กระดานสุขภาพ

ทำอย่างไรให้หน้าหายเหลืองครับ
Anonymous

4 กันยายน 2560 13:51:59 #1

ผมมีเรื่องจะปรึกษาหน่อยครับ คือผมมีโรคประจำตัวคือเลือดจางครับแต่ไม่เป็นเป็นหนักมาก ซึ่งปกติหน้าผมไม่ได้เหลือง แต่ช่วงนี้เริ่มมีคนทักว่าหน้าเหลืองไปทำอะไรมาหรือป่าว ผมอยากทราบว่าจะทำอย่างไรให้หน้าไม่เหลืองครับมันพอจะมียา หรืออาหารเสริมแบบไหนบ้างครับ
อายุ: 22 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 168ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.26 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

5 กันยายน 2560 05:47:56 #2

ลักษณะของอาการผิวหน้าซีดหรือเหลือง น่าจะเกิดจากการมีภาวะโลหิตจาง ซึ่งเป็นลักษณะที่พบได้ ไม่มียาหรืออาหารเสริมในการรักษาค่ะ แต่ต้องรักษาภาวะโลหิตจางให้เป็นปกติ เพราะหากโลหิตจางมาก ก็ทำให้อาการเหลืองมากขึ้นค่ะ

Anonymous

5 กันยายน 2560 19:30:46 #3

ผมต้องรักษาอย่างไรบ้างครับหมอ
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

6 กันยายน 2560 16:14:14 #4

ภาวะซีดเกิดได้จาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ จากการเสียเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุพบบ่อยที่สุด จากไขกระดูกลดการสร้างเม็ดเลือดและจากเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ ปกติเม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 120 วัน

1. สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผล อุบัติเหตุต่างๆ หรือมีประจำเดือนผิดปกติ และจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น มีแผลเรื้อรังในร่างกาย เช่น แผลในกระ เพาะอาหาร แผลมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีประจำเดือนผิดปกติ(เป็นได้ทั้งสาเหตุซีดเฉียบพลัน และซีดเรื้อรัง เมื่อไม่ได้รับการรักษา)

2. สาเหตุจากไขกระดูกลดการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น

จากโรคเรื้อรังต่างๆเช่น โรคมะเร็ง (โดยเฉพาะโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว) โรคติดเชื้อเรื้อรัง (เช่น วัณโรค) โรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV/AIDS) และโรคไตเรื้อรัง)
จากขาดอาหาร โดยเฉพาะ โปรตีน เกลือแร่เหล็ก วิตามิน บี 6 วิตามิน บี 9 (โฟลิก แอซิด/Folic acid) และวิตามิน บี12 ซึ่งใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง
จากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง
จากร่างกายขาดฮอร์โมนบางชนิดที่ช่วยการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ฮอร์โมนเพศ และฮอร์ โมนจากไต
ในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งต้องการใช้เลือดมากขึ้นจากการเลี้ยงดูทารกในครรภ์ จึงทำให้ดูเหมือนไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดไม่พอ เหมือนสร้างได้ลดลง
จากโรคเลือดบางชนิดที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยกว่าปกติ ทั้งนี้ อาจจากพันธุกรรม

3. สาเหตุจากเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ เช่น

โรคเลือดบางชนิดที่พบบ่อย คือ โรคธาลัสซีเมีย, โรคภูมิแพ้ตนเอง (ภูมิต้านตนเอง)
จากการแพ้ยาบางชนิด
หรือแพ้สารในเลือดจากการให้เลือด
หรือการติดเชื้อรุนแรงบางชนิด เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต

ถ้าซีดไม่มาก มักไม่มีอาการ แต่อาจรู้สึกอ่อนเพลียง่ายกว่าคนปกติ แต่เมื่อซีดมากขึ้น อาการที่อาจพบได้ เช่น ริมฝีปาก ผิวหนัง ใบหน้า เยื่อตา มือ เท้า ซีด

เหนื่อยง่าย ใจสั่น จากหัวใจเต้นเร็ว เพื่อทำงานมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้ออกซิเจนจากเลือดมากขึ้น ดังนั้น เมื่อซีดมาก มักมีอาการหัวใจล้มเหลวร่วมด้วย (หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อย หอบ เมื่อออกแรง หัวใจโต บวม ใบหน้า มือ และเท้า) ติดเชื้อต่างๆง่าย เพราะภูมิคุ้มกันต้านทานโรคจะลดลง

เมื่อซีดมากและเรื้อรัง อาจมีปัญหาทางสมองได้ (สติปัญญาด้อยกว่าเกณฑ์) จากสมองขาดออกซิเจนเรื้อรัง

เมื่อมีภาวะซีด คือ เมื่อมีอาการดังกล่าว หรือสงสัย หรือกังวลว่า มีภาวะซีด ควรพบแพทย์ (พบได้ทั้งแพทย์ทั่วไป และแพทย์เฉพาะทางโรคเลือด) เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสม

การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะซีด คือ

ปฏิบัติตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ ทั้งนี้เพราะดังกล่าวแล้วว่า ภาวะซีดเกิดได้จากหลายสาเหตุ
กินยาให้ถูกต้องตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ
รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ
กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ให้ครบในทุกวัน เพื่อได้สารอาหารช่วยสร้างไขกระดูกครบ ถ้วนและให้ร่างกายแข็งแรง
พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบก่อนนัด เมื่ออาการต่างๆเลวลง หรือมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือเมื่อกังวลในอาการ

การป้องกันภาวะซีด ที่สำคัญ คือ

กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ครบทุกมื้ออาหารและในทุกๆวัน ป้องกันภาวะซีดจากขาดอาหาร
ตรวจสุขภาพประจำปี เริ่มได้ตั้งแต่ อายุ 18 ปี
ปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อดูความเสี่ยงของโรคเลือดต่างๆทางพันธุกรรมที่อาจเกิดกับลูก เช่น โรคธาลัสซีเมีย
เมื่อมีเลือดออกเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เช่น ประจำเดือนมามากผิดปกติบ่อยๆ หรือ อุจจาระเป็นเลือด
ดูแล รักษา ควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุ