กระดานสุขภาพ
เวลาถ่ายทีไรจะมีก้อนริดสีดวงออกมา แล้วจะกลับเข้าไปใหม่ อยากทราบว่าจะมีทางหายหรือเปล่าครับ | |
---|---|
6 สิงหาคม 2560 16:12:46 #1 เวลาถ่ายทีไรจะมีก้อนริดสีดวงออกมา แล้วจะกลับเข้าไปใหม่ อยากทราบว่าจะมีทางหายหรือเปล่าครับ |
|
อายุ: 42 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 70 กก. ส่วนสูง: 166ซม. ดัชนีมวลกาย : 25.40 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
Anonymous |
9 สิงหาคม 2560 17:24:58 #2 ไม่มีใครตอบเลย |
Haamor Admin(Admin) |
9 สิงหาคม 2560 18:27:40 #3 การตอบคำถามของทีมคุณหมอขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เนื่องจากอาจารย์แพทย์หลายๆท่านมีงานประจำในการดูแลผู้ป่วยเฉพาะหน้าก่อน คุณหมอบางท่านอาจติดภารกิจในบางครั้งไม่สามารถตอบในทันทีได้ และบางคำถามอาจต้องรอหลายวันหน่อย ดังนั้นหากรอได้ทุกคำถามมีคำตอบให้แน่นอนนะค่ะ |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
14 สิงหาคม 2560 19:32:13 #4 โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids หรือ Piles) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบ และ/หรือการบวมของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด (Vascular structures, เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วย หลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน) ที่อยู่ภายในทวารหนักและรอบๆปากทวารหนัก โดยเนื้อเยื่อกลุ่มนี้มีหน้าที่ช่วยปกป้องเนื้อเยื่อทวารหนักในช่วงมีการขับถ่ายอุจจาระ และช่วยให้ปากทวารหนักปิดสนิทช่วงไม่ปวดถ่ายอุจจาระ ภายในทวารหนัก (ทวารหนักอยู่ต่อจากลำไส้ตรง โดยลำไส้ตรง คือลำไส้ใหญ่ตอนล่าง สุด เป็นลำไส้ใหญ่ส่วนที่ต่อกับทวารหนัก) จะมีแนวเส้นที่เรียกว่า เส้นเด็นเทท หรือเส้นเพ็กทิเนท (Dentate line หรือ Pectinate line) ซึ่งเป็นเส้นแบ่งทวารหนักออกเป็นส่วนล่างและส่วน บน ทั้งนี้เมื่อเกิดริดสีดวงทวารในส่วนที่อยู่ใต้ต่อเส้นเด็นเทท เรียกว่า “โรคริดสีดวงภายนอก (External hemorrhoids)” และเมื่อเกิดริดสีดวงทวารเหนือต่อเส้นเด็นเทท เรียกว่า “โรคริดสี ดวงภายใน (Internal hemorrhoids)” โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคพบบ่อยโรคหนึ่ง ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยมีอาการจากโรคนี้ได้ประมาณ 5% ของประชากรผู้ใหญ่ทั้งหมด โดยพบได้สูงในช่วงอายุ 45-65 ปี (อาจพบในเด็ก และในอายุอื่นๆได้ทุกอายุ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ) โดยผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคได้ใกล้เคียงกัน สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคริดสีดวงทวาร เกิดจากกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดดังกล่าวได้รับบาดเจ็บ และ/หรือมีการหมุนเวียนโลหิต (เลือด) ไม่ดีจากสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงต่างๆจนก่อให้เกิดการโป่งพอง บวม อักเสบ หรือเกิดมีลิ่มเลือดในกลุ่มเนื้อเยื่อดังกล่าว ซึ่งสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อย คือ ท้องผูก ทำให้ต้องเบ่งอุจจาระเป็นประจำ แรงเบ่งจะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดโป่งพอง หรือหลอดเลือดขอดได้ง่าย ท้องเสียเรื้อรัง การอุจจาระบ่อยๆจะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด เช่นกัน อายุ ผู้สูงอายุจะมีการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ รวมทั้งของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด หลอดเลือดจึงโป่งพองได้ง่าย โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ส่งผลให้เพิ่มแรงดันในช่องท้องและในอุ้งเชิงกรานสูงขึ้น เลือดจึงคั่งในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดเช่นเดียวกับในหญิงตั้งครรภ์ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จึงเกิดการกดเบียดทับ/บาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดส่วนนี้เรื้อรัง จึงมีเลือดคั่งในหลอดเลือด เกิดโป่งพองได้ง่าย โรคแต่กำเนิดที่ไม่มีลิ้นปิดเปิด (Valve) ในหลอดเลือดดำในเนื้อเยื่อหลอดเลือดซึ่งช่วยในการไหลเวียนเลือด จึงเกิดภาวะเลือดคั่งในหลอดเลือด จึงเกิดหลอดเลือดโป่งพองง่าย อาจจากพันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงกว่า เมื่อครอบครัวมีประวัติเป็นโรคริดสีดวงทวาร อาการพบบ่อยของโรคริดสีดวงภายนอก คือ มีติ่งเนื้อสีชมพูคล้ำออกมาจากปากทวารหนักเมื่อท้องผูก หรือ ท้องเสีย อาการพบบ่อยของโรคริดสีดวงทวารภายใน คือ อุจจาระเป็นเลือด โดยไม่มีอาการปวดเจ็บ อุจจาระมักเป็นเลือดสด ออกหลังอุจจาระสุดแล้ว มักพบเลือดบนกระดาษชำระ เลือดที่ออกจะไม่ปนกับอุจจาระ มักไม่มีมูกปน และมักหยุดได้เอง อาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆ เมื่อเป็นมาก หลอดเลือดจะบวมมาก รวมทั้งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบหลอดเลือดจะบวมออกมาถึงปากทวารหนัก เห็นเป็นก้อนเนื้อนิ่ม ปลิ้นโผล่ออกมานอกปากทวารหนัก ซึ่งในภาวะเช่นนี้ จะก่ออาการเจ็บปวดได้ ทั้งนี้ โดยทั่วไปแบ่งความรุนแรงของโรคริดสีดวงภายใน เป็น 4 ระดับตามความรุนแรง ได้แก่ ระดับ 1หลอดเลือดที่โป่งพอง ยังเกิดอยู่ภายในทวารหนักและลำไส้ตรง ระดับ 2หลอดเลือด พร้อมเนื้อเยื่อรอบๆหลอดเลือดปลิ้นโผล่ออกมาที่ปากทวารหนักในขณะอุจจาระ แต่ก้อนเนื้อนี้สามารถกลับเข้าไปภายในทวารหนักได้เองหลังสิ้นสุดอุจจาระ ระดับ 3ก้อนเนื้อไม่กลับเข้าภายในทวารหนัก หลังสุดอุจจาระแล้ว แต่สามารถใช้นิ้วดันกลับเข้าไปได้ ระดับ 4ก้อนเนื้อกลับเข้าไปภายในทวารหนักไม่ได้ ค้างอยู่หน้าปากทวารหนัก ถึงแม้จะใช้นิ้วช่วยดันแล้วก็ตาม ซึ่งระยะนี้ผู้ป่วยจะเจ็บปวดมาก และควรต้องรีบพบแพทย์เป็นการฉุกเฉิน ก่อนที่ก้อนเนื้อจะเน่าตายจากการขาดเลือด แนวทางการรักษาโรคริดสีดวงทวาร ได้แก่ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเพิ่มความดันในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร และการใช้ยาต่างๆ เช่น ยาทาลดอาการคัน ยาเหน็บทวารลดอาการบวม ปวด และยาแก้ปวด เป็นต้น แต่เมื่อการรักษาในลักษณะประคับประคองไม่ได้ผล การรักษาขั้นต่อไป คือ การรักษาทางศัลยกรรม ที่มีหลายรูปแบบ เช่น การจี้ด้วยไฟฟ้า หรือ เลเซอร์ การฉีดยาเข้าหลอดเลือด เพื่อให้หลอดเลือดยุบแฟบ การผูกหลอดเลือด หรือการผ่าตัดหลอดเลือด ทั้งนี้ ขึ้นกับความรุน แรงของโรคข้อบ่งชี้ และดุลพินิจของแพทย์ |
Anonymous |
15 สิงหาคม 2560 21:07:20 #5 ขอบคุณครับ ที่ผมอยากถามก็คือ ถ้าเป็นระยะที่สอง จะสามารถกินยาแล้วหายได้ป่าวครับ |
Anonymous