กระดานสุขภาพ
กลัวเป็นไข้หว้ดนก | |
---|---|
1 พฤษภาคม 2560 06:08:25 #1 เนื่องจากผมได้เข้าไปเก็บซากลูกนกที่ตายจากอากาศร้อนและขาดอาหาร ส่วนที่มีอาการร่อแร่ก็ต้องเข้าไปช่วยป้อนอาหาร แต่นกที่เหลือก็มีสุขภาพดีทุกตัวนอกจากลูกมันเท่านั้น หลังจากนั้น 2 วัน ผมรู้สึกปวดศีรษะ อ่อนเพลีย มีไข้นิดๆ แต่ไม่มีน้ำมูก พอถึงช่วงเวลา 9.30-12.00 น.ผมจะเกิดอาการง่วงมากๆ และจำเป็นต้องนอนก่อน หากไม่นอนผมจะปวดศีรษะ ปวดตื้อๆและมีเหงื่อออกมากๆด้วย อยากทราบว่าตามอาการที่เล่ามา ผมมีโอกาสติดเชื้อไข้หวัดนกมั้ย หากอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลียยังไม่ทุเลา ผมจะต้องไปโรงพยาบาลและบอกหมอว่าเป็นอะไรครับ กลัวและเครียดมากๆ ขอบคุณครับ
|
|
อายุ: 54 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 167ซม. ดัชนีมวลกาย : 21.51 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.กิติพร กวียานนท์แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป |
13 พฤษภาคม 2560 04:37:57 #2 ไข้หวัดนก (Avian influenza) บางคนเรียกเป็นตัวย่อว่า เอไอ (AI) หรือบางคนเรียกว่า เบิร์ดฟลู (Bird flu หรือ Avian flu) เป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์หนึ่งที่เกิดในสัตว์ปีก ที่สำคัญ คือ นก ไก่ เป็ด และยังสามารถก่อการระบาดในหมู่สัตว์ปีกเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตาม สามารถติด ต่อสู่คนได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กถึงผู้สูงอายุ ถึงแม้การระบาดจากสัตว์ปีกสู่คนยังพบได้น้อยก็ตาม ทั้งนี้ไข้หวัดนกเป็นโรคที่พบได้บ่อยทั่วโลกทั้งเอเชีย ยุโรป และอเมริกา ไข้หวัดนกเกิดจากสัตว์ปีกติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ก่อโรคในสัตว์เหล่านี้ ซึ่งได้แก่ ไวรัสเอเวียนอินฟลูเอนซาชนิด เอ (Avian influenza virus A) ไวรัสไข้หวัดนกมีได้หลายสายพันธุ์ย่อย โดยแบ่งตามชนิดของโปรตีนที่มีอยู่ในตัวไวรัสได้แก่ โปรตีนชนิดเอช (H) และโปรตีนชนิดเอ็น (N) เช่น ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงโรคสูง (เป็นสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทย), H5N2, H5N3, H5N9, H2N9, H15N9 เชื้อไวรัสไข้หวัดนกโดยทั่วไปมีสัตว์ปีกโดยเฉพาะนกป่า นกเป็ดน้ำ บางครั้งเป็นเสือ หมู ม้า แมวน้ำ สุนัข และสัตว์อื่นเป็นรังโรค โดยเชื้อจะปนออกมาทางอุจจาระและสารคัดหลั่ง (เช่น น้ำ ลายและน้ำมูก) ของสัตว์ที่เป็นรังโรค เมื่อสัตว์ปีกอื่นๆเช่น นกเลี้ยง หรือไก่/เป็ดเลี้ยงได้รับเชื้ออาจโดยกิน/สัมผัสผิวหนังและทางการหายใจ จึงเกิดติดโรคไข้หวัดนกขึ้น ปัจจุบันพบสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นที่ไม่ใช่สัตว์ปีกติดไข้หวัดนกได้เช่น สุนัข แมว หมู เฟอเร็ต และแมวน้ำ ในบางสายพันธุ์ที่รุนแรง (H5N1) หรือการได้รับเชื้อในปริมาณมาก เชื้ออาจติดต่อจากสัตว์สู่คนและคนสู่คนได้ คนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดไข้หวัดนกคือ คนที่ได้รับเชื้อในปริมาณมากมักเป็นผู้เลี้ยงสัตว์ปีกที่มีสัตว์ปีกตายด้วยโรคนี้ในบ้านหรือใกล้บ้าน ในเด็กที่ชอบคลุกคลีกับสัตว์พวกนี้ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลเกี่ยวกับสัตว์พวกนี้ ผู้ทำงานเกี่ยวกับการขนส่งและชำแหละสัตว์ปีก และอาจเป็นคนที่พยาบาลผู้ป่วยติดไข้หวัดนก แต่ปัจจุบันการระบาดจากคนสู่คนยังพบได้น้อยมาก สัตว์ปีกที่ติดไข้หวัดนกมีอาการได้ดังนี้ ท้องเสีย ออกไข่ลดลง หรือไม่ออกไข่ มีเลือดออก ตามข้อต่างๆ ซึม หงอย ตาบวมไอ จาม หายใจลำบาก ตา หงอนและเหนียง บวมคล้ำ ตาแดง และเสียชีวิต คนที่ติดไข้หวัดนกมีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่คือ ไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวด เมื่อยตัว มีน้ำมูกใส น้ำมูกไม่มาก และเมื่อรุนแรงจะมีการติดเชื้อในปอด ปอดบวม อาจติดเชื้อในสมอง (สมองอักเสบ) และเสียชีวิต (ตาย) ได้ ระยะฟักตัวของไข้หวัดนกทั้งในสัตว์ปีกและในคนประมาณ 2 - 14 วัน (บางการศึกษาพบติด เชื้อภายใน 1 วันก็แสดงอาการได้) แต่อาจนานได้ถึง 17 วัน การวินิจฉัยไข้หวัดนกในคนที่สำคัญที่สุดคือ ประวัติสัมผัสโรค ดังนั้นผู้ป่วยทุกคนที่มีอาการ ของไข้หวัดต้องตระหนักข้อนี้ และแจ้งแพทย์พยาบาลเสมอถึงการสัมผัสสัตว์ที่ตายไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์ปีกถึงแม้จะเป็นสัตว์เลี้ยงก็ตาม นอกจากนั้นเช่นเดียวกับการวินิจฉัยไข้หวัดใหญ่คือ จากอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดดูสารภูมิต้านทานโรค และอาจมีการเพาะเชื้อทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ การรักษาไข้หวัดนกในคนเช่นเดียวกับในไข้หวัดใหญ่คือ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ (เพราะไข้หวัดนกเกิดจากไวรัส ซึ่งยาปฏิชีวนะไม่สามารถฆ่าไวรัสได้) ยกเว้นเมื่อติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนและการพักผ่อนไม่เต็มที่ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การแยกผู้ป่วยในช่วงมีไข้และมีอาการอย่างน้อย 7 - 10 วัน รวมทั้งไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น นอกจากนั้นคือ การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ลดโอกาสเชื้อรุนแรง และลดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น และการรักษาประคับประคองตามอาการเช่น ยาลดไข้ เป็นต้น ในรายที่รุนแรงแพทย์อาจให้ยาต้านไวรัสเช่น ยา Oseltamivir (Tamiflu) แต่บางคนอาจดื้อ ยาได้ โดยทั่วไปเมื่อติดเชื้อปริมาณน้อยหรือติดเชื้อชนิดไม่รุนแรงและ/หรือมีสุขภาพแข็งแรง การ ติดเชื้อไข้หวัดนกในคนไม่รุนแรง ผู้ป่วยหายได้ภายใน 1 - 2 สัปดาห์เช่นเดียวกับในไข้หวัดใหญ่ แต่ถ้าติดเชื้อรุนแรงหรือติดเชื้อปริมาณมากและ/หรือสุขภาพไม่แข็งแรง โรครุนแรงถึงเสียชีวิต (ตาย) ได้ดังกล่าวแล้ว นอกจากนั้นความรุนแรงจะสูงขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วยอีกโรคหนึ่ง แต่ที่แพทย์กังวลคือ การกลายพันธุ์ของไวรัสอาจทำให้โรคแพร่จากสัตว์สู่คนและแพร่จาก คนสู่คนได้สูงขึ้น และโรคอาจรุนแรงมากขึ้น การดูแลตนเองคือ เมื่อสัมผัสสัตว์ปีก หรือเข้าไปในแหล่งมีการระบาดของโรค หรือมีสัตว์ปีกตายโดยไม่ทราบสาเหตุ (รวมทั้งสัตว์เลี้ยง) เมื่อมีอาการของไข้หวัด (โรคหวัดทั่วไป) หรือไข้ หวัดใหญ่ตามมา ควรรีบพบแพทย์เสมอถึงแม้มีอาการไม่รุนแรงก็ตาม แต่เมื่ออ่อนเพลียมาก กิน/ดื่มน้ำได้น้อย ไข้สูง และไข้ไม่ลงภายใน 2 วัน และ/หรือ ไอมาก เจ็บหน้าอก สับสน แขน/ขาอ่อนแรง ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้อาเจียนมาก ควรรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมงหรือฉุกเฉิน นอกจากนั้นคือ การป้องกันโรคแพร่กระจายสู่คนใกล้ชิดและสู่ผู้อื่นโดยการ แยกของใช้ส่วนตัวเช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผา รวมทั้งจาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ ป้องกันการแพร่กระจายโรคสู่ผู้อื่นโดย แยกตัว (แยกผู้ป่วย) จนกว่าโรคจะหายดีแล้ว ใช้หน้ากากอนามัย รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) ทิ้งขยะติดเชื้ออย่างถูกวิธีคือ ใส่ถุงดำ ปิดปากถุงให้มิดชิด และปิดป้ายขยะติดเชื้อ การป้องกันไข้หวัดนกในคนหมายถึง เราป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไข้หวัดนกได้แก่ ระมัดระวังการสัมผัสสัตว์ปีกโดยเฉพาะซากสัตว์ปีก ต้องสวมถุงมือยางเสมอเมื่อกำจัดสัตว์ปีกตาย โดยเฉพาะการตายที่ไม่ทราบสาเหตุ ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ผู้ให้การดูแลควบคุมโรค(ติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่เขตฯ) กรณีสงสัยสัตว์ตายจากติดโรคหรือเมื่อสัตว์ตายในปริมาณผิด ปกติ รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เสมอ กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ในทุกๆวันเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่โดยเฉพาะเมื่อต้องเกี่ยวข้องกับโรคนี้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อนทั้งไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก ซึ่งจะส่งผลให้โรครุนแรงมากขึ้น หลีกเลี่ยงผู้ป่วยไข้หวัด ทั้งโรคหวัดทั่วไปและไข้หวัดใหญ่ หลีกเลี่ยงแหล่งเลี้ยงสัตว์ปีก กินเนื้อสัตว์ปีกและไข่ปรุงสุกทั่วถึงเสมอ เพราะเชื้อไข้หวัดนกตายในอุณหภูมิสูงมากกว่า 60 องศาเซลเซียส (C/Celsius) และไม่กินสัตว์ปีกที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือตายจากไข้ หวัดนกไม่ว่าจะปรุงสุกอุณหภูมิสูงเท่าไรก็ตาม |
Kwit*****t