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ ม้าม กระดูก หรือเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น แต่วัณโรคที่ปอดเป็นตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดเนื่องจากเชื้อสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้โดยการไอและเชื้อแขวนลอยอยู่ในอากาศ

โดยปกติเชื้อวัณโรคจะแพร่กระจายโดยเชื้อที่แขวนลอยอยู่ในอากาศจะเข้าสู่ทางเดินหายใจและปอด ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะมีการตอบสนองของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ที่อยู่ที่ปอดเพื่อต่อสู้กับเชื้อวัณโรคที่เข้ามาอยู่ในร่างกาย ผลของการตอบสนองจากระบบภูมิคุ้มกันดังกล่าวแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.เชื้อวัณโรคจะถูกกำจัดได้หมดโดยภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ไม่มีเชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกาย

2.เชื้อวัณโรคจะเข้ามาอยู่ในร่างกาย แต่จะอยู่ในระยะแฝงของการติดเชื้อวัณโรค โดยจะมีเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ โอบล้อมเชื้อวัณโรคอยู่ทำให้เชื้ออยู่ในระยะสงบหรือระยะแฝง ซึ่งจะไม่ก่อโรคหรือที่เรียกว่า Latent tuberculosis ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการใดๆ และจะไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อ แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันเสื่อม เม็ดเลือดขาวที่โอบล้อมเชื้ออยู่ไม่สามารถควบคุมเชื้อได้ก็จะทำให้ผู้ติดเชื้อป่วยเป็นโรควัณโรคได้

และ 3.กลุ่มผู้ป่วยที่กลายเป็นโรควัณโรค (active tuberculosis) หลังจากที่มีการสัมผัสเชื้อ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะเป็นผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ

ถ้าเราอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค เราจะมีโอกาสติดเชื้อวัณโรคได้มากน้อยเพียงใด?

นิยามของผู้ที่สัมผัสใกล้ชิด (Close contact) คือ ผู้ที่อยู่ในสถานที่เดียวกัน เช่น บ้านเดียวกัน ห้องนอนเดียวกัน ห้องเรียนเดียวกัน มีการสัมผัสใกล้ชิดที่ต่อเนื่องตั้งแต่ 8 ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน ถ้าเป็นการสัมผัสไม่ต่อเนื่องให้คิดเวลารวมตลอดเดือนหากมากกว่า 120 ชั่วโมงขึ้นไปถือว่าสัมผัสใกล้ชิด โอกาสการติดเชื้อวัณโรคจากบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปริมาณเชื้อวัณโรคของผู้ป่วย ลักษณะการระบายอากาศของห้องที่อยู่ร่วมกัน เป็นต้น

ควรแยกห้องกับสมาชิกในครอบครัวให้ผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2-3 สัปดาห์แรก ภายในห้องควรเปิดหน้าต่างเพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และให้แสงแดดส่องถึงเนื่องจากแสงแดดจะทำลายเชื้อวัณโรคได้ดี หมั่นนำเครื่องนอนออกตากแดด ควรสวมหน้ากากหรือผ้าปิดจมูก และเปลี่ยนให้สม่ำเสมอเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ และเสมหะควรบ้วนลงภาชนะหรือกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิด