กระดานสุขภาพ
สอบถามอันตรายของแสงแดดต่อดวงตา | |
---|---|
28 กรกฎาคม 2560 05:16:49 #1 ช่วงเช้าๆ ก่อนจะตื่นนอนจะมีแสงแดดส่องมาที่หน้าอ่ะครับ อยากทราบว่าแสงแดดจะมีอันตรายต่อดวงตาหรือไม่ครับถ้าเราหลับตาอยู่ เพราะบางทีรู้สึกเคืองตาเวลาตื่นนอนไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะแสงแดดหรือตอนนอนเผลอขยี้ตา |
|
อายุ: 22 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 66 กก. ส่วนสูง: 167ซม. ดัชนีมวลกาย : 23.67 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.มณฑากร อภิญญาณกุลจักษุแพทย์ |
29 กรกฎาคม 2560 08:43:52 #2 สวัสดีค่ะ เรื่องของแสงแดดว่ามีผลต่อดวงตาหรือป่าวนั้น หมอขออธิบายกว้างๆ ดังนี้ นะคะ คือ แสงแดดนั้น แบ่งตามความยาวคลื่นเป็นหลายชนิด และแต่ละความยาวคลื่นจะสามารถผ่านเข้าไปในแต่ละชั้นของดวงตาได้แต่ต่างกันค่ะ -ในคลื่นความยาวของ UVB คือความยาวคลื่นน้อยกว่า 320 นาโนเมตร เมื่อกระทบดวงตาเรา กระจกตาและช่องหน้าม่านตาที่มีองค์ประกอบเป็นวิตามินซีละลายอยู่เป็นจำนวนมากจะดูดซับคลื่นแสงความยาวนี้ค่ะ ที่เหลือนิดหน่อยก็ถูกดูดซับโดยผิวด้านหน้าของเลนส์ตาค่ะ -ความยาวคลื่น UVA คือความยาวคลื่นระหว่าง 320-400 นาโนเมตร จะสามารถเข้าสู่ดวงตาเราได้ลึกกว่า UVB หรือสามารถเข้าไปในชั้นลึกของเลนส์ได้ ในเลนส์ตาที่อายุน้อยๆ จะมีกลไลของร่างกายทำให้สามารถป้องกันอันตรายที่เกิดจากผลกระทบนี้ได้ แต่เมื่อเราอายุมากขึ้นกลไกป้องกันดังกล่าวลดลง ทำให้เลนส์ตาเราขุ่นขึ้นได้ หรือเรียกว่าต้อกระจกได้ค่ะ กลไกของร่างกายที่ช่วยป้องกันส่วนใหญ่ คือ ร่างกายเราจะผลิตสารต้านอนุมูลอิสระ แต่พออายุเพิ่มขึ้นการผลิตสารดังกล่าวลดลง ทำให้กลไลการป้องกันลดลงด้วยค่ะ -แสงความยาวคลื่น 350-400 นาโนเมตร ยังสามารถผ่านมาถึงจอประสาทตาได้ ทำให้เกิดอันตรายต่อจอประสาทตาได้ค่ะ แม้จะมีกระจกตาและเลนส์ตาดูดซับแสงบางส่วนไปแล้ว โดยเฉพาะเลนส์ตาที่มีอายุน้อย เลนส์ตายังใส ไม่มีต้อกระจก แสงความยาวคลื่นนี้ยังสามารถผ่านเข้าสู่จอประสาทได้ค่ะ แต่ถ้าเป็นเลนส์ตาที่มีอายุมาก เลนส์ตาสีจะค่อนข้างเหลือง หรือเลนส์ตาที่มีต้อกระจกจะดูดซับแสงความยาวคลื่นน้อยกว่า 400 นาโนเมตรเกือบ 100% ดังนั้นในคนสูงอายุจะมีแสง UV เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยที่จะสามารถผ่านเข้าสู่จอประสาทได้ค่ะ -นอกจากแสง UV แล้ว แสงสีฟ้า ที่มีความยาวคลื่น ประมาณ 400-500 นาโนเมตร ก็สามารถเป็นอันตรายต่อจอประสาทตาได้เช่นกัน โดยเชลล์รับแสงของจอประสาทตา (photoreceptors) เมื่อโดนแสงสีฟ้าก็จะมีกลไลทำให้เชลล์ตาย หรือเป็นโรคจอประสาทตาได้ อาจเนื่องมาจากการสร้าง สาร A 2E ทำให้สารพันธุกรรม DNA ถูกทำลาย มีการตายของเชลล์เม็ดสีของจอประสาทตา (RPE) แต่อย่างไรก็ตามในจอประสาทตาจะมี carotenoids เช่น lutein และ zeaxanthin เป็นตัวดูดซับแสงสีฟ้านี้ ถือเป็นกลไลตามธรรมชาติในการป้องกันจอประสาทตาจากแสงสีฟ้าค่ะ บางคนขณะนอนหลับตาไม่สนิท ทำให้มีตาแห้งได้ หลังตื่นนอนจึงรู้สึกตาแห้ง แสบตา ลืมตาไม่ขึ้น ตามัว พอได้กระพริบตาทำให้มีน้ำตามาเคลือบกระจกตา อาการก็ดีขึ้น ลืมตาได้ แสบตาน้อยลง มองเห็นภาพชัดขึ้นค่ะ วิธีแก้ไขเบื้องต้น ถ้าเกิดจากสาเหตุตาแห้งนี้ คือ - การหยอดน้ำตาเทียมก่อนนอน อาจเป็นชนิดเจลก็ได้ จะทำให้น้ำตาเทียมอยู่นานกว่าน้ำตาเทียมชนิดน้ำค่ะ แต่น้ำตาเทียมแบบน้ำก็ช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกันนะคะ - ใช้เทปปิดตาขณะนอนหลับค่ะ เพื่อให้ตาปิดสนิทเวลานอน ลดการระเหยของน้ำตาขณะนอนหลับได้ ทำให้ตาแห้งลดลงค่ะ - หาสาเหตุอื่นๆ ซึ่งอาจต้องตรวจโดยจักษุแพทย์ เช่น การตรวจการกลอกตา ปกติเวลาหลับตา ลูกตาจะกลอกขึ้นข้างบน ถ้าการกลอกตาขึ้นบนขณะหลับตามีปัญหาก็มีผลได้ หรือเกิดจากการหลับตาไม่สนิทจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 เป็นอัมพาต หรือเกิดจากการผ่าตัดหนังตาบางประเภท เกิดจากแผลเป็นบริเวณหนังตามีการดังรั้งทำให้หลับตาไม่สนิท เกิดจากการอักเสบของหนังตา ทำให้หนังตาผิดรูป โรคของกระจกตาบางชนิดที่ทำให้มีกระจกบวมตอนเช้า เป็นต้น ขอบคุณค่ะ |
พญ.มณฑากร อภิญญาณกุลจักษุแพทย์ |
29 กรกฎาคม 2560 08:43:52 #3 สวัสดีค่ะ เรื่องของแสงแดดว่ามีผลต่อดวงตาหรือป่าวนั้น หมอขออธิบายกว้างๆ ดังนี้ นะคะ คือ แสงแดดนั้น แบ่งตามความยาวคลื่นเป็นหลายชนิด และแต่ละความยาวคลื่นจะสามารถผ่านเข้าไปในแต่ละชั้นของดวงตาได้แต่ต่างกันค่ะ -ในคลื่นความยาวของ UVB คือความยาวคลื่นน้อยกว่า 320 นาโนเมตร เมื่อกระทบดวงตาเรา กระจกตาและช่องหน้าม่านตาที่มีองค์ประกอบเป็นวิตามินซีละลายอยู่เป็นจำนวนมากจะดูดซับคลื่นแสงความยาวนี้ค่ะ ที่เหลือนิดหน่อยก็ถูกดูดซับโดยผิวด้านหน้าของเลนส์ตาค่ะ -ความยาวคลื่น UVA คือความยาวคลื่นระหว่าง 320-400 นาโนเมตร จะสามารถเข้าสู่ดวงตาเราได้ลึกกว่า UVB หรือสามารถเข้าไปในชั้นลึกของเลนส์ได้ ในเลนส์ตาที่อายุน้อยๆ จะมีกลไลของร่างกายทำให้สามารถป้องกันอันตรายที่เกิดจากผลกระทบนี้ได้ แต่เมื่อเราอายุมากขึ้นกลไกป้องกันดังกล่าวลดลง ทำให้เลนส์ตาเราขุ่นขึ้นได้ หรือเรียกว่าต้อกระจกได้ค่ะ กลไกของร่างกายที่ช่วยป้องกันส่วนใหญ่ คือ ร่างกายเราจะผลิตสารต้านอนุมูลอิสระ แต่พออายุเพิ่มขึ้นการผลิตสารดังกล่าวลดลง ทำให้กลไลการป้องกันลดลงด้วยค่ะ -แสงความยาวคลื่น 350-400 นาโนเมตร ยังสามารถผ่านมาถึงจอประสาทตาได้ ทำให้เกิดอันตรายต่อจอประสาทตาได้ค่ะ แม้จะมีกระจกตาและเลนส์ตาดูดซับแสงบางส่วนไปแล้ว โดยเฉพาะเลนส์ตาที่มีอายุน้อย เลนส์ตายังใส ไม่มีต้อกระจก แสงความยาวคลื่นนี้ยังสามารถผ่านเข้าสู่จอประสาทได้ค่ะ แต่ถ้าเป็นเลนส์ตาที่มีอายุมาก เลนส์ตาสีจะค่อนข้างเหลือง หรือเลนส์ตาที่มีต้อกระจกจะดูดซับแสงความยาวคลื่นน้อยกว่า 400 นาโนเมตรเกือบ 100% ดังนั้นในคนสูงอายุจะมีแสง UV เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยที่จะสามารถผ่านเข้าสู่จอประสาทได้ค่ะ -นอกจากแสง UV แล้ว แสงสีฟ้า ที่มีความยาวคลื่น ประมาณ 400-500 นาโนเมตร ก็สามารถเป็นอันตรายต่อจอประสาทตาได้เช่นกัน โดยเชลล์รับแสงของจอประสาทตา (photoreceptors) เมื่อโดนแสงสีฟ้าก็จะมีกลไลทำให้เชลล์ตาย หรือเป็นโรคจอประสาทตาได้ อาจเนื่องมาจากการสร้าง สาร A 2E ทำให้สารพันธุกรรม DNA ถูกทำลาย มีการตายของเชลล์เม็ดสีของจอประสาทตา (RPE) แต่อย่างไรก็ตามในจอประสาทตาจะมี carotenoids เช่น lutein และ zeaxanthin เป็นตัวดูดซับแสงสีฟ้านี้ ถือเป็นกลไลตามธรรมชาติในการป้องกันจอประสาทตาจากแสงสีฟ้าค่ะ บางคนขณะนอนหลับตาไม่สนิท ทำให้มีตาแห้งได้ หลังตื่นนอนจึงรู้สึกตาแห้ง แสบตา ลืมตาไม่ขึ้น ตามัว พอได้กระพริบตาทำให้มีน้ำตามาเคลือบกระจกตา อาการก็ดีขึ้น ลืมตาได้ แสบตาน้อยลง มองเห็นภาพชัดขึ้นค่ะ วิธีแก้ไขเบื้องต้น ถ้าเกิดจากสาเหตุตาแห้งนี้ คือ - การหยอดน้ำตาเทียมก่อนนอน อาจเป็นชนิดเจลก็ได้ จะทำให้น้ำตาเทียมอยู่นานกว่าน้ำตาเทียมชนิดน้ำค่ะ แต่น้ำตาเทียมแบบน้ำก็ช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกันนะคะ - ใช้เทปปิดตาขณะนอนหลับค่ะ เพื่อให้ตาปิดสนิทเวลานอน ลดการระเหยของน้ำตาขณะนอนหลับได้ ทำให้ตาแห้งลดลงค่ะ - หาสาเหตุอื่นๆ ซึ่งอาจต้องตรวจโดยจักษุแพทย์ เช่น การตรวจการกลอกตา ปกติเวลาหลับตา ลูกตาจะกลอกขึ้นข้างบน ถ้าการกลอกตาขึ้นบนขณะหลับตามีปัญหาก็มีผลได้ หรือเกิดจากการหลับตาไม่สนิทจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 เป็นอัมพาต หรือเกิดจากการผ่าตัดหนังตาบางประเภท เกิดจากแผลเป็นบริเวณหนังตามีการดังรั้งทำให้หลับตาไม่สนิท เกิดจากการอักเสบของหนังตา ทำให้หนังตาผิดรูป โรคของกระจกตาบางชนิดที่ทำให้มีกระจกบวมตอนเช้า เป็นต้น ขอบคุณค่ะ |
Anonymous