กระดานสุขภาพ

ปัสสาวะเล็ด นี่ทำไงดีคะ
Wond*****r

25 กรกฎาคม 2560 16:45:01 #1

ช่วงหลังๆนี้เราปัสสาวะเล็ดตลอดเลยค่ะ เคยใช้ผ้าอนามัยมาแล้วก็ไม่เวิร์ค ทั้งมีกลิ่น ทั้งอบ TT มีใครมีวิธีแก้หรือแนะนำเรามั้ยคะ

อายุ: 17 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 150 กก. ส่วนสูง: 45ซม. ดัชนีมวลกาย : 740.74 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

26 กรกฎาคม 2560 06:47:49 #2

โรคชำรั่ว หรือ อาการปัสสาวะเล็ด (Urinary incontinence (UI), Involuntary urination, Enuresis) หมายถึง ภาวะที่มีปัสสาวะไหลเล็ดออกมาโดยไม่ตั้งใจและไม่สามารถควบคุมได้ (กลั้นปัสสาวะไม่ได้)

น้ำและของเสียในร่างกายจะถูกขับออกโดยไต ทางกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ในระหว่างการถ่ายปัสสาวะ กล้ามเนื้อ Detrusor ในผนังกระเพาะปัสสาวะจะหดตัวทำให้ปัสสาวะไหลออกทางท่อปัสสาวะในขณะเดียวกันกล้ามเนื้อ Sphincter ที่อยู่รอบๆ ท่อปัสสาวะจะคลายตัวให้ปัสสาวะไหลออกจากร่างกาย อาการปัสสาวะเล็ดจะเกิดเมื่อกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหดตัวทันทีทันใดหรือกล้ามเนื้อที่อยู่รอบท่อปัสสาวะคลายตัวในทันทีทันใด

นพ.ดนัยพันธ์ กล่าวว่า โดยทั่วไปผู้หญิงน่าจะเป็นมากกว่าผู้ชาย สาเหตุเนื่องจากผู้หญิงมีหูรูดซึ่งทำหน้าที่ปลดปล่อยปัสสาวะเพียง 2 อัน แต่ผู้ชายมี 3 อัน และเมื่อวัยล่วงเลย การทำงานของหูรูดเสื่อมสภาพลง ทำให้ควบคุมปัสสาวะได้น้อยลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ชายเมื่อถึงวัยหนึ่งต่อมลูกหมากที่โตขึ้นจะไปก่อให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการบีบตัวบ่อยขึ้น ทำให้โอกาสที่จะเกิดอาการโอเอบีสูงมากขึ้นเช่นกัน โดยอัตราเฉลี่ยของผู้มีโอกาสจะเป็นโรคนี้เริ่มต้นที่อายุ 40 ปีขึ้นไป

สาเหตุของของอาการปัสสาวะเล็ดในผู้หญิงมักเกิดจาก Stress urinary incontinence (SUI) หมายถึง ภาวะที่มีปัสสาวะเล็ดออกมาโดยควบคุมไม่ได้ขณะออกแรงเบ่ง ไอ หรือจาม ซึ่งเป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์มากที่สุด ภาวะปัสสาวะเล็ดอาจเกิดจาก

  • การมีปัสสาวะมาก (Polyuria) ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) อาการกระหายน้ำมากเรื้อรัง (Primary polydipsia) โรคเบาจืดชนิด Central diabetes insipidus (CDI) และ ชนิด Nephrogenic diabetes insipidus (NDI)
  • ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ
  • ต่อมลูกหมากโต ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการปัสสาวะเล็ดในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี บางทีมะเร็งต่อมลูกหมากก็อาจทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้ นอกจากนี้ยารักษาโรคหรือรังสีที่ใช้รักษามะเร็งต่อมลูกหมากก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้
  • ความผิดปกติอย่าง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) ความผิดปกติของแนวกระดูกสันหลัง (Spina bifida) โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน (Strokes) และการได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง อาจทำให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ

การตรวจร่างกายจะเน้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ด เช่น มีก้อนเนื้อที่อุดขวางทางเดินปัสสาวะ ภาวะอุจจาระอุดตัน (Stool impaction) และประสาทรับรู้การทำงานไม่ดี การทดสอบจะวัดความสามารถของกระเพาะปัสสาวะและปัสสาวะที่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งสะท้อนถึงการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะที่แย่ลง
การรักษามีหลายวิธี ตั้งแต่การจัดพฤติกรรม (Behavior management) การฝึกหัดให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดและควบคุมการขับถ่าย (Bladder training) การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic floor therapy) การกินยา และ การผ่าตัด การรักษาจะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นกับการวิเคราะห์โรคเป็นอันดับแรก

หนึ่งในการรักษาที่นิยมมากที่สุดคือ การออกกำลังกายบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน การฝึกขมิบกล้ามเนื้อรอบช่องคลอด (Kegel exercise) จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นแข็งแรง และกล้ามเนื้อหูรูด(Sphincter muscles) สามารถลดการรั่วได้

ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 60 ปี จะได้รับประโยชน์มากที่สุด ผู้ป่วยควรทำอย่างน้อย 24 ครั้ง ใน 1 วัน และอย่างน้อย 6 สัปดาห์ติดต่อกัน จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และทำให้การควบคุมกระเพาะปัสสาวะทำได้ดีขึ้น
ปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของผู้หญิง ด้วยการใช้ชุด Vaginal cones ซึ่งเป็นแท่งพลาสติกจำนวน 5 อัน ที่มีน้ำหนักต่างกัน โดยเริ่มจากการที่ผู้ป่วยสอดแท่งพลาสติกขนาดเล็กในช่องคลอดแล้วค้างไว้ด้วยการหดตัวอัตโนมัติของกล้ามเนื้อช่องเชิงกราน ทำวันละ 2 ครั้งๆ ละ 15-20 นาที สามารถทำได้ในขณะยืนหรือเดิน เช่น ระหว่างการทำงานบ้านหรือเดินในบ้าน

เมื่อกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงขึ้น ก็ให้เพิ่มน้ำหนักของแท่งพลาสติกเพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงทีละน้อย กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะแข็งแรงขึ้นภายใน 2 - 3 สัปดาห์ และอาการปัสสาวะเล็ดระดับอ่อนถึงระดับปานกลางจะสามารถหายไปหลังระยะเวลา 8 - 12 สัปดาห์

ยังมีวิธี Biofeedback ซึ่งเป็นการสะท้อนกลับทางชีวภาพ ด้วยการใช้เครื่องมือวัดค่าการทำงานของร่างกายหรือการจดบันทึกเพื่อติดตามดูการหดตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ วิธีนี้สามารถใช้คู่กับการออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อผ่อนคลายและรักษาอาการปัสสาวะเล็ด

การจดเวลาถ่ายปัสสาวะและการฝึกหัดให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดและควบคุมการขับถ่าย (Bladder training) ก็เป็นวิธีของ Biofeedback ในการจดเวลาถ่ายปัสสาวะ ผู้ป่วยจะเขียนตารางการถ่ายปัสสาวะและการรั่วไหลของปัสสาวะ จากข้อมูลที่ปรากฏบนตาราง ผู้ป่วยสามารถที่จะวางแผนในการถ่ายปัสสาวะออกก่อนที่ปัสสาวะจะเล็ดครั้งต่อไป มักมีการขอให้ผู้ป่วยจดบันทึกรายละเอียดการถ่ายปัสสาวะ เวลา และจำนวนปัสสาวะใน 1วัน หรือเป็นเวลาหลายวัน หรือ 1 สัปดาห์

การรักษาอาการปัสสาวะเล็ดด้วยยาอาจรวมถึงการใช้ ยา Fesoterodine ยา Tolterodine และ ยา Oxybutynin มีรายงานว่าการใช้ยาได้ผลค่อนข้างน้อยและต้องคำนึงผลข้างเคียง (Side effects) ด้วย
การผ่าตัดอาจเป็นการบรรเทาอาการปัสสาวะเล็ดได้ ภายหลังจากการพยายามรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้ว การตรวจยูโรพลศาสตร์ (Urodynamic) ได้พิสูจน์แล้วว่าการผ่าตัดสามารถช่วยรักษาการหย่อน ซึ่งช่วยรักษาอาการปัสสาวะเล็ดชนิด (Urge incontinence) ได้

ผ่าตัดที่เรียกว่า Sling procedure เป็นการผ่าตัดที่ใช้รักษาอาการปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence ในผู้หญิง โดยใช้เชือก (Sling) ที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่อยู่ในรูปของโบว์เส้นเล็ก หรือบางทีก็ทำด้วยวัสดุชีวภาพที่ได้จากวัวหรือหมู หรือจากเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ท่อปัสสาวะของผู้ป่วยเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมาใช้ทดแทนกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่เสื่อมไป และช่วยพยุงท่อปัสสาวะ

การผ่าตัด TVT/Transvaginal tape (Tension-free transvaginal) เป็นการผ่าตัดที่ใช้รักษาอาการปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence โดยการวางแถบตาข่ายพอลิโพรพิลีน (Polypropylene mesh tape) ไว้ใต้ท่อปัสสาวะ เป็นการผ่าตัดเล็กโดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที เปิดแผลเพียงเล็กๆ 2 จุด และผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย มีอัตราในการรักษาได้อยู่ที่ร้อยละ 86 - 95 อาการแทรกซ้อน เช่น กระเพาะปัสสาวะทะลุ หากทำไม่ถูกวิธี เป็นหัตการที่เจาะเข้าร่างกายเพียงเล็กน้อย (Minimally invasive procedure)

การผ่าตัด TOT (Transobturator tape) เป็นการผ่าตัดที่ใช้รักษาอาการปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence โดยการพยุงท่อปัสสาวะด้วยการใส่แถบตาข่ายไว้ใต้ท่อปัสสาวะทางขาหนีบ (Groin area) การผ่าตัดวิธีนี้มีอัตราในการรักษาได้อยู่ที่ร้อยละ 82

การปรับตำแหน่งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder repositioning) เนื่องจากผู้หญิงที่มีภาวะปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence มักมีกระเพาะปัสสาวะที่หย่อนยานลงมาถึงช่องคลอด ดังนั้นการผ่าตัดนี้จึงต้องการดึงให้กระเพาะปัสสาวะอยู่สูงกว่าระดับปกติ แล้วรัดด้วยเชือกไว้กับกล้ามเนื้อ เอ็น หรือกระดูก ในกรณีที่รุนแรงอาจผูกกระเพาะปัสสาวะด้วยแถบที่กว้าง ซึ่งไม่เป็นการช่วยยกกระเพาะปัสสาวะเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยกดก้นลงเพื่อป้องกันการรั่วที่อาจเกิดกับกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะส่วนบน

การผ่าตัด MMK (Marshall-Marchetti-Krantz) เป็นการผ่าตัดบริเวณคอของท่อปัสสาวะ (Bladder neck suspension surgery) ผู้หญิงประมาณร้อยละ 85 จะใช้วิธีการผ่าตัดแบบนี้เพื่อรักษาอาการปัสสาวะเล็ดแบบ Stress incontinence

นอกจากนี้ ผ้าอ้อมซึมซับปัสสาวะก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยคนที่มีอาการปัสสาวะเล็ด ซึ่งมีทั้งชนิดที่เป็นแบบกางเกงซึมซับหรือแผ่นซึมซับ

Anonymous

27 กรกฎาคม 2560 16:59:03 #3

ลองไปหาหมอดูมั้ยคะ เราว่าถ้าเป็นบ่อยอาจจะเกิดจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่ค่อยดีรึป่าว ฉี่เลยไหลออกมาง่ายๆ เหมือนเราเคยดูรายการผญ.อะไรซักอย่างผ่านทีวี ละคุ้นๆว่าเค้าพูดถึงเรื่องนี้อ่ะค่ะ ได้ยินว่ารักษาได้ มีทั้งฝึกขมิบ กินยา ผ่าตัด แล้วแต่ระดับที่เป็นค่ะ

Natc*****a

28 กรกฎาคม 2560 12:05:09 #4

แนะนำว่าลองซื้อแผ่นซึมซับปัสสาวะของไลฟ์รี่มาใช้ค่ะ เราใช้อยู่ตั้งแต่คลอดลูกออกมา มันซับได้ดีอยู่นะคะ แล้วก้อไม่อับชื้นเท่าไหร่ ไม่แน่ใจว่าจขกท.พึ่งคลอดลูกเหมือนกันป่ะคะ

Anonymous

28 กรกฎาคม 2560 12:05:38 #5

ผ้าอนามัยมันรับของเหลวได้ทีละนิดป่ะคะ เหมือนถ้าเป็นปัสสาวะเล็ดมันจะออกมาทีเดียวเยอะๆเลย ผ้าอนามัยมันน่าจะซึมไม่ทันมากกว่า ลองดูพวกแผ่นซึมซับปัสสาวะได้นะคะ เราว่าน่าจะช่วยได้ คล้ายๆกันแต่ซึมซับได้มากกว่า ตาม supermarket มีขายเกือบทุกที่อ่ะ