กระดานสุขภาพ
ต้องฉีดยาพิษสุนัขบ้ามั้ยคะ | |
---|---|
31 กรกฎาคม 2561 11:52:53 #1 สวัสดีค่ะคุณหมอ พอดีว่าวันที่ 25 มีนาคม หนูโดนหมาที่บ้านงับจนเลือดไหล(หมาฉีดยาทุกเดือน+เลี้ยงระบบเปิด) แต่ไม่ไว้ใจ เลยไปฉีดบาดทะยักกับพิษสุนัขบ้ามาค่ะ (ฉีดเข็มแรกวันที่โดนงับเลย) แต่ไปฉีดแค่ 3เข็ม จาก5เข็มค่ะ แล้ววันนี้หนูโดนแมวที่บริษัทข่วนค่ะ(แมวไม่เคยฉีดยา+เลี้ยงระบบเปิด) แต่ไม่มีแผลถลอก ไม่มีเลือด ไม่เจ็บค่ะ แค่แดงนิดเดียวห้านาทีก็หาย ไม่เห็นรอยอะไรแล้ว แบบนี้หนูควรไปฉีดยาเพิ่มมั้ยคะ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ |
|
อายุ: 20 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 170ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.76 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
7 สิงหาคม 2561 20:18:08 #2 โรคพิษสุนัขบ้า หรือ Rabies เป็นโรคติดเชื้อไวรัสจากสัตว์สู่คน (เรียกว่า zoonosis) โดยคนถูกกัดจากสุนัขที่ติดเชื้อไวรัสนี้ โรคนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ‘โรคกลัวน้ำ’ เพราะผู้ป่วยจะมีอาการกลัวน้ำนั่นเอง โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น • สัตว์ในตระกูลสุนัข ทั้งสุนัขบ้านและสุนัขป่า (หมาป่า หมาจิ้งจอก หมาใน) • สัตว์ตระกูลแมว ทั้งแมวบ้านและแมวป่า • สัตว์ในตระกูลหนู ทั้งหนูบ้าน หนูนา หนูป่าหลายชนิด • นอกจากนี้ยังมี ค้างคาว วัว ควาย แพะ แกะ ม้า ลิง กระรอก พังพอน สกั๊ง ก็เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้เช่นกัน คนจะติดเชื้อจากสัตว์เหล่านี้ได้โดย • จากการถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัดข่วนหรือเลียผิวหนังที่มีบาดแผล โดยเชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าอยู่จะเข้าสู่ผิวหนังที่มีบาดแผล นอกจากนี้ เชื้อโรคอาจเข้าสู่ร่างกายผ่านเยื่อบุต่างๆคือ ปาก เยื่อบุตา ได้เช่นกัน • จากการหายใจเอาละอองไอน้ำที่มีเชื้อโรคอยู่ซึ่งพบได้น้อยมากมาก เช่น การเข้าไปในถ้ำที่มีค้างคาวอยู่กันเป็นล้านๆตัว หรือเจ้าหน้าที่ในห้องแลปที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสชนิดนี้ • มีรายงานว่ามีผู้ป่วยที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจากการเปลี่ยนถ่ายกระจกตาประมาณ 8 รายจากทั่วโลก และจากการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะอื่นๆประมาณ 3 ราย ซึ่งอาจเกิดจากผู้ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยในตอนแรก หลักของการรักษาโรคพิษสุนัขบ้าคือ การล้างแผล การให้สารภูมิต้านทาน เพื่อไปทำลายเชื้อ และการให้วัคซีนพิษสุนัขบ้า 1 การล้างแผล เมื่อผู้ป่วยถูกสัตว์กัดมาจะต้องรีบล้างแผลโดยเร็ว การล้างแผลด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวก็สามารถลดจำนวนเชื้อไวรัสที่บริเวณบาดแผลได้บ้าง การใช้สบู่และยาฆ่าเชื้อเช่น น้ำ ยาเบตาดีน หรือน้ำยาแอลกอฮอล์ 70% จะสามารถทำลายเชื้อได้มากขึ้น 2 การล้างแผลควรล้างให้ลึกถึงก้นแผล ทั้งนี้เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเป็นเชื้อที่ไม่ทนถูกทำลายง่ายด้วยยาฆ่าเชื้อต่างๆ รวมทั้งแสงยูวี (UV, ultraviolet light) หรือแสงแดด และอากาศที่แห้ง 3 การให้สารภูมิคุ้มกันต้านทาน เชื้อไวรัสเมื่อเข้าสู่บาดแผลจะเดินทางเข้าสู่กล้ามเนื้อ แบ่งตัวเพิ่มจำนวนและพร้อมจะเข้าสู่เส้นประสาท ในช่วงนี้เองที่การรักษาด้วยการให้สารภูมิคุ้มกันต้าน ทานจะไปทำลายเชื้อไม่ให้เข้าสู่เส้นประสาทได้ ผู้ป่วยจึงไม่เกิดเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่ถ้าให้สารภูมิคุ้มกันต้านทานช้าเกินไป รวมทั้งไม่ได้รับวัคซีนพิษสุนัขบ้าด้วย เชื้อจะเข้าสู่เส้นประสาทได้ในที่สุด ซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่เส้นประสาทได้แล้วจะไม่มียาตัวใดรักษาให้หายได้เลย ซึ่งการให้สารภูมิ คุ้มกันต้านทานสามารถให้พร้อมกับวัคซีนได้เลย โดยจะฉีดเข้าสู่รอบๆแผลที่ถูกกัด แต่ถ้าไม่มีบาดแผล เช่น โดนสัตว์เลียปากมาก็ให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 4 การให้วัคซีนพิษสุนัขบ้า เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านทาน (Antibody) ขึ้นมาทำลายเชื้อโรคเอง เนื่องจากสารภูมิคุ้มกันต้านทานที่ผู้ป่วยได้รับจะมีฤทธิ์อยู่เพียงชั่วคราว ซึ่งหลังจากฉีดวัค ซีนร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 10 - 14 วันจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาพอที่จะทำลายเชื้อโรคได้ ในการพิจารณาว่าผู้ป่วยรายใดที่ถูกสัตว์สัมผัส/กัด/ข่วน จำเป็นต้องให้สารภูมิคุ้มกันต้านทานและ/หรือวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหรือไม่นั้น ในแต่ละประเทศจะมีแนวทางการรักษาที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เพราะการควบคุมการฉีดวัคซีนในสัตว์มีความเข้มงวดต่างกัน และมีความชุกชุมของสัตว์ที่เป็นโรคไม่เท่ากัน สำหรับในประเทศไทยมีแนวทางดังนี้ 1 ถ้าสัมผัสกับสัตว์ (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดทั้งสัตว์บ้านและสัตว์ป่า) หรือถูกเลียโดยที่ผิว หนังไม่มีบาดแผลใดๆ ก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไร 2 ถ้าถูกงับเป็นรอยช้ำเล็กๆบนผิวหนัง หรือถูกข่วนเป็นรอยถลอกมีเลือดออกเพียงซิบๆ หรือถูกเลียบนผิวหนังที่มีบาดแผล ให้รีบฉีดวัคซีนทันที 3 ถ้าถูกกัดหรือข่วนที่มีเลือดออกชัดเจน หรือถูกเลียโดนเยื่อบุต่างๆ เช่น เลียตา เลียปาก ให้รีบให้สารภูมิคุ้มกันต้านทานและวัคซีนทันที แต่ในกรณีที่สัตว์ถูกเลี้ยงอย่างดีในบ้าน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี และมีเหตุจูงใจให้สัตว์กัด เช่น เหยียบสัตว์ แกล้งสัตว์ อาจยังไม่ต้องให้การรักษา โดยกักขังดูแลสัตว์จนครบ 10 วัน แต่ถ้าผิดเงื่อนไขทั้งหมดนี้เพียงอย่างเดียว ต้องทำตามแนวทางการรักษาข้างต้น ถ้าครบเงื่อนไขและสังเกตสัตว์ครบ 10 วันแล้ว สัตว์ไม่มีอาการผิดปกติอะไรหรือไม่ตาย ก็ไม่ต้องให้การรักษา ถ้าสัตว์มีอาการผิดปกติหรือตาย ต้องรีบฉีดสารภูมิตุ้มกันต้านทานพร้อมวัค ซีน และนำซากสัตว์ส่งแพทย์ตรวจด้วย การดูแลตนเองและการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่สำคัญคือ 1 ผู้ที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่ว่าจะเป็นหมา แมว กระรอก กระต่าย หนูชนิดที่เป็นสัตว์เลี้ยง ลิง ควรพาสัตว์ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าตามที่สัตวแพทย์กำหนด 2 สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ เช่น หมู วัว ควาย แพะ แกะ ม้า แม้ว่าจะพบโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เหล่านี้ได้บ้าง แต่ไม่พบมีความสำคัญในการนำโรคมาสู่คน จึงไม่จำเป็นต้องพาสัตว์ไปฉีดวัคซีน แต่ถ้าคนถูกสัตว์เหล่านี้กัด คนก็ต้องไปรับการฉีดวัคซีน 3 คนที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคสูงได้แก่ สัตวแพทย์และผู้ช่วย คนเพาะสัตว์เลี้ยงขาย ร้านขายสัตว์เลี้ยง เจ้าหน้าที่กำจัดสุนัขและแมวจรจัด เจ้าหน้าที่บ้านสงเคราะห์สัตว์พิการ เร่ร่อนต่างๆ บุรุษไปรษณีย์ คนที่ทำงานในห้องแลปที่ต้องเกี่ยวข้องกับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ควรได้ รับวัคซีนแบบป้องกันล่วงหน้า (Preexposure prophylaxis) คือให้ฉีดวัคซีนในวันที 0, 3 และ 21 หรือ 28 และให้ฉีดกระตุ้นซ้ำ 1 เข็มทุกๆ 5 ปี 4 ผู้ที่ในอดีตเคยได้รับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าครบ 5 เข็มหรืออย่างน้อย 3 เข็มแรกที่ตรงตามนัด เมื่อถูกสัตว์กัดอีกไม่จำเป็นต้องได้รับสารภูมิคุ้มกันต้านทาน แม้จะมีแผลชนิดเลือด ออก และให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นเพียง 2 เข็มภายในวันที่ 0 และ 3 โดยจะฉีดแบบเข้ากล้ามหรือเข้าผิวหนังก็ได้ แต่ถ้าฉีดเข็มสุดท้ายมายังไม่เกิน 6 เดือนอาจกระตุ้นแค่เพียง 1 เข็ม บางคำแนะนำบอกว่า ถ้าเข็มสุดท้ายเลย 5 ปีมาแล้ว ให้เริ่มต้นใหม่เหมือนคนยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน แต่สถานเสาวภาแนะนำว่า ไม่ว่าจะเคยได้รับมากี่ปีแล้วก็ตาม ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ ให้ฉีดกระตุ้นก็เพียงพอ 5 หญิงตั้งครรภ์สามารถรับวัคซีนและสารภูมิคุ้มกันต้านทานได้ ไม่มีผลข้างเคียงกับทา รกในครรภ์ |
Anonymous