กระดานสุขภาพ

ตรวจไม่พบไทรอย แต่เหนื่อยง่ายเบื่ออาหารผอมมาก
Y4n5*****5

24 ธันวาคม 2560 03:31:30 #1

สวัสดีค่ะคุณหมอ หนูเหนื่อยง่ายมากเลยค่ะ ง่วงตลอดเวลาเลยค่ะ แถมยังผอมมากๆด้วย ทานอะไรก็ไม่อ้วน แถมยังเบื่ออาหารด้วยค่ะ ไปเจาะเลือดตรวจไทรอย ที่โรงพยาบาลก็บอกว่า ไทรอยปกติ คือหนูงงมากเลยค่ะว่าหนูเป็นอะไร กรือเป็นเพราะฉีดยาคุมกำเนิดรึป่าวค่ะถึงมีอาการแบบนี้ค่ะ หนูเพิ่งฉีดไปเมื่ออาทิตย์ก่อนนี้เองค่ะ ปจด.ไม่มา 3 เดือนกว่าแล้วค่ะ หรือหนูต้องถ่ายพยาธิค่ะ เกินมา 18 ปีแล้วไม่เคยถ่ายพยาธิเลยค่ะ ชอบกินแต่ของหมักๆดิบ ปูปลาร้า ของดอง อะไรแบบนี้ คุณหมอช่วยตอบทีน่ะค่ะ ส่าหนูอาจจะเป็นอะไร ขอบคุณค่ะ
อายุ: 18 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 40 กก. ส่วนสูง: 157ซม. ดัชนีมวลกาย : 16.23 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Y4n5*****5

24 ธันวาคม 2560 03:39:06 #2

ขอเสริมอีกนิดน่ะค่ะ คือหนูเป็นไซนัสด้วยค่ะ และก็เจ็บคอเป็นหายๆ รูสึกไม่ค่อยสบายคอากเท่าไหร่ ซื้อยาอม มาอมไว้ในปากช่วงนึงก็หายไป และก็มาเป็นค่ะคุณหมอ
Y4n5*****5

24 ธันวาคม 2560 03:39:25 #3

ขอเสริมอีกนิดน่ะค่ะ คือหนูเป็นไซนัสด้วยค่ะ และก็เจ็บคอเป็นหายๆ รูสึกไม่ค่อยสบายคอากเท่าไหร่ ซื้อยาอม มาอมไว้ในปากช่วงนึงก็หายไป และก็มาเป็นค่ะคุณหมอ
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

26 ธันวาคม 2560 18:06:51 #4

1.อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง (Tiredness หรือ Exhaustion หรือ Fatigue) เป็นอาการที่มีสาเหตุได้หลากหลาย ทั้งจากโรคหรือภาวะทางกายและจากปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ

จากโรคทางร่างกายเช่น โรคติดเชื้อต่างๆ (เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไวรัสตับอักเสบ) โรคเรื้อรังต่างๆ (เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง โรคหัวใจวาย และโรคทางปอด เช่น โรคถุงลมโป่งพอง) ภาวะซีด ภาวะเหนื่อยล้า และภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน


จากปัญหาทางอารมณ์/จิตใจเช่น เครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรงมักเกิดร่วมกับอาการต่างๆทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุเช่น มีไข้ หอบ หายใจลำบาก บวม ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ เบื่ออาหาร เป็นต้น

เมื่อมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง จนส่งผลกระทบต่อการงานและการใช้ชีวิตประ จำวัน ควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุ

ดังนั้นโดยเบื้องต้นยังไม่สามารถวินิจฉัยโรคให้ได้ค่ะ เนื่องจากต้องซักประวัติ ตรวจร่างกายเพิ่มเติมค่ะ

2. การอักเสบติดเชื้อของไซนัส/โพรงอากาศข้างจมูก ถ้าเกิดขึ้นและรักษาได้หายภายในระ ยะเวลา 3 เดือน เรียกว่า การอักเสบเฉียบพลัน แต่ถ้ามีการอักเสบเรื้อรังนานเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป เรียกว่า ไซนัสอักเสบเรื้อรัง

หลักในการรักษาไซนัส/โพรงอากาศข้างจมูกอักเสบเรื้อรัง มี 3 ประการ คือ

1. รักษาการติดเชื้อ

2. ทำให้การระบายของโพรงอากาศดีขึ้น

3. รักษาโรคหรือสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง

แต่ในทางปฏิบัติ อาจแบ่งการรักษาออกเป็น 2 วิธี คือ การรักษาแบบอนุรักษ์ และการรักษาแบบถอนรากถอนโคน

ก.การรักษาแบบอนุรักษ์ (Conservative treatment) คือการรักษาด้วยยา และอาจใช้หัตถการเล็กน้อย/การผ่าตัดเล็กร่วมด้วย มักใช้ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบระยะเฉียบพลัน หรือรายที่เป็นเรื้อรัง แต่ไซนัสยังไม่บาดเจ็บเสียหายมาก จึงอาจฟื้นกลับคืนเป็นปกติได้ การรักษาประกอบด้วย

1.การรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ/ยาปฏิชีวนะ เช่น

- กลุ่ม Penicillin และ Cephalosporin เช่น Amoxycillin, Amoxycillin + clavulanate

- กลุ่ม Macrolide เช่น Erythromycin, Clindamycin

- กลุ่ม Tetracycline เช่น Doxycycline

- กลุ่ม Sulfonamide เช่น Trimethoprim + Sulfamethoxazole

- กลุ่ม Quinolone ไม่ควรใช้ในเด็ก และในแม่ที่กำลังให้นมบุตร

อนึ่ง ในการให้ยาต้านจุลชีพต้องให้ขนาดสูงพอและให้ต่อเนื่องกันนานพอที่จะทำให้เชื้อโรคถูกกำจัดหมดไป โดยทั่วไปให้นานประมาณ 3-4 สัปดาห์

2. ยาลดบวม แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

-ยาหดหลอดเลือด ได้แก่ ยาในกลุ่ม Decongestants ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อลดบวม มีทั้งชนิด กิน พ่น และหยอดจมูก มีข้อเสียคือ ถ้าใช้ต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์ เนื้อเยื่อจะกลับ มาบวมอีกได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้พ่น ในรายไซนัสอักเสบเฉียบพลัน แนะนำให้ใช้ยาพ่นใน 2-3 วันแรกเท่านั้น

-ยาต้านการอักเสบ (Antiinflammatory agents) เช่น เอนไซม์ (Enzymes) ชนิดต่างๆ ชนิดกิน เช่น Alpha Chymotrypsin, Papase และ Lysozyme มีฤทธิ์ลดการบวมรวมทั้งช่วยในการละลายมูกหนองหรือเสมหะให้เหลว, และยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (Corticosteroids) โดยเฉพาะในรูปแบบของยาเฉพาะที่ เพราะเชื่อว่าช่วยลดการบวมอักเสบของเยื่อบุได้เร็วโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงของยาและการติดเชื้อ เพื่อให้การบวมอักเสบของเยื่อบุลดลงทำให้ร่างกายขับของเสียโดยใช้การขนส่งทาง Mucocillia ได้ตามปกติซึ่งทำให้อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพ

3. ยาละลายมูก มีฤทธิ์ละลายมูกโดยตรง เช่น Bromhexine, และ Ambroxol hydro chloride เชื่อว่านอกจากจะช่วยละลายมูกและหนองให้ไหลออกง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยให้การหลั่งมูกลดลงจนเป็นปกติด้วย

4. ยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)

5. ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) ใช้ในรายที่มีโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้อยู่ด้วยเท่า นั้น เพราะการให้ยาต้านฮิสตามีน อาจมีผลเสีย คือทำให้น้ำมูกแห้งเหนียว จนทำให้เซลล์ขนทำ งานไม่มีประสิทธิภาพ

6. การผ่าตัดเล็ก มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ

- ช่วยแก้ไขการอุดตัน เพื่อให้การถ่ายเทอากาศและของเสียจากไซนัสเข้าสู่โพรงจมูกดีขึ้น และช่วยล้างหนองในไซนัส ได้แก่ การเจาะล้าง การผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นจมูกที่คด การผ่าตัดริดสีดวงจมูก การผ่าตัดเอากระดูกจมูกที่โตมากออกบางส่วน เป็นต้น

- ช่วยแก้ไขแหล่งติดเชื้อ เช่น การถอนฟันที่ผุ การผ่าตัดต่อมทอนซิล และ/หรือต่อมอะดีนอยด์ที่อักเสบเรื้อรัง

*****หมายเหตุ การใช้ยาทุกชนิดในการรักษาโรคไซนัสอักเสบ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ ควรต้องเป็นการรักษาจากแพทย์เท่านั้น เพื่อการได้ชนิดยา ปริมาณยา วิธีใช้ยา และระยะเวลาใช้ยาที่เหมาะสมกับโรค เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา

ข. การรักษาแบบถอนรากถอนโคน (Radical treatment) คือการผ่าตัดเปิดเข้าไปในไซนัสที่อักเสบเรื้อรังนั้น ถ้าพบพยาธิสภาพ เช่น เยื่อบุหนามาก มีหนองขัง มีการบวมจนเกิดเป็นริดสีดวงขึ้น หรือเกิดการอุดตันของต่อมสร้างน้ำมูกเกิดเป็นถุงเมือกต่างๆ เช่น Mucocele ต้องผ่าตัดเอาออกทั้งหมด และขยายรูเปิดของไซนัสให้กว้างขึ้น ซึ่งการผ่าตัดมีหลายเทคนิค ทั้งการผ่าตัดโดยไม่ใช้กล้อง และการผ่าตัดผ่านกล้อง ทั้งนี้การจะใช้เทคนิคใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์