กระดานสุขภาพ

ภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสษ บี
Maxl*****0

10 พฤศจิกายน 2559 06:24:11 #1

ผมได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีที่ทำงานบริษัท แต่ผลการตรวจเลือดออกมาว่า ผม "ไม่มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสษ บี ครับ ผมต้องเข้ารับวัคชีนเพิ่มที่ รพ หรือป่าว แต่ไม่เคยเป็นโรคไวรัสนะคครับ แค่ขาดภูมิคุ้มกัน
อายุ: 25 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 60 กก. ส่วนสูง: 174ซม. ดัชนีมวลกาย : 19.82 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

14 พฤศจิกายน 2559 05:40:09 #2

ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบจากไวรัสชนิดบีในเมืองไทยจำนวนมาก โดยที่ผู้ป่วยเหล่านี้อาจไม่แสดงอาการใด ๆ ผู้ป่วยเหล่านี้ บางคนอาจจะยังไม่เคยทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็นโรคนี้ จนกระทั่งไปตรวจเลือด จึงพบว่าเป็นโรคนี้ก็มี หรือบางคนไปบริจาคโลหิต แล้วจึงทราบว่าเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จำนวนหนึ่งจะกลายเป็นโรคร้ายแรงซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

โรคไวรัสตับอักเสบชนิดติดต่อกันได้อย่างไร

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนมากไม่ทราบว่าติดโรคนี้มาได้อย่างไร การติดต่อของโรคนี้ติดต่อกันได้ ที่สำคัญมี 4 ทาง คือ

  1. ติดต่อทางเลือด โดยได้รับเชื้อจากการได้รับเลือดจากผู้ที่เป็นโรคนี้ ปัจจุบันเราพบการติดต่อทางนี้น้อยลง เพราะเรามีการตรวจเลือดก่อนที่จะนำมาให้คนไข้
  2. ติดต่อทางน้ำลาย การรับประทานอาหารร่วมกับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี มีโอกาสจะติดต่อกันได้ง่าย เพราะการรับประทานอาหารของคนไทยมักจะลืมใช้ช้อนกลาง ทำให้มีโอกาสติดโรคนี้ได้ง่าย
  3. ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคนี้ มีโอกาสจะติดโรคนี้ได้
  4. ติดต่อจากมารดาสู่บุตร การติดต่อนี้จะมีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อได้ในระหว่างคลอด จึงควรมีการตรวจเลือดมารดาในตอนที่ฝากครรภ์ ถ้าพบว่ามารดามีเชื้อโรคนี้อยู่ ควรให้วัคซีนแต่ทารกตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี เป็นอย่างไร

อาการของโรคนี้ แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

  1. มีอาการน้อย จนผู้ที่ได้รับเชื้อเข้าไปแทบจะไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มาทราบทีหลัง โดยการเจาะเลือด หรือไปบริจาคโลหิตจึงทำให้ทราบว่าเป็นโรคนี้
  2. มีอาการชัดเจน ได้แก่ มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหารนำมาก่อน ต่อมามีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะเหลืองเข้ม เมื่อมีอาการตาเหลืองตัวเหลืองเกิดขึ้นแล้ว อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารก็มักจะดีขึ้นหรือหายไป ผู้ป่วยจะมีระยะเวลาที่ตาเหลืองตัวเหลืองไม่เท่ากัน บางคนอาจเป็นเพียงไม่กี่อาทิตย์ แต่บางคนอาจนาน 2-3 เดือน
  3. ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงมาก จนมีอาการซึม ตาเหลือง ตัวเหลือง ไม่รู้สึกตัว ตับมีขนาดเล็กลง ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีโอกาสสูงที่จะเกิดภาวะตับวายและเสียชีวิตในที่สุด แต่โชคดีมีผู้ป่วยจำนวนน้อยมากที่จะเป็นแบบนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาใด ๆ ได้ผลดีที่สุด วิธีที่ได้ผลดีในขณะนี้ก็คือ การเปลี่ยนตับ ซึ่งก็มีปัญหาหลาย ๆ อย่างดังนี้

3.1 มีผู้บริจาคตับจำนวนน้อย ทำให้ไม่เพียงพอที่จะนำมาให้กับผู้ป่วยส่วนใหญ่ ตับที่จะนำมาให้กับผู้ป่วยโรคนี้มักจะได้มาจากผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต แต่ตับยังดีอยู่ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากญาตผู้ป่วยด้วย

3.2 เนื้อเยื่อของตับที่จะนำมาให้กับผู้ป่วยต้องเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อของผู้ป่วยด้วย

3.3 ผู้ป่วยที่มีภาวะตับวาย มักจะมีโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น สมองบวม, ปอดบวม, เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถจะเปลี่ยนตับให้แก่ผู้ป่วยได้

3.4 ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนตับ จำเป็นต้องได้รับการรับประทานยากดภูมิต้านทาน เพื่องป้องกันไม่ให้ร่างกายนั้น มีปฏิกิริยากับตับที่นำมาเปลี่ยนให้ การได้รับยาชนิดนี้นาน ๆ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
ผู้ป่วยที่มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง หรือที่เรียกอีกอย่างว่า อาการดีซ่าน ทุกคนต้องเป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือไม่


ผู้ป่วยที่มีอาการดีซ่านคือ ตาเหลือง ตัวเหลือง ไม่จำเป็นต้องเป็นไวรัสตับอักเสบบี เพราะสาเหตุของอาการดีซ่าน มีได้หลายอย่าง ได้แก่

  1. จากการทำลายของเม็ดเลือดแดงมากเกินปกติ ทำให้เกิดภาวะดีซ่านขึ้นได้ เช่น การให้เลือดผิดหมู่เลือดหรือดรค G-6, P-D เป็นต้น
  2. จากภาวะตับอักเสบซึ่งมีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น

2.1 จากไวรัส เช่น ไวรัสตับอักเสบ ชนิด A, B, C, D และ E

2.2 จากยาบางชนิด ยาหลายตัวที่มีพิษต่อตับ เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ยาซัลฟา, ยาเตตราซัยคลิน, ยาอีรีโทรมัยซิน เป็นต้น ยารักษาโรควัณโรคหลายตัวก็มีพิษต่อตับ นอกจากนี้ยังมียาอีกหลายชนิดซึ่งทำให้เกิดอาการดีซ่านขึ้นได้ ดังนั้นก่อนที่จะรับประทานยาชนิดใด ถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน เพราะยานั้นอาจมีพิษต่อร่างกายได้

2.3 จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ทุกชนิด เช่น เบียร์ วิสกี้ เหล่า ไวน์ เป็นต้น มีโอกาสจะเกิดภาวะตับอักเสบได้ เพราะแอลกอฮอลล์นั้น เมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะมีพิษต่อตับทำให้เกิดอาการดีซ่านขึ้นได้ ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาที่ดื่มด้วย ถ้าดื่มปริมาณมากและระยะเวลานานก็มีโอกาสจะเกิดตับอักเสบได้มากขึ้น

2.4 จากสารพิษบางชนิด ในปัจจุบันมีการใช้สมุนไพรกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งสมุนไพรบางชนิดอาจมีพิษต่อตับได้ ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ดังนั้นการที่จะรับประทานสมุนไพร ไม่ว่าจะเป็นยาลูกกลอน ยาหม้อ, ยาดองเหล้า ฯลฯ จึงควรต้องระมัดระวังว่า อาจมีโอกาสที่จะเกิดอาการดีซ่านขึ้นได้

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี เมื่อเป็นแล้วจะเป็นเรื้อรังทุกราย หรือไม่

- ไม่เป็นตับอักเสบเรื้อรังทุกราย ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสลชนิดบีเข้าไปครั้งแรก จะมีอาการน้อยจนถึงมีอาการรุนแรงดังที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่ผู้ป่วยเหล่านี้ประมาณ 10% เท่านั้น ที่จะเป็นตับอักเสบเรื้อรังหรือพาหะของโรค ส่วนใหญ่ประมาณ 90% จะหายเป็นปกติ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคไวรัสตับบีเรื้อรัง หรือพาหะของโรคนี้ หรือเปล่า

- ถ้าเราไม่เคยมีอาการใด ๆ มาก่อน เราอาจจะไปพบแพทย์ เพื่อขอเจาะเลือดตรวจ ซึ่งแพทย์จะตรวจการทำงานของตับ และตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีด้วย ถ้าผู้ป่วยมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและมีภาวะตับอักเสบด้วย น่าจะเป็นตับอักเสบเรื้อรัง แต่ถ้าจะให้แน่ใจแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาเจาะเลือดอีก 6 เดือน ถ้ายังพบเชื้อและยังมีภาวะตับอักเสบอยู่ ก็แสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคตับเรื้อรังจากไวรัสชนิดบี แต่ถ้าเจาะเลือดแล้วมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แต่ไม่พบภาวะตับอักเสบก็น่าเป็นพาหะของโรคนี้ ถ้าอีก 6 เดือนต่อมา เจาะเลือดแล้วยังพบเชื้อเหมือนเดิม แต่ไม่พบภาวะตับอักเสบ ก็แสดงว่าผู้ป่วยเป็นพาหนะของไวรัสตับอักเสบชนิดบี

ผู้ป่วยที่มีอาการดีซ่าน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะไปพบแพทย์ ซึ่งก็จะทราบว่าเป็นไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ จากการตรวจและเจาะเลือดของแพทย์

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีเรื้อรัง หรือพาหะของโรคนี้มีอันตรายอย่างไร

ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มนี้ มีโอกาสจะเกิดโรคตับแข็ง หรือโรคมะเร็งของตับหรือทั้ง 2 อย่าง ได้สูงกว่าคนที่ไม่เป็นโรคนี้ โรคตับแข็งและโรงมะเร็งของตับเป็นโรคที่ยังรักษาไม่หายในขณะนี้ โรคตับแข็งจะเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ และภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารได้บ่อย

ส่วนโรคเนื้องอกหรือมะเร็งของตับนั้นเมื่อเป็นแล้ว ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ การรักษาในขณะนี้ที่พอจะได้ผล ก็ได้แก่การผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออก และการใช้ยาฉีดทำลายเซลล์มะเร็ง โดยผ่านสายฉีด เข้าไปทางเส้นเลือดที่ไปสู่ก้อนเนื้องอกของตับโดยตรง แต่ไม่ว่าเราจะรักษาด้วยวิธีใด ๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ก็มีอายุไม่ยืนยาว ส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 1 ปี หรือน้อยกว่าถ้าไม่รักษาก็อยู่ได้ประมาณ 4-6 เดือน

เราจะมีวิธีป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร

ในปัจจุบัน วิธีป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้โดยการฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่ดีที่สุดการเลือกฉีดวัคซีน จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

  1. ในเด็ก การฝากครรภ์จะทำให้ทราบว่ามารดามีเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือไม่ ถ้าเป็นโรคนี้ควรให้วัคซีนแก่ทารก ตั้งแต่แรกคลอดให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งถ้าเด็กได้รับเชื้อตั้งแต่แรกเกิดแล้ว จะมีโอกาสเป็นตับแข็ง หรือเนื้องอกของตับตั้งแต่อายุยังน้อย ส่วนในเด็กที่คลอดจากมารดาที่ปกติ ในปัจจุบันก็ควรได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่เด็กด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อเมื่อเด็กโตขึ้น
  2. ในผู้ใหญ่ ขึ้นอยู่กับคน ๆ นั้น จะเสี่ยงต่อการติดโรคได้มากน้อยเพียงใด ถ้าเสี่ยงต่อการติดโรคนี้ ก็ควรได้รับการฉีดวัคซีน แต่ก่อนฉีดวัคซีนควรได้รับการเจาะเลือดตรวจก่อนว่ามีภูมิต้านทานโรคนี้หรือยัง เพราะว่ามีคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อเจาะเลือดดูจะพบว่ามีภูมิต้านทานอยู่แล้ว หรืออาจมีเชื้ออยู่ในร่างกายแล้ว ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องฉีดในคนสูงอายุ อาจไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน ก่อนฉีดวัคซีนควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
Maxl*****0

19 พฤศจิกายน 2559 08:11:00 #3

สรุปคือผมต้องอย่างไร ขอสรุปสั้นๆ ครับ 1.คือผมได้รับการตรวจเลือดแล้ว 2.คือผลออกมาปกติ ไม่การติดเชื้อ 3.คือภูมิคุ้มกันไวรัส บี ผมไม่มี 4.คือผมต้องรับวัคชีลเพิ่มหรือไม่ 5.ถ้าไม่ผมต้องเข้ารับการตรวจเลือดอีกรอบหรือป่าว