กระดานสุขภาพ
เจ็บเต้านมค่ะ | |
---|---|
19 กรกฎาคม 2561 14:23:24 #1 มีอาการเจ็บเต้านม และผิวทรวงอกเหี่ยว ดำคล้ำ คล้ายผิวเปลือกส้ม เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมไหมคะ รบกวนคุณหมอตอบด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะhttp://haamor.com/media/images/webboardpics/Muoil555-44741.jpg |
|
อายุ: 25 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 65 กก. ส่วนสูง: 158ซม. ดัชนีมวลกาย : 26.04 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
21 กรกฎาคม 2561 08:00:32 #2 มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในผู้หญิง ส่วนในผู้ชายก็พบมะเร็งเต้านมได้เช่นกันแต่ไม่บ่อยนัก โดยประมาณ 90% ของมะเร็งเต้านมเกิดจากต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม จึงมีโอกาสมากที่จะพบการเกิดมะเร็งในเต้านมทั้งสองข้าง ทั้งในระยะแรกและหลังจากการตรวจวินิจฉัย อย่างไรก็ดี การตรวจพบมะเร็งในระยะแรกจะช่วยให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม อาจไม่มีอาการของมะเร็งเต้านม หรือบางครั้งอาการผิดปกติที่เป็นอาจไม่ใช่โรคมะเร็งก็ได้ ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ • มีก้อนหนาๆ ในเต้านมหรือใต้แขน • บริเวณหัวนมบุ๋ม มีน้ำเหลือง หรือมีแผล • เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม • มีอาการปวดบริเวณเต้านม ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม • อายุ ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น • มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม โดยผู้ป่วยที่เกิดมะเร็งเต้านมขึ้นที่ข้างหนึ่งมีความเสี่ยง 3-4 เท่าในการที่จะเกิดก้อนมะเร็งขึ้นที่เต้านมอีกข้าง • มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมน จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น • การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และการมีประวัติมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ในครอบครัวตั้งแต่อายุน้อย • การสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางเพศ โดยพบว่าการสัมผัสกับเอสโตรเจนเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม • ลักษณะของการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับรังสีในปริมาณสูง การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมจะทำเมื่อมีการตรวจพบก้อนผิดปกติ (ทั้งจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองหรือการเอกซเรย์) หรือพบการมีแคลเซียมเป็นจุดที่ผิดปกติจากการตรวจเอกซเรย์ ซึ่งแพทย์จะต้องทำการตรวจว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ และมีการแพร่กระจายไปที่ใดแล้วหรือไม่ ซึ่งวิธีที่วินิจฉัยได้แม่นยำคือวิธีการนำชิ้นเนื้อออกมาตรวจ แต่หากไม่สามารถตรวจด้วยวิธีนี้ได้ แพทย์จะพิจารณาการตรวจด้วยวิธีอื่น ทั้งนี้ การวินิจฉัยโรคแพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ประกอบ เช่น อายุ การใช้ยาในปัจจุบัน ประเภทของมะเร็ง ระดับความรุนแรงของอาการ และผลการตรวจสอบก่อนหน้านี้ เป็นต้น โดยวิธีการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมสามารถทำได้ดังนี้ • การตรวจทางรังสีวิทยา ◦ การใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านมเพื่อการวินิจฉัย (diagnostic mammography) ◦ การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงถ่ายภาพเต้านม (ultrasound) ◦ การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าถ่ายภาพเต้านม (MRI) • การเก็บชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา (biopsy) • การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา • การตรวจเลือด • การตรวจเพิ่มเติม ◦ การถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก ◦ การตรวจการลุกลามของมะเร็งไปยังกระดูก (bone scan) ◦ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เพื่อสร้างภาพ 3 มิติของอวัยวะต่างๆ เพื่อเพิ่มความละเอียดในการตรวจหาการลุกลามของมะเร็ง |
Muoi*****5