กระดานสุขภาพ
เกร็ดเลือดมากผิดปกติ เล็กน้อย | |
---|---|
4 กรกฎาคม 2561 10:58:15 #1 สวัสดีคะ พอดีตรวจสุขภาพประจำปีมาคะ เพิ่งได้ผลตรวจเลือด คุณหมอแจ้งว่า มีจำนวนเกร็ดเลือดสูงกว่าปกติเล็กน้อย ประมาณ สี่แสนเจ็ด คะ คุณหมอแนะนำให้ตรวจซ้ำในหนึ่งเดือน ถ้ายังสูง ควรพบแพทย์ (แนะนำมาในใบผลน่ะคะ ไม่ได้พบคุณหมอคะ จึงไม่ได้อธิบายอะไร) จึงอยากทราบว่า เกร็ดเลือด ประมาณ สี่แสนเจ็ด ถือว่าเกินกำหนดมากหรือไม่คะ มีอันตรายอะไรไหมคะ สาเหตุ เกิดจากอะไรได้บ้างคะ
ปล. โรคประจำตัว ความดันสูง เบาหวาน (คุมดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เช็คล่าสุด อยู่ที่ 124 คะ) ไขมันในเลือดสูง
ขอบคุณล่วงหน้าคะ |
|
อายุ: 32 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 54 กก. ส่วนสูง: 150ซม. ดัชนีมวลกาย : 24.00 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
8 กรกฎาคม 2561 16:29:08 #2 ในเลือดนั้นมีเม็ดเลือดสำคัญอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ 1 เม็ดเลือดแดง ที่ทำหน้าที่พาอากาศไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย 2 เม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นภูมิต้านทานโรค 3 เกล็ดเลือด ซึ่งมีประมาณ 100,000-400,000 ตัว ต่อเลือด 1 หยด หากมากกว่า 450,000 ตัว ต่อเลือด 1 หยด เรียกว่า มีภาวะเกล็ดเลือดสูง และหากเกิน 1,000,000 ตัว อาจจะเป็นอันตราย หากสูงในปริมาณน้อยๆ เช่น 450,000-1,000,000 ตัว อาจเกิดได้ในหลายภาวะ เช่น มีเลือดออกเฉียบพลัน เกล็ดเลือดจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ การติดเชื้อบางอย่าง จากการสูบบุหรี่ ภาวะหลังตัดม้ามในผู้ป่วยโรค Thalassemia หรือเป็นอาการนำของโรคความผิดปกติของไขกระดูก เป็นต้น ในกรณีที่เกล็ดเลือดสูงเกิน 1,000,000 ตัว ต่อเลือด 1 หยด จะต้องมีการรักษา กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคเกล็ดเลือดสูง เป็นโรคที่มีโอกาสเกิดในทุกคน เนื่องจากเป็นภาวะผิดปกติของร่างกายในการสร้างเกล็ดเลือด ทำให้ร่างกายสร้างเกล็ดเลือดสูงโดยไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยมักมาด้วยเกล็ดเลือดที่สูงเกิน 450,000 ตัว เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ มักจะพบเมื่อผู้ป่วยตรวจสุขภาพประจำปี ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการ มักจะมีอาการอัมพาต จากเส้นเลือดอุดต้นในสมอง เส้นเลือดอุดตันหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ เป็นต้น ขั้นตอนการตรวจและการรักษา สำหรับการดูแลผู้ป่วยภาวะเกล็ดเลือดสูงโดยไม่ทราบสาเหตุ จะต้องหาสาเหตุที่เป็นโรคร่วม โรคที่พบบ่อย คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง นำมาซึ่งภาวะเกล็ดเลือดสูง การรักษาหลัก คือ การให้แอสไพรินเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน และการให้ยาลดจำนวนเกล็ดเลือดในผู้ป่วยที่มีเกล็ดเลือดสูงกว่า 450,000 ตัวต่อเลือดหนึ่งหยดและมีความเสี่ยงสูง ต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน หรือผู้ที่มีเกล็ดเลือดเกิน 1,000,000 ตัวต่อเลือดหนึ่งหยด เมื่อตรวจพบความผิดปกติดังกล่าว แพทย์จะตรวจไขกระดูกของผู้ป่วย และ ตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติในระดับยีนส์ รวมทั้งโรคอื่นๆที่พบร่วม และให้การรักษาเพื่อลดเกล็ดเลือดในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย |
Anonymous