กระดานสุขภาพ

กินชาเขียวเยอะเกินไป จเพิ่มความเสี่ยงการเป็นเบาหวานมั้ยครับ
GuKi*****a

12 มีนาคม 2556 14:00:58 #1

ซื้อมากินประจำ แต่ พอมี ชิงโชค1ล้าน ก็ กินเยอะขึ้น... พอดูในขวด **** มีฟรุกโตส 5.99 เปอเซน   **** มี 4.9 เปอเซน   อยากถามว่า กิน ทุกวัน วันละ 5-6 ขวด จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นเบาหวานมั้ยครับ  ประวัติ มีแม่เป็นเบาหวาน มา 20ปีแล้ว[อายุ53แต่แกดูแลตัวเองและคุมอาหารดีมาก ยังแข็งแรงคับ] ผมมีพี่น้อง 3คน  ตอนนี้น้อง ชายคนที่3เป็น  [น้องชายอายุ 28 หนัก108โล  เพิ่งตรวจพบ กินยาได้ เดือนกว่า และ น้ำหนักลดลงเหลือ95แล้ว]..ตอนนี้ผมก็ระวัง โดยไม่กินหวาน  พกน้ำตาลเที่ยม[อิควล]ใว้ตลอด....และปกติผมออกกำลังกายคับ  อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3วัน ......รบกวนแนะนำด้วยคับ ถ้ามันเพิ่มความเสี่ยง จะได้หยุดกิน....ขอบคุณครับ

อายุ: 35 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 74 กก. ส่วนสูง: 163ซม. ดัชนีมวลกาย : 27.85 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Haamor Admin

(Admin)

13 มีนาคม 2556 07:28:30 #2

ถึง คุณ GuKinGZa

คำถามทุกคำถาม ขอความกรุณาไม่ลงชื่อ บุคคลที่ 3 หรือชื่อโรงพยาบาลนะคะ เพราะการกล่าวถึงบุคคลที่ 3 เป็นการขัดต่อคำแนะนำของแพทยสภาคะ

ซึ่งทาง admin ขออนุญาตลบชื่อออกนะคะ

GuKi*****a

13 มีนาคม 2556 08:13:11 #3

คับ ขอโทษคับ  แค่ เห้น 2ยี่ห้อ มัน มีฟรุกโตสไม่เท่ากันเลยสงสัย ว่า ถ้าเลือกได้ ต้องกินอันที่มีน้อยกว่าใช่หรือไม่ หรือ อย่างไรคับ...และ  ไม่ทราบว่า ห้ามพูดชื่อผลิตภัณด้วย ขอโทษอีกทีครับ...ยังรอคำตอบอยู่ครับ

GuKi*****a

17 มีนาคม 2556 06:00:55 #4

มีหลายคนสงสัยเหมือกัน  ยังรอคำตอบอยู่นะครับ

ผ*****

17 มีนาคม 2556 15:25:42 #5

Fructose คือ น้ำตาลจากผลไม้ เช่นอ้อย บีทรูท และข้าวโพด มีสูตรโครงสร้างเป็น monosaccharide (โมโนแซคคาไรด์) เหมือนกับกลูโคส มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ มีความหวานมากกว่าน้ำตาล 73% ซึ่งน่าจะดี แต่ฟรุคโตส ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้มาจากการสังเคราะห์ มี 3 ฟอร์ม คือ

  1. crystalline fructose เป็นผลึกแห้ง อาจมีส่วนประกอบที่เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
  2. High fructose corn syrup (HFCS) ใช้มากในอุตสาหกรรมอาหารเช่นเครื่องดื่มเนื่องจากราคาถูกกว่าน้าลทราย ประกอบด้วยกลูโคส:ฟรุคโตส ในสัดส่วนที่แตกต่างกันเช่น HFCS-42, HFCS-55, HFCS-90
  3. Sucrose (น้ำตาลทราย) จัดเป็น Disaccharide คือเป็นโมเลกุลคู่ ประกอบด้วยกลูโคส และฟรุคโตส ในสัดส่วน 50:50 เมื่อกินน้ำตาลทรายเข้าไป จะถูกสลายเป็น กลูโคสกับฟรุคโตส

ฟรุคโตสมีดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index ,GI) ต่ำ ประมาณ 19 เมื่อเทียบกับน้ำตาลทราย GI 65 และ น้ำผึ้ง GI 55 เริ่มแรกคิดว่าน่าจะดีถ้าเป็นการบริโภคฟรุคโตสจากผักและผลไม้ แต่เนื่องจากปัจจุบันเป็นฟรุคโตสที่ได้จากการสังเคราะห์และใช้มากในอุสาหกรรมอาหาร ทำให้รับประทานมากเกินไปอาจถึง 73 กรัม/วัน เมื่อติดตามไปนานๆพบว่าทำให้เกิดภาวะอ้วน ดื้ออินซูลิน เป็นเบาหวาน เป็นโรคความดันสูง ไขมันไตรกลีเซอไรด์และไขมันเลวสูง เกิดใกล้เคียงกับการรับประทานน้ำตาลทราย หรืออาจจะมากกว่าน้ำตาลทรายเสียอีก เนื่องจาก

  1. ถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับ100%ไปเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ และไขมันเลว ในขณะที่กลูโคสถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับเพียง 20%
  2. โดยปกติเซลของร่างกายรวมทั้งเซลสมองต้องการกลูโคส แต่ฟรุคโตสจะถูกเปลี่ยนเป็น free fatty acid ซึ่งจะถูกสร้างเป็นไขมันต่อไป ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน และไขมันแทรกตับ
  3. เมื่อดื่มกลูโคสจะลดความหิว แต่ฟรุคโตส ไม่สามารถกดฮอร์โมนหิวได้ทำให้กินได้เรื่อยๆ บางคนดื่มเครื่องดื่มได้เป็นลิตร ซึ่งให้พลังงานสูงถึง 1200 แคลอรี่ แต่ก็รู้สึกเหมือนยังไม่ได้กินอาหาร

ผู้ถามดื่มเครื่องดื่มที่มีฟรุคโตส 5-6% หมายความว่า ในเครื่งดื่ม 100 ซีซี จะมีน้ำตาลฟรุโตส 5-6 กรัม ถ้า 1 ขวดมี 500 ซีซี จะมี 25-30 กรัม ซึ่งเทียบเท่า น้ำตาลทราย 5-6 ช้อนชา ต่อขวด แต่อิชิตัน black teaมี ฟรุคโตส 9.4% น้ำตาล3.8% และน้ำสตอเบอรี่เข้ม 0.2% ซึ่งเทียบเท่าน้ำตาลทรายประมาณ 14-15 ช้อนชา( เท่าที่นักโภชนาการคำนวนไว้ ชาเขียว 500 ซีซีทั่วๆไปที่มีรสหวาน จะมีน้ำตาลประมาณ 15 ช้อนชา ให้พลังงานเท่าก๋วยเตี๋ยว 1 ชาม แต่ไม่รู้สึกอิ่ม) ดังนั้นดื่มไปนานๆน่าจะอ้วน ไขมันสูง ตับอ่อนทำงานหนักเนื่องจากภาวะดื้ออินซูลิน ต้องพยายามสร้างอินซูลินให้มากเพื่อเอาชนะน้ำตาลที่ได้เข้าไป ประกอบกับมีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน ดังนั้นหากไม่เปลี่ยนพฤฒิกรรมน่าจะเป็นเบาหวานในเร็ววัน ซึ่งตัวบ่งชี้ก่อนคือ ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น ไขมันดีต่ำ และต่อมาอาจตรวจพบน้ำตาลหลังอาหารเกิน 140 มก/ดล และเป็นเบาหวานในที่สุด อันตราย!!!

 

พ.ญ. ธัญญา เชฏฐากุล