กระดานสุขภาพ

การตรวจหาวัณโรค
Bank*****g

25 ธันวาคม 2561 14:44:22 #1

ก่อนหน้านี้ผมอยู่ใกล้กับคุณตาครับ เช่น การพูดคุยต่อหน้า อาจจะมีลมหายโดนบ้าง อะไรบ้างตามที่คุยกันเหมือนคนทั่วไป แต่เวลาไอส่วนใหญ่แกจะอยู่คนเดียว แกไปหาหมอทุกทีหมอก็บอกว่าปอดปกติ แต่เมื่อ 2-3 วันก่อนไป รพ เพราะเวลาไอเจบหน้าอก หมอขอครวจเสมหะไปตรวจปรากฏว่า เป็นวัณโรคหมอสั่งให้มา รพ ด่วนเลย ตอนนี้นอน รพ ได้ 3 คืแ นแล้วครับ. ส่วนตัวผมเองตกใจเลย เพราะก่อนหน้านี้ไม่รู้ว่าแกเป็น ตามเหตุการณ์ดังกล่าวครับ. ดังนั้นแล้วถ้าผมอยากตรวจว่าได้รับเชื้อเข้าร่างกายหรือป่าวต้องตรวจหลังจากวันนี้ไปกี่วัน กี่สัปดาห์ กี่เดือนครับ ที่จะได้ผลว่าปลอดภัย 100% แล้วควรตรวจวิธีไหนที้ได้ผลแม่นยำที่สุดครับ และชัวที่สุดครับ
อายุ: 29 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 85 กก. ส่วนสูง: 175ซม. ดัชนีมวลกาย : 27.76 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

31 ธันวาคม 2561 05:16:21 #2

ขอตอบคำถามในเรื่องของความเสี่ยงในการติดวัณโรคนะคะ บุคคลใกล้ชิดเช่น คนในบ้านพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและเอกซเรย์ปอด ซึ่งในผู้ใหญ่ ถ้าผลเอ็กซเรย์ไม่พบความผิดปกติจะถือว่าไม่เป็นวัณโรคไม่จำเป็นต้องมีการรักษา

วัณโรค (Tuberculosis) หรือทั่วไปมักเรียกย่อว่า โรคทีบี (TB) เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Mycobacterium Tuberculosis บางครั้งเรียกว่า เอเอฟบี (AFB, acid fast bacilli) ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่การอักเสบจากเชื้อวัณโรคจะเกิดในปอดที่เรียกว่า วัณโรคปอด แต่ก็สามารถเกิดโรคที่อวัยวะอื่นได้เกือบทุกอวัยวะในร่างกายเช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง และลำ ไส้

วัณโรคเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คนทางการหายใจ โดยเชื้อวัณโรคจะแพร่จากผู้ป่วยวัณโรค ปอดไปสู่ผู้อื่นทางละอองเสมหะขนาดเล็กๆซึ่งออกมาจากการไอ จาม หรือพูด ละอองเสมหะเหล่านี้จะสามารถลอยอยู่ในอากาศได้หลายชั่วโมง และเมื่อสูดเข้าไปจะเข้าไปจนถึงถุงลมปอด แล้วเกิดการอักเสบได้ ในการไอ 1 ครั้งอาจพบมีละอองเสมหะออกมาถึง 3,000 ละอองเสมหะ

โอกาสของการแพร่เชื้อวัณโรคขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยคือ

ลักษณะของวัณโรคปอดคือ ถ้าเป็นวัณโรคปอดชนิดที่มีโพรง (เนื้อปอดเกิดเป็นโพรงซึ่งติดต่อกับหลอดลมได้ดี จึงทำให้ตรวจพบเชื้อในเสมหะได้สูง) ซึ่งมักจะตรวจพบเชื้อในเสมหะ จะมีการแพร่เชื้อวัณโรคออกทางเสมหะมาก แต่ในผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอดชนิดไม่มีโพรง (โอกาส ตรวจพบเชื้อในเสมหะลดลง) หรือผู้ป่วยที่ย้อมเสมหะไม่พบเชื้อจะมีการแพร่เชื้อน้อยกว่า และในผู้ ป่วยวัณโรคนอกปอดเช่น วัณโรคในต่อมน้ำเหลืองและวัณโรคในเยื่อหุ้มปอด จะไม่มีการแพร่เชื้อ

การอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคปอดในสภาพแวดล้อมที่ปิดทึบ การระบายอากาศไม่ดี ไม่ โดนแสงแดด โอกาสจะติดเชื้อวัณโรคจะสูงขึ้น เพราะเชื้อวัณโรคที่อยู่ในละอองเสมหะจะถูกทำ ลายได้เมื่อโดนแสงแดดและความร้อน

วัณโรคจะไม่ติดต่อทางการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือสัมผัส และในผู้ป่วยวัณโรค ปอดที่ได้รับยาวัณโรค ส่วนใหญ่จะไม่แพร่เชื้อเมื่อทานยาเกิน 2 อาทิตย์ไปแล้ว

การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ช่วยวินิจฉัยวัณโรคได้แก่

เอ็กซเรย์ปอด ลักษณะผิดปกติที่เข้าได้กับวัณโรคปอดเช่น พบการอักเสบของปอดที่ ปอดกลีบบน

การย้อมเชื้อวัณโรคจากเสมหะ ควรทำในผู้ป่วยทุกรายที่สงสัยว่าเป็นวัณโรคเพื่อช่วย ยืนยันการวินิจฉัย โดยจะเก็บเสมหะตอนเช้าหลังตื่นนอน 3 วันติดต่อกัน จะรู้ผลภายในประมาณ 30 นาที แต่มีข้อเสียคือ วิธีนี้มีโอกาสตรวจพบเชื้อวัณโรคได้เพียงประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย เท่านั้น ดังนั้นผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบเชื้อวัณโรคในเสมหะก็ยังอาจเป็นโรควัณโรคปอดได้

การเพาะเชื้อวัณโรคจากเสมหะ ข้อดีคือ วิธีนี้สามารถตรวจพบเชื้อได้สูงถึง 80 - 90% ของผู้ป่วย แต่ต้องใช้เวลาประมาณสองเดือนจึงทราบผล

อนึ่ง เมื่อมีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับวัณโรคเช่น ไอเรื้อรัง มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักลด แพทย์จะส่งทำเอ็กซเรย์ปอด ซึ่งถ้าพบลักษณะผิดปกติที่เข้าได้กับวัณโรคปอด แพทย์จะให้ผู้ ป่วยเก็บเสมหะตรวจย้อมเชื้อวัณโรค ซึ่งถ้าพบเชื้อวัณโรคก็จะวินิจฉัยได้แน่นอน แต่บางครั้งผู้ ป่วยมีอาการและเอ็กซเรย์ปอดเข้าได้กับวัณโรคแต่ย้อมไม่พบเชื้อวัณโรคในเสมหะ แพทย์อาจ ให้การวินิจฉัยและให้การรักษาแบบวัณโรคปอดได้ แต่ต้องติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

ผู้ป่วยวัณโรคควรดูแลตนเองหรือควรปฏิบัติดังนี้

1.รับประทานยาวัณโรคตามที่แพทย์แนะนำจนครบตามกำหนด เพื่อป้องกันการเกิดวัณโรคดื้อยา ถ้ามีอาการผิดปกติหลังเริ่มรับประทานยาวัณโรคเช่น มีผื่น อาเจียน ปวดข้อ ต้องรีบพบแพทย์ เพื่อทำการปรับยาและพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ

2.ในช่วงแรกของการรักษาโดยเฉพาะสองอาทิตย์แรกถือเป็นระยะแพร่เชื้อ ผู้ป่วยควรอยู่แต่ใน บ้าน โดยแยกห้องนอน นอนในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวกและแสงแดดส่องถึง ไม่ออกไปในที่ ที่มีผู้คนแออัด และต้องใส่หน้ากากอนามัยเวลาอยู่ในที่ชุมชน

3.ปิดปาก จมูก เวลาไอหรือจามทุกครั้ง

4.งดสิ่งเสพติดเช่น เหล้า บุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ (อาหารมีประ โยชน์ห้าหมู่) เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ธัญพืช ผัก และผลไม้

5.ให้บุคคลใกล้ชิดเช่น คนในบ้านพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและเอกซเรย์ปอด ซึ่งในผู้ใหญ่ ถ้าผลเอ็กซเรย์ไม่พบความผิดปกติจะถือว่าไม่เป็นวัณโรคไม่จำเป็นต้องมีการรักษา แต่ในเด็ก เล็ก ถึงแม้จะไม่มีอาการและเอ็กซเรย์ปอดปกติ จะต้องตรวจทูเบอร์คูลิน (tuberculin skin test หรือ TST) ซึ่งถ้าผลเป็นบวก แพทย์จึงจะให้การรักษาวัณโรค