กระดานสุขภาพ

กดเจ็บบริเวณชายโครงใต้ราวนมซ้าย
Don_*****e

12 มีนาคม 2561 08:25:49 #1

เวลาเอี้ยวตัวจะเจ็บมาก ทานDiclofenac 1*3 pc. มา1 สัปดาห์ อาการทุเลา แต่เมื่อหยุดยาได้ 1 วัน ก็เจ็บแปลบขึ้นมาอีกคะ ขอคำแนะนำคะ

อายุ: 51 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 53 กก. ส่วนสูง: 153ซม. ดัชนีมวลกาย : 22.64 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

18 มีนาคม 2561 05:21:01 #2

จากประวัติ มีอาการปวด เมื่อขยับร่างก่ย ตอบสนองต่อยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ จึงคิดถึงการปวดจากกล้ามเนื้อมากสุดค่ะ
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูกตามส่วนต่างๆของร่างกายทั่วตัว มีสาเหตุได้หลาก หลาย ที่พบบ่อยและควรทราบ คือ

  • Myofascial pain syndrome (MPS) หรือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพัง ผืด (กลุ่มอาการเอมพีเอส)
  • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและเนื้อ เยื่ออ่อนทั่วร่างกาย
  • กลุ่มอาการความล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome) หรืออาการอ่อนเพลีย อ่อนล้าของร่างกายเรื้อรัง
  • Polymyalgia rheumatic (PMR) หรือ โรค/ภาวะอักเสบเรื้อรังของกล้ามเนื้อและเนื้อ เยื่อพังผืดทั่วร่างกาย
  • Muscle weakness หรือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง

อาการปวดเมื่อยฯในแต่ละสาเหตุนั้น มีลักษณะดังนี้

กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด (กลุ่มอาการเอมพีเอส Myofascial pain syndrome/MPS) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก และพบร่วมกับกลุ่มอาการปวดอื่นๆได้บ่อย โดยมีอาการปวดตื้อๆ ลึกๆ ปวดร้าวไปบริเวณข้างเคียง บางครั้งปวดพอรำคาญ บางครั้งปวดรุนแรงมากจนเคลื่อนไหวลำบาก มีจุดกดเจ็บหรือจุดที่ไวต่อการกระตุ้น (Trigger point) อยู่ในกล้าม เนื้อหรือในเนื้อเยื่อพังผืด ปวดมากหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังใช้กล้ามเนื้อนั้นเป็นระยะเวลา นานอย่างต่อเนื่อง

ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง พบในวัยทำงานมากกว่าวัยอื่นๆ พบบ่อยในกลุ่มพนักงานสำนักงาน (Office) กลุ่มผู้ใช้แรงงาน โดยอาการจะเป็นมากขึ้นถ้ามีการใช้งานกล้าม เนื้อหนักอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และใช้งานในท่าที่ไม่เหมาะสม

สาเหตุของการเกิดโรคนี้ เกิดจากการที่กล้ามเนื้อนั้นมีการทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง เกิดการสะสมของของเสียในกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวและขาดออกซิเจน จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยอาการอาจไม่รุนแรง แค่พอรำคาญ หรือรุนแรงจนส่งผลต่อการเคลื่อนไหว

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและเนื้อเยื่ออ่อนทั่วร่างกาย ลักษณะสำคัญ คือ อาการปวดจะรุนแรงเมื่อกระตุ้นโดยสิ่งเร้า ซึ่งในคนปกติจะไม่ปวด (Allodynia) เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม เป็นต้น หรือ อาการปวดทั้งตัว คล้ายกล้ามเนื้อถูกดึงหรือตึงเหมือนทำงานอย่างหนัก ปวดทุกกล้ามเนื้อ คล้ายหมดแรง นอนหลับตื่นขึ้นมาไม่สดชื่น ปวดตึงพังผืดตามข้อต่อต่างๆในช่วงเช้า

พบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย พบบ่อยในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ โดยสาเหตุยังไม่ทราบแน่นอน สันนิษฐานว่า เกิดจากปัจจัยร่วมทาง จิตใจ ร่างกาย และสิ่งแวดล้อม เพราะผู้ป่วยบางรายจะมีอาการหลังจากมีเหตุการณ์กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น ติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือหลังไม่สบายจากเหตุอื่นๆ ร่วมกับผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีภาวะทางจิตใจผิดปกติ เช่น วิตกกังวล ซึม เศร้า มีความผิดปกติของการนอน (นอนไม่หลับ) มีการรับรู้ความเจ็บปวดที่ผิดไป คือ มีความรู้ สึกไวเกิน (Hyperesthesia) เช่น ต่อการสัมผัสเบาๆ มีความเครียด การพักผ่อนไม่พอ นอนไม่หลับ อดนอน และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว เช่น อุณหภูมิ จะกระตุ้นทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้น

กลุ่มอาการความล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome) หรืออาการอ่อนเพลีย อ่อนล้าของร่างกายเรื้อรัง ลักษณะสำคัญคือ ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหมือนมีไข้ต่ำๆ มักมีอาการหลังจากทำงานหนักต่อเนื่อง และพักผ่อนไม่พอ หรือมีโรคทางกายอื่นๆร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ หรือโรคมะเร็ง อาการอ่อนเพลียจะมากขึ้นถ้าโรคที่ผู้ป่วยเป็นนั้นมีอาการรุนแรงขึ้น หรือไม่สามารถควบคุมอาการได้ ร่วมทั้งมีความเครียด วิตกกัง วล นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่พอเป็นต้น

กลุ่มอาการนี้พบในผู้หญิงบ่อยกว่าในผู้ชาย มักพบในช่วงวัยหนุ่มสาวจนถึงวัยกลางคน

Polymyalgia rheumatic (PMR) หรือ โรค/ภาวะอักเสบเรื้อรังของกล้ามเนื้อและเนื้อ เยื่อพังผืดทั่วร่างกาย มีลักษณะสำคัญ คือ อาการปวดกล้ามเนื้อคล้ายกล้ามเนื้อหดตึงบริเวณไหล่ สะโพก และกล้ามเนื้อคอ และอาจปวดร้าวไปที่ข้อศอก ข้อเข่า และกล้ามเนื้อยึดข้อคล้ายยึดติดช่วงเช้าหลังตื่นนอน ร่วมกับอาการอ่อนเพลีย ไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

ภาวะนี้พบบ่อยในผู้สูงอายุ ผู้มีความเครียด ความกังวล การพักผ่อนไม่เพียงพอ และอาจมีภาวะติดเชื้อบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นให้มีอาการได้ง่ายและรุนแรงขึ้น

กลไกการเกิดโรคนี้ที่แน่ชัดยังไม่ทราบ สันนิษฐานว่า อาจมีปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยพบผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กับการตรวจพบยีน/จีน ผิดปกติที่เรียก ว่า HLA-DRB1

โรคนี้พบบ่อยในบางประเทศและบางภูมิภาค เช่น สแกนดิเนเวีย (Scandinavia) พบบ่อยในฤดูร้อนมากกว่าฤดูหนาว และอาจพบร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่ทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ คือ Mycoplasma pneumonia และ Chlamydia pneumonia และไว รัสบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคไข้ขึ้นผื่น คือ Parvovirus B19 บางการศึกษาพบมีความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อร่วมด้วย เช่น มีความผิดปกติของฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol ฮอร์โมนเกี่ยว กับความเครียดของร่างกาย) และฮอร์โมนอีกหลายชนิด

Muscle weakness หรือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลักษณะสำคัญคือ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนต้นแขน ต้นขา ถ้ามีอาการอ่อนแรงไม่มาก จะรู้สึกเมื่อยล้า และอาจมีอา การปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย กรณีที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อร่วมด้วย เช่น โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Polymyositis) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี (Myasthenia gravis) หรือ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเหตุเกลือแร่โปตัสเซียม (Potassium) ต่ำที่เรียกว่า ภาวะ Hypokalemic periodic paralysis ทั้งนี้ผู้ที่มีโอกาสมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง จะขึ้นกับแต่ละโรคนั้นๆที่ผู้ป่วยเป็น

การใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาเมื่อมีอาการปวดนั้น เป็นเพียงแค่การรักษาตามอาการเท่า นั้น ไม่ได้รักษาสาเหตุของโรค และถ้าใช้ยาแก้ปวดไม่เหมาะสม ก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงของยาได้ เช่น แผลในกระเพาะอาการ โรคไต หรือการแพ้ยา

กรณีมีอาการปวดเมื่อยที่พอทนได้ ไม่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว หรือต่อการทำงาน แนะนำให้ใช้การบีบนวด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การปรับท่าทางในการทำงานให้เหมาะสม และพักผ่อนให้เพียงพอ มากกว่าใช้ยาแก้ปวด

แต่ถ้าอาการปวดนั้นรุนแรงมาก และเป็นขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว และ/หรือต่อการทำงาน อาจทานยาแก้ปวด ได้แก่ ยาพาราเซตามอล หรือ กลุ่มยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS เอ็นเสดส์) ได้ เพื่อบรรเทาอาการปวด และถ้าจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำ ควรพบแพทย์เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยโรค ทั้งนี้ การซื้อยากินเอง ควรปรึกษาเภ สัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ