กระดานสุขภาพ

โดนกระต่ายกัด
Anonymous

17 มกราคม 2561 11:42:40 #1

คือว่าเปิดกรงจะให้อาหารกระต่าย แล้วกระต่ายก็วิ่งออกนอกกรง ก็เลยจับน้องเข้ากรงเหมือนเดิม แล้วพอจะให้อาหาร กระต่ายก็กัดมือ กัดค้างไว้แถมเอาขาถีบอีกสักพักถึงจะปล่อย อยากทราบว่าต้องไปหาหมอฉีดยาหรือกินยาอะไรรึป่าวคะ จะเป็นอะไรรึป่าว เพราะโดนสัตว์กัด

http://haamor.com/media/images/webboardpics/da573-41200.jpg

อายุ: 22 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 64 กก. ส่วนสูง: 156ซม. ดัชนีมวลกาย : 26.30 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

18 มกราคม 2561 19:50:11 #2

โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น

  • สัตว์ในตระกูลสุนัข ทั้งสุนัขบ้านและสุนัขป่า (หมาป่า หมาจิ้งจอก หมาใน)
  • สัตว์ตระกูลแมว ทั้งแมวบ้านและแมวป่า
  • สัตว์ในตระกูลหนู ทั้งหนูบ้าน หนูนา หนูป่าหลายชนิด
  • นอกจากนี้ยังมี กระต่าย ค้างคาว วัว ควาย แพะ แกะ ม้า ลิง กระรอก พังพอน สกั๊ง ก็เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้เช่นกัน

ในประเทศที่พัฒนาแล้วแทบไม่พบว่าสุนัขและสัตว์เลี้ยงในบ้านชนิดอื่นๆเป็นสาเหตุของโรค เนื่องจากมีการควบคุมการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยงอย่างเข้มงวด ไม่มีสัตว์จรจัด สัตว์ที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ (มากกว่า 90%) จึงเป็นสัตว์ป่า เช่น แรคคูน สกั๊ง สุนัขจิ้งจอก และที่สำคัญคือค้างคาว ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย สุนัขยังคงเป็นสาเหตุที่สำคัญ โดย 96% ของผู้ป่วยไทยติดเชื้อมาจากสุนัขอีก 3 - 4 % มาจากแมว

คนจะติดเชื้อจากสัตว์เหล่านี้ได้โดย

  • จากการถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัดข่วนหรือเลียผิวหนังที่มีบาดแผล โดยเชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าอยู่จะเข้าสู่ผิวหนังที่มีบาดแผล นอกจากนี้ เชื้อโรคอาจเข้าสู่ร่างกายผ่านเยื่อบุต่างๆคือ ปาก เยื่อบุตา ได้เช่นกัน
  • จากการหายใจเอาละอองไอน้ำที่มีเชื้อโรคอยู่ซึ่งพบได้น้อยมากมาก เช่น การเข้าไปในถ้ำที่มีค้างคาวอยู่กันเป็นล้านๆตัว หรือเจ้าหน้าที่ในห้องแลปที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสชนิดนี้
  • มีรายงานว่ามีผู้ป่วยที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจากการเปลี่ยนถ่ายกระจกตาประมาณ 8 รายจากทั่วโลก และจากการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะอื่นๆประมาณ 3 ราย ซึ่งอาจเกิดจากผู้ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยในตอนแรก

หลักของการรักษาโรคพิษสุนัขบ้าคือ การล้างแผล การให้สารภูมิต้านทาน เพื่อไปทำลายเชื้อ และการให้วัคซีนพิษสุนัขบ้า

1.การล้างแผล เมื่อผู้ป่วยถูกสัตว์กัดมาจะต้องรีบล้างแผลโดยเร็ว การล้างแผลด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวก็สามารถลดจำนวนเชื้อไวรัสที่บริเวณบาดแผลได้บ้าง การใช้สบู่และยาฆ่าเชื้อเช่น น้ำ ยาเบตาดีน หรือน้ำยาแอลกอฮอล์ 70% จะสามารถทำลายเชื้อได้มากขึ้น

การล้างแผลควรล้างให้ลึกถึงก้นแผล ทั้งนี้เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเป็นเชื้อที่ไม่ทนถูกทำลายง่ายด้วยยาฆ่าเชื้อต่างๆ รวมทั้งแสงยูวี (UV, ultraviolet light) หรือแสงแดด และอากาศที่แห้ง

ขนาดของบาดแผล จำนวนของบาดแผล และตำแหน่งของบาดแผล สัมพันธ์กับการเกิดโรค ถ้าแผลยิ่งอยู่ใกล้สมองเท่าไหร่ ระยะฟักตัวก็จะยิ่งสั้น แผลจำนวนยิ่งมากหรือขนาดแผลยิ่งใหญ่ ก็ยิ่งมีโอกาสได้รับเชื้อมากเท่านั้น

2.การให้สารภูมิคุ้มกันต้านทาน เชื้อไวรัสเมื่อเข้าสู่บาดแผลจะเดินทางเข้าสู่กล้ามเนื้อ แบ่งตัวเพิ่มจำนวนและพร้อมจะเข้าสู่เส้นประสาท ในช่วงนี้เองที่การรักษาด้วยการให้สารภูมิคุ้มกันต้าน ทานจะไปทำลายเชื้อไม่ให้เข้าสู่เส้นประสาทได้ ผู้ป่วยจึงไม่เกิดเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่ถ้าให้สารภูมิคุ้มกันต้านทานช้าเกินไป รวมทั้งไม่ได้รับวัคซีนพิษสุนัขบ้าด้วย เชื้อจะเข้าสู่เส้นประสาทได้ในที่สุด ซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่เส้นประสาทได้แล้วจะไม่มียาตัวใดรักษาให้หายได้เลย ซึ่งการให้สารภูมิ คุ้มกันต้านทานสามารถให้พร้อมกับวัคซีนได้เลย โดยจะฉีดเข้าสู่รอบๆแผลที่ถูกกัด แต่ถ้าไม่มีบาดแผล เช่น โดนสัตว์เลียปากมาก็ให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

การให้วัคซีนพิษสุนัขบ้า เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านทาน (Antibody) ขึ้นมาทำลายเชื้อโรคเอง เนื่องจากสารภูมิคุ้มกันต้านทานที่ผู้ป่วยได้รับจะมีฤทธิ์อยู่เพียงชั่วคราว ซึ่งหลังจากฉีดวัค ซีนร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 10 - 14 วันจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาพอที่จะทำลายเชื้อโรคได้

อนึ่ง ในการพิจารณาว่าผู้ป่วยรายใดที่ถูกสัตว์สัมผัส/กัด/ข่วน จำเป็นต้องให้สารภูมิคุ้มกันต้านทานและ/หรือวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าหรือไม่นั้น ในแต่ละประเทศจะมีแนวทางการรักษาที่ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เพราะการควบคุมการฉีดวัคซีนในสัตว์มีความเข้มงวดต่างกัน และมีความชุกชุมของสัตว์ที่เป็นโรคไม่เท่ากัน สำหรับในประเทศไทยมีแนวทางดังนี้

  • 1.ถ้าสัมผัสกับสัตว์ (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดทั้งสัตว์บ้านและสัตว์ป่า) หรือถูกเลียโดยที่ผิว หนังไม่มีบาดแผลใดๆ ก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไร
  • 2.ถ้าถูกงับเป็นรอยช้ำเล็กๆบนผิวหนัง หรือถูกข่วนเป็นรอยถลอกมีเลือดออกเพียงซิบๆ หรือถูกเลียบนผิวหนังที่มีบาดแผล ให้รีบฉีดวัคซีนทันที
  • 3.ถ้าถูกกัดหรือข่วนที่มีเลือดออกชัดเจน หรือถูกเลียโดนเยื่อบุต่างๆ เช่น เลียตา เลียปาก ให้รีบให้สารภูมิคุ้มกันต้านทานและวัคซีนทันที

แต่ในกรณีที่สัตว์ถูกเลี้ยงอย่างดีในบ้าน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี และมีเหตุจูงใจให้สัตว์กัดเช่น เหยียบสัตว์ แกล้งสัตว์ อาจยังไม่ต้องให้การรักษา โดยกักขังดูแลสัตว์จนครบ 10 วัน แต่ถ้าผิดเงื่อนไขทั้งหมดนี้เพียงอย่างเดียว ต้องทำตามแนวทางการรักษาข้างต้น ถ้าครบเงื่อนไขและสังเกตสัตว์ครบ 10 วันแล้ว สัตว์ไม่มีอาการผิดปกติอะไรหรือไม่ตาย ก็ไม่ต้องให้การรักษา ถ้าสัตว์มีอาการผิดปกติหรือตาย ต้องรีบฉีดสารภูมิตุ้มกันต้านทานพร้อมวัค ซีน และนำซากสัตว์ส่งแพทย์ตรวจด้วย

องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้สูตรการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าในผู้ป่วยภายหลังสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคหรือสงสัยเป็นโรค(เรียกว่า Post exposure prophylaxis) เพียง 4 สูตร แต่ในประ เทศไทยกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ใช้เพียง 2 สูตร เท่านั้นคือ

  • 1.การฉีดเข้ากล้ามเนื้อแบบวิธีมาตรฐาน (แบบ ESSEN) คือให้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขนในผู้ใหญ่ หรือที่ต้นขาในเด็กเล็ก โดยกำหนดให้ฉีดในวันที่ 0 (วันแรกที่มาฉีดวัคซีน) 3, 7, 14 และ 28 หรือ 30
  • 2.การฉีดเข้าผิวหนังตามสภากาชาดไทย (Thai Red Cross-ID) คือให้ฉีดเข้าในผิว หนัง 2 จุดที่บริเวณต้นแขนทั้ง 2 ข้าง ในวันที่ 0, 3, 7 และฉีด 1 จุดในวันที่ 28 และ 90 หรือฉีด 2 จุดในวันที่ 28 ซึ่งปริมาณวัคซีนที่ใช้ฉีดจะน้อยกว่าแบบที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จึงประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า