กระดานสุขภาพ
ชอบทานรสเค็มมาก | |
---|---|
4 พฤศจิกายน 2560 07:29:15 #1 อยากจะปรึกษาคุณหมอ ว่าการที่ทานรสเค็มจัดมากๆ มีผลที่จะทำให้เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ไหม ตอนนี้ดิฉันปัสสาวะบ่อยมาก อั้นปัสสาวะไม่ได้เลย เคยเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบเเล้วค่ะ เเต่ก็ยังชอบอั้นฉี่อยู่ เลยอยากทราบว่า การที่ชอบทานอาหารรสเค็มจัด มีผลที่จะทำให้เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วยหรือไม่ค่ะ |
|
อายุ: 19 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 54 กก. ส่วนสูง: 167ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.36 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
5 พฤศจิกายน 2560 08:09:48 #2 การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection) หรือเรียกย่อว่า ยูทีไอ (UTI) คือ โรคหรือภาวะที่เกิดจากอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ทั้งนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อโรคทุกชนิด เช่น เชื้อรา และเชื้อไวรัส แต่พบได้น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับการติดเขื้อจากแบคทีเรีย ดัง นั้นในบทนี้จึงจะกล่าวถึงเฉพาะการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ระบบทางเดินปัสสาวะ คือระบบที่มีหน้าที่ในการกรองน้ำปัสสาวะจากเลือด และกำจัดออกจากร่างกายทางน้ำปัสสาวะ ประกอบด้วย
โดย
บางคนแบ่งระบบทางเดินปัสสาวะเป็น 2 ส่วน คือ ระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน (Upper urinary tract) ซึ่งประกอบด้วยไต กรวยไต (ไตส่วนที่มีลักษณะเป็นโพรง มีหน้าที่เก็บกักปัสสาวะก่อนปล่อยลงสู่ท่อไต) และท่อไต การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นโรค/ภาวะที่พบได้บ่อยมาก พบเกิดได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็ก (พบได้ประมาณ 10% ของโรค/ภาวะนี้) ไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยทั่วไปมักพบในช่วงอายุ 16-35 ปี เป็นโรคพบในผู้หญิงบ่อยกว่าในผู้ชายประมาณ 4 เท่า โดยประมาณ 60%ของผู้ หญิงต้องเคยเกิดโรค/ภาวะนี้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต เป็นโรค/ภาวะที่เกิดซ้ำได้บ่อย โดยพบว่า ประมาณ 50% เมื่อเกิดโรคแล้ว จะเกิดโรคซ้ำภายใน 1 ปี การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะมักเกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่างซึ่งเรียกว่า การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง (Lower Urinary tract infection หรือ Lower UTI) คือ โรค/ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) และโรค/ภาวะท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethri tis) มากกว่าประมาณ 20-30 เท่าของการเกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะตอนบนซึ่งเรียกว่า การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน (Upper Urinary tract infection หรือ Upper UTI) ซึ่งมักเป็นการติดเชื้อของกรวยไต (โรคกรวยไตอักเสบ) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ ผู้หญิง เนื่องจาก ท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าของผู้ชายมาก เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะ จึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า ผู้หญิงช่วงมีประจำเดือน บริเวณปากช่องคลอดและปากท่อปัสสาวะจะปน เปื้อนเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเพศจะส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศรวมทั้งปากท่อปัสสาวะติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งตัวครรภ์จะก่อการกดเบียดทับอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะกระเพาะปัสสาวะ จึงก่อให้เกิดทางเดินปัสสาวะอุดกั้นได้ง่าย ปัสสาวะจึงแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ เชื้อโรคจึงเจริญได้ดี จึงเพิ่มเชื้อโรคในปัสสาวะ ก่อให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ทั้งหญิงและชาย หรือมีเพศสัมพันธ์บ่อย จึงมีโอกาสติดโรคติด ต่อทางเพศสัมพันธ์ได้สูงกว่า โดยเฉพาะเมื่อมีคู่นอนหลายคน หรือในช่วงเมื่อมีการเปลี่ยนคู่นอน หรือเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศซึ่งรวมถึงท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะเกิดการบาดเจ็บจากเพศสัมพันธ์ จึงส่งผลให้ติดเชื้อได้ง่าย ผู้หญิงที่คุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฆ่าอสุจิ เพราะยาจะก่อการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อของช่องคลอดและปากท่อปัสสาวะ จึงเกิดช่องคลอดอักเสบ และทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่าย ผู้หญิงที่ใช้การคุมกำเนิดด้วยการใส่ฝาครอบปากมดลูก (Diaphragm) จะติดเชื้อในช่องคลอดและในทางเดินปัสสาวะได้ง่าย จากความไม่สะอาดของมือ (จากการล้วงเข้าไปในช่องคลอด) และของแผ่นครอบไม่เพียงพอ มีทางเดินปัสสาวะอุดกั้น เช่น นิ่วในไต นิ่วในท่อไต และ/หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เพราะส่งผลให้น้ำปัสสาวะแช่ค้างในทางเดินปัสสาวะ แบคทีเรียจึงเจริญ เติบโตได้ดีในน้ำปัสสาวะ จึงก่อการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะได้ง่าย โรคต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อ จึงส่งผลให้ลุกลามเกิดการติดเชื้อของอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะต่อมลูกหมากจะสัมผัสอยู่กับท่อปัสสาวะ การนั่งนานๆ เช่น เมื่อรถติดมาก การกลั้นปัสสาวะนานๆ เพราะส่งผลให้เกิดการแช่คั่งของปัสสาวะ เชื้อโรคในปัสสาวะจึงเจริญได้ดี มีโรคที่ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ร่างกายจึงติดเชื้อได้ง่าย เช่น โรคเบาหวาน โรค/ภาวะที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือ ปัสสาวะแต่ละครั้งไม่หมด จึงมีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะเสมอ แบคทีเรียในปัสสาวะจึงเจริญเติบโตได้ดี เช่น ในผู้สูง อายุ ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลายครรภ์ และในผู้หญิงที่มีโรคกระบังลมหย่อน หรือในโรคต่อมลูกหมากโต (ในผู้ชาย) การใช้สายสวนปัสสาวะ เพราะท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะจะบาดเจ็บจากสายสวน รวมทั้งการติดเชื้อจากตัวสายสวนเอง เช่น ในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต และผู้ป่วยผ่าตัดใหญ่ที่ต้องใส่สายสวนปัสสาวะ อาการจากการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้บ่อย คือ
อาการจากติดเชื้อทางเดินปัสสาวะอื่นๆที่อาจพบได้ คือ
อาการจากติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะตอนบนที่นอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว คือ
แพทย์วินิจฉัยการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆ ประวัติเพศสัมพันธ์ การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะดูเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง อาจตรวจภายในในผู้ป่วยหญิง การตรวจทางทวารหนักในผู้ชายเพื่อตรวจคลำต่อมลูกหมาก และอาจมีการตรวจอื่นๆทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น ตรวจย้อมเชื้อ และ/หรือเพาะเชื้อ จากปัสสาวะร่วมกับตรวจหาชนิดของยาปฏิชีวนะที่จะใช้ฆ่าเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น การเอกซเรย์ช่องท้องและอุ้งเชิงกราน และ/หรือการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ ทั้งนี้ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ แนวทางการรักษาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ การรักษาสาเหตุ และการรักษาประคับประคองตามอาการ การใช้ยาปฏิชีวนะ โดยชนิด ขนาดยา (Dose) และระยะเวลาที่ใช้ยา ขึ้นกับ ความรุนแรงของอาการ เชื้อที่เป็นสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง การเป็นการเกิดโรคครั้งแรกหรือเป็นโรค/ภาวะย้อน กลับเป็นซ้ำ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย และในผู้ป่วยที่เกิดโรคบ่อย อาจมีการให้ยาปฏิชีว นะ เพื่อการป้องกันการเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ การรักษาสาเหตุ เช่น การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อโรคเกิดจากโรคติดต่อทางเพสสัมพันธ์ หรือการรักษาโรคนิ่วในไต หรือโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อโรคเกิดจากโรคนิ่วในไต หรือในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น โดยทั่วไปเมื่อพบแพทย์ได้เร็ว การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจะไม่รุนแรง อาการจะดีขึ้นหรือหายได้ภายใน 2-3 วัน ทั้งนี้โดยเป็นการรักษาแบบผู้ป่วยนอกด้วยการกินยาปฏิชีวนะ แต่ในโรค/ภาวะกรวยไตอักเสบ โรคมักรุนแรง การให้ยาปฏิชีวนะมักให้ทางหลอดเลือดดำ และอาจจำเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล แต่ถ้าพบแพทย์ช้า หรือมีการเกิดเป็นซ้ำบ่อยๆ (พบได้ประมาณ 25%ของผู้ป่วย โดย เฉพาะในผู้หญิง) อาจส่งผลให้เชื้อดื้อยา และโรครุนแรงจนเกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิต (เลือด)ได้ (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด) หรือเกิดเป็นโรคไตเรื้อรังได้ เมื่อมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ เพราะการรักษาจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องทั้งชนิดของยา ปริมาณยา (Dose) และระยะเวลาที่ได้รับยา เพื่อลดโอกาสเกิดโรคย้อนกลับเป็นซ้ำจากการรักษาที่ไม่เหมาะสม และเชื้อดื้อยา ดังนั้นจึงเป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองให้โรคหายได้การดูแลตนเองและการพบแพทย์เมื่อมีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ คือ
|
Anonymous