กระดานสุขภาพ

sle
N_Nu*****n

23 พฤศจิกายน 2560 02:19:30 #1

กรณีนี้คือเป็น sle แล้วใช่หรือไม่ค่ะ แล้วเป็นถึงขั้นไหนแล้วค่ะ พอดีไปตรวจแต่ทางแล็ปที่ไปตรวจไม่ได้อธิบายให้ฟังค่ะ บอกแค่ว่าให้ไปรกษา อยากทราบค่าแต่ละค่าที่เขาแจ้งมาอ่ะค่ะ

ANA:ANF,FANA;Serum

ANA:ANF,FANA      Positive

Nucleolas pattern    1:80

Anticytoplasmic antibody  Positive 1:320

#ขอบคุณค่ะ

อายุ: 25 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 47 กก. ส่วนสูง: 162ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.91 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

24 พฤศจิกายน 2560 10:14:44 #2

จากผลทางห้องปฏิบัติการอย่างเดียว ไม่สามารถนำมาวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ค่ะ ต้องพบแพทย์ซักประวัติอาการ และตรวจเพิ่มเติมต่างๆค่ะ ดังนั้นแนะนำให้พบแพทย์นะคะ ในส่วนของโรค SLE หมอขอแนะนำดังนี้ค่ะ

โรคลูปัส หรือ โรคเอสแอลอี หรือ โรคพุ่มพวง (Lupus หรือ SLE หรือ Systemic lupus erythematosus) คือ โรคภูมิแพ้ตนเอง หรือ โรคภูมิต้านตนเอง (Autoimmune disease) ชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ร่างกายสร้างสารภูมิคุ้มกันต้านทาน หรืออิมมูน (Immune) ผิดปกติ โดยต้านเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆได้กับทุกเนื้อเยื่อ/อวัยวะ เป็นผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง (ชนิดไม่ใช่จากการติดเชื้อ) ของเนื้อเยื่อ/อวัยวะได้ทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งที่ก่อให้เกิดอาการได้บ่อย คือ การอักเสบของ ผิวหนัง ข้อ กล้ามเนื้อ ปอด หัวใจ ไต ระบบเลือด/โลหิต/ไขกระดูก และระบบประสาท ทั้งนี้ โรคลูปัส/เอสแอลอี จัดเป็นโรคเรื้อรังโรคหนึ่ง

ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่า อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานผิด ปกติ แต่จากการศึกษาเชื่อว่า น่ามาจากการผิดปกติจากพันธุกรรม โดยน่าเกิดจากความผิดปกติของจีน/ยีน (Gene) หลายๆจีน ซึ่งมีทั้งชนิดถ่ายทอด/ได้ และชนิดไม่ถ่ายทอด
นอกจากนั้น ยังมีตัวเสริม/ปัจจัยเสี่ยง เช่น

  • เพศ เพราะพบโรคได้สูงในผู้หญิง
  • การติดเชื้อบางชนิดทั้งจากแบคทีเรีย และไวรัส บางชนิด
  • การถูกแสงแดดจัดเรื้อรัง
  • การแพ้สิ่งต่างๆ รวมทั้งอาหารบางชนิด (ผู้ป่วยควรต้องสังเกตเองว่า แพ้อะไร แล้วหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น)
  • การสูบบุหรี่
  • ฮอร์โมนเพศหญิง (เพราะโรคนี้เกิดในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย ถึงประมาณ 7-10 เท่า) และ/หรือการตั้งครรภ์
  • จากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาป้องกันการชัก ยาคุมกำเนิด และยาลดน้ำหนักบางชนิด ซึ่งเมื่อเกิดจากยา หลังหยุดยา โรคมักหายได้
  • อารมณ์ อาการเครียด
  • การทำงานหนัก และ การออกกำลังกายเกินควร

อาการของโรคลูปัส/เอสแอลอี เหมือนกันทั้งในเด็ก และในผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นโรคมีอาการได้หลากหลายจากการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของหลายๆเนื้อเยื่อ/อวัยวะทั่วร่างกาย แต่ละอาการเป็นอาการเรื้อรัง เป็นๆหายๆ และแต่ละคนมีอาการต่างกัน ไม่เหมือนกัน แบ่งอาการต่างๆออกเป็นกลุ่มอาการได้ หลายกลุ่มอาการ ได้แก่

กลุ่มอาการทั่วไปไข้โดยหาสาเหตุไม่ได้ ปวดศีรษะเรื้อรัง เบื่ออาหาร ผอมลง เช่น เหนื่อยล้า มี

กลุ่มอาการทางผิวหนังผิวหนังขึ้นผื่นแดง หาสาเหตุไม่ได้ มักขึ้นในบริเวณส่วนตรงกลางและโหนกแก้มสองข้างของใบหน้าลักษณะคล้ายผีเสื้อ จึงเรียกว่า ผื่นรูปผีเสื้อ (Butterfly rash) และผมร่วง อาจร่วงเป็นหย่อม หรือร่วงทั้งศีรษะ

กลุ่มอาการทางข้อ/กล้ามเนื้อปวดข้อ กล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการบวม/แดงร่วมด้วย เกิดได้กับทุกข้อ แต่มักเกิดกับข้อเล็กๆ เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า

กลุ่มอาการทางปอด/หัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก ไอ ปอด/เยื่อหุ้มปอดอักเสบ มีน้ำในปอด เหนื่อย เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นผิดปกติ

กลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร

กลุ่มอาการทางไตความดันโลหิตสูง และมีสารไข่ขาว (Albumin) ในปัสสาวะ เป็นอาการจากการอักเสบของไต เช่น บวมน้ำ (ขาบวม)

กลุ่มอาการทางโรคระบบโลหิตวิทยาภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงต่ำ มีเม็ดเลือดขาวต่ำจึงติดเชื้อได้ง่าย มีเกล็ดเลือดต่ำจึงมีเลือดออกได้ง่าย และมีการอักเสบของหลอดเลือด อาจเห็นเป็นจุดแดงๆเล็กๆทั่วตัว คล้ายจากโรคไข้เลือดออก (โรคเลือด) มี

กลุ่มอาการทางระบบประสาทโรคจิต เช่น อาการชักโดยไม่ทราบสาเหตุ แขนขาอ่อนแรง ไม่มีสมาธิ

ปัจจุบันยังไม่มียา หรือวิธีการรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ แต่เป็นการรักษาให้โรคสงบเป็นพักๆ และการรักษาประคับประคองตามอาการ วิธีการรักษาต่างๆ เช่น

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น/ปัจจัยเสี่ยงให้เกิดอาการ ดังกล่าวแล้ว
  • ให้ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกาย เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ หรือยาเคมีบำบัดบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง
  • ให้ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่จากการติดเชื้อ
  • ยาแก้ปวดต่างๆ เมื่อมีอาการปวด
  • การรักษาควบคุมโรคต่างๆที่เป็นผลข้างเคียง เช่น โรคไตเรื้อรัง หรือ ยาควบคุมอาการชัก
  • ที่กำลังอยู่ในการศึกษา คือ การปลูกถ่ายไต และการศึกษาหาต้นเหตุของโรค โดยเฉพาะในเรื่องของพันธุกรรมต่างๆ เพื่อให้การรักษาได้ถูกต้อง และอย่างเฉพาะเจาะจง และหาทางในการป้องกันการเกิดโรค

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคลูปัส/เอสแอลอีได้เต็มร้อย ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาแต่เนิ่นๆ

ซึ่งเมื่อพบแพทย์แล้ว การดูแลตนเองที่สำคัญ คือ

  • ปฏิบัติตามแพทย์/พยาบาลแนะนำให้ถูกต้อง เคร่งครัด เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรัง การดูแลตน เองตามแพทย์/พยาบาลแนะนำจึงเป็นเรื่องสำคัญ
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังกล่าวแล้วที่หลีกเลี่ยงได้ เช่น ในการใช้ยาต่างๆ ควรปรึกษา แพทย์ พยาบาล หรือ เภสัชกร และอ่านเอกสารกำกับยาให้เข้าใจก่อนเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดโดยตรง โดยการใช้ร่ม หมวก หรือใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เป็นต้น ส่วนการใช้ครีมกันแดด ยังให้ผลไม่ชัดเจน และอาจก่ออาการแพ้ยาได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) ลดโอกาสติดเชื้อ ลดความรุนแรงของโรค และเพื่อการมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
  • ปัจจุบันยังไม่พบมีอาหารที่ป้องกัน หรือกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ อย่างไรก็ตามแพทย์ทุกท่านแนะ นำการกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนทุกวันในปริมาณที่เหมาะสมที่ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน จำกัดอาหารแป้ง น้ำตาล ไขมัน อาหารเค็ม โดยเพิ่ม ผัก และผลไม้ให้มากๆ
  • ระมัดระวังในการบริโภควิตามินและเกลือแร่เสริมอาหาร อาหารเสริม และสมุนไพรต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนการใช้เสมอ หรืออย่างน้อยปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยานั้นๆ
  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบก่อนนัด เมื่ออาการต่างๆเลวลง หรือ มีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือ เมื่อมีความกังวลในอาการ
N_Nu*****n

27 พฤศจิกายน 2560 07:11:00 #3

ขอบคุณค่ะ