กระดานสุขภาพ
โรคศูนย์กลางจอประสาทตาบวมน้ำ | |
---|---|
28 พฤศจิกายน 2559 02:20:43 #1 ตาขวาเวลามองเหมือนมีอะไรมาบัง เทียบกับตาซ้ายแล้วตาขวามองวัตถุเดียวกันอยู่ไกลกว่าครับ เป็นมา4-5เดือนหาหมออยู่ อยากทราบว่าถ้ายังไม่หายอีกจะมีแนวทางรักษาอย่างไร เลเซออันตรายไหมครับ |
|
อายุ: 42 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 64 กก. ส่วนสูง: 168ซม. ดัชนีมวลกาย : 22.68 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
พญ.มณฑากร อภิญญาณกุลจักษุแพทย์ |
9 ธันวาคม 2559 04:41:08 #2 สวัสดีค่ะ จากอาการที่ตาขวามองเห็นวัตถุเหมือนวัตถุอยู่ไกลกว่านั้น น่าจะเกิดจากศูนย์กลางจอประสาทตายังบวมน้ำอยู่ (macular edema) การที่จอประสาทตามีภาวะบวมน้ำนั้น จะทำให้เหมือนคนสายตายาว มองเห็นภาพไกลกว่าเดิม มีขนาดของภาพเล็กลงได้ ตามัวลง เห็นภาพบิดเบี้ยวได้ เห็นสีลดลง ซึ่งมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้ เช่น
โดยการทำเลเซอร์ร้อน(thermal laser photocoagulation)นั้น จะต้องทำการฉีดสีฟลูออเรสซีนเข้าในเส้นเลือดที่แขน (fluorescein angiography) แล้วให้สีผ่านเส้นเลือดไปที่ตา แล้วถ่ายภาพดูที่จอประสาทตาว่ามีเส้นเลือดใดมีความผิดปกติ มีการรั่วของสีผิดปกติที่เส้นเลือดจอตาบริเวณใด ก็ทำการยิงเลเซอร์ตรงบริเวณเส้นเลือดที่มีความผิดปกตินั้น การรักษาโดยวิธีนี้จะสามารถทำให้โรคหายเร็วขึ้น จากนั้นจะทำการตรวจจอประสาทตาอีกครั้งประมาณ 3-4 สัปดาห์ เพื่อดูว่ามีภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการยิงเลเซอร์ชนิดนี้หรือไม่ คือ การเกิดเส้นเลือดงอกใหม่ที่ชั้นคอรอยด์ (postlaser choroidal neovascularization) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ประมาณ 2 % แต่ถึงแม้ไม่ได้รักษาด้วยการยิงเลเซอร์ดังกล่าวก็มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดเส้นเลือดงอกใหม่ที่ชั้นคอรอยด์ (postlaser choroidal neovascularization) นี้เช่นกัน การรักษาด้วยเลเซอร์เย็น (Verteporfin photodynamic therypy) ซึ่งจำเป็นต้องทำการฉีดสีฟลูออเรสซีนเข้าในเส้นเลือดที่แขน (fluorescein angiography)แล้วให้สีผ่านเส้นเลือดไปที่ตา แล้วถ่ายภาพดูที่จอประสาทตาว่ามีเส้นเลือดใดมีความผิดปกติ มีการรั่วของสีผิดปกติที่เส้นเลือดจอตาบริเวณใดเช่นเดียวกับการรักษาด้วยเลเซอร์ร้อน(thermal laser photocoagulation) เพื่อหาเส้นเลือดที่มีความผิดปกติเสียก่อน จากนั้นฉีดสารที่ช่วยจับกับเส้นเลือดที่มีความผิดปกตินั้น แล้วจึงทำการยิงเลเซอร์ ซึ่งเลเซอร์ก็จะออกฤทธิ์ที่บริเวณเส้นเลือดที่มีความผิดปกติที่มีสารที่เราฉีดเข้าไปก่อนจับอยู่ ทำให้การยิงเลเซอร์เฉพาะเจาะจงกับเส้นเลือดที่มีความผิดปกติมากกว่า โอกาสยิงเลเซอร์โดนเส้นเลือดปกติน้อยกว่า โดยการรักษาวิธีนี้นั้น ก็ทำให้การรั่วของเส้นเลือดที่มีความผิดปกติหายไป และอาจทำให้การมองเห็นดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคนี้ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นร่วมด้วยค่ะ และในกรณีที่เป็นโรคนานไม่หายสักที เกิดโรคซ้ำหลังจากหายไปแล้ว ก็อาจรักษาด้วยยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมนพวก mifepristone, finasteride, spinololactone, eplerenone หรือยารักษาโรคเชื้อรา เช่น ketoconazole หรือยากันชัก เช่น valpoic acid ซึ่งยาเหล่านี้มีกลไลออกฤทธิ์เกี่ยวกับการทำปฎิกิริยากับสารสเตียรอยด์ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคค่ะ แต่ผลการรักษายังมีความหลากหลายอยู่ค่ะ แต่หากจอภาพบวมน้ำที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ข้างต้น จากข้อ 1-7 ก็รักษาตามสาเหตุนั้น ๆนะคะ ที่ทำให้เกิดจอประสาทตาบวมน้ำ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่สาเหตุของโรคค่ะ ขอให้หายเร็วๆ กลับมาเห็นเป็นปกติไว ๆนะคะ มณฑากร อภิญญาณกุล |
Luci*****p