กระดานสุขภาพ
ท้องอืดมาก | |
---|---|
3 มกราคม 2561 10:37:39 #1 มีอาการท้องอืดมา 1 เดือนแล้วคะ เริ่มจากช่วงอ่านหนังสือสอบ เวลาอ่านจะอ่านออกเสียง นอนดึกประมาณ 0.00-01.00 ครั้งแรกคืออาการหน่วงๆท้องด้านขวาล่าง บางทีก็ท้องน้อยด้านขวา หน่วงเบาๆ แต่ไม่ได้สนใจอะไร แล้วท้องก็เริ่มอืดๆ ท้องอืดทุกวันและทั้งวันคะ คือจะมีลมในท้องตลอด แต่ถ้าตอนไหนกินข้าว ยังไม่ทันหมดก็จะลมจีขึ้นเรอมากเลยคะ บางทีกินแต่น้ำเปล่าก็เรอ กินยาแอเอ้กพอกลืนไปก็เรอออก คือกินอะไรก็เรอคะ แล้วมีล่วงนึงคันคะคันทั้งตัวเลย แต่เป็น 3-4 วันก็หายไปคะ ไม่แน่ใจมาจากสบู่รึเปล่าเพราะพึ่งเปลี่ยนมาใช้ วันนี้ไปหาหมอที่รพ. แต่ตรวตแบบไวสุดๆคะแล้วให้ยาพวกโรคกระเพาะมากินก่อน ตอนแรกถามหมอแล้วว่าท้องอืดเป็นเดือนเลยนะคะ ตรวจอะไรหน่อยมั้ย กดท้องดูก้ได้ แต่หมอเค้าบอกยาก็พอ เราก็เศร้าเลยคะ ไม่ได้ตรวจท้องเลย แล้วหมอมาเปิดตาดูบอกไม่เหลืองคะ แล้วตอนนี้ฉี่เหลืองแปลกๆด้วยคะ กังวลมากเลยอาการนี่ร้ายแรงมั้ยคะ กลัวเป็นโรคตับ หมอนัดดูอาการอีก 2 อาทิตย์ ควรรอไปก่อนหรือไปหาหมอที่ใหม่ดีคะ เพราะถ้ารอก็เดือนครึ่งเกือบ 2 เดือนเลยที่เป็น |
|
อายุ: 20 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 47 กก. ส่วนสูง: 155ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.56 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
5 มกราคม 2561 18:19:44 #2 แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุอาการปวดท้องได้จาก ประวัติลักษณะอาการปวด ตำแหน่งที่เกิดอาการ อาการร่วมอื่นๆ ร่วมกับ การตรวจร่างกายและอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) เพื่อดูการอักเสบติดเชื้อแบคทีเรีย การตรวจภาพช่องท้องด้วยเอกซเรย์ธรรมดา หรือ อัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การส่องกล้องตรวจอวัยวะในช่องท้องและอาจมีการตัดชิ้นเนื้อจากเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ เพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา วินิจฉัยจากลักษณะอาการปวดท้อง เช่น
ตำแหน่งที่ปวดท้อง คือ โดยทั่วไปมักแบ่งตำแหน่งของช่องท้องได้เป็น 7 ส่วน คือ เมื่อใช้สะดือเป็นจุดศูนย์กลาง จะแบ่งช่องท้องเป็น ช่องท้องส่วนบน(ส่วนอยู่เหนือสะดือ) และช่องท้องส่วนล่าง (ส่วนอยู่ต่ำกว่าสะดือ) ซึ่งเมื่อร่วมกับการแบ่งช่องท้องตามยาว จากเส้นสมมุติกลางลำตัว ที่จะแบ่งช่องท้องเป็นซีกซ้าย และซีกขวา ดังนั้นเมื่อร่วมการแบ่งด้วยสะดือ และเส้นแบ่งกลางลำตัวเข้าด้วยกัน ช่องท้องจะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนด้านซ้ายตอนบน ส่วนด้านซ้ายตอนล่าง ส่วนด้านขวาตอนบน และส่วนด้านขวาตอนล่าง และเพิ่มอีก 3 ส่วน คือ ส่วน หรือ บริเวณ ใต้ลิ้นปี่ หรือ ยอดอก(Epigastrium) บริเวณรอบสะดือ และบริเวณเหนือกระดูกหัวหน่าว(กระดูกตรงกลางด้านหน้า และอยู่ล่างสุดชองช่องท้อง) ซึ่งเมื่อมีอาการปวดท้องในตำแหน่งเหล่านี้ มักเป็นตัวชี้นำว่า น่ามีโรคของอวัยวะต่างๆที่อยู่ในตำแหน่งเหล่านี้
อาการร่วมอื่นๆ อาการปวดท้องอาจเกิดร่วมกับอาการอื่นๆได้ ที่พบบ่อย คือ
|
Anonymous