กระดานสุขภาพ
เรื่องฟมอนรองกระดูกครับ | |
---|---|
11 ตุลาคม 2556 18:22:11 #1 คุณหมอครับ ผมป่วยเป็นโรคนี้มาประมาณหกเดือน(อาจมากกว่านั้น)แล้วครับ ช่วงแรกๆไปโรงพยาบาลหมอให้ทำกายภาพบำบัด ประมาณสามเดือน พอหมดคอสแล้วหมอบอกว่าลองลดปริมาณยาดู ว่าจะอยู่ได้ไหม จนมาถึงทุกวันนี้ผมก็ยังปวดอยู่ ทำอะไรก็รำบาก นั่งเรียนนานๆก็ปวด เลยอยากจะถามว่าโรคนี้ถ้าเป็นแล้วมันต้องเป็นไปตลอดเลยเหรอครับ ผมถามหมอเค้าบอกว่ามันก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆต้องระวังไปตลอด ผเลยคิดว่าตอนนี้ยังเรยนอยู่เจ็บนิดเจ็บหน่อยก็ทนๆไป แต่หากผมเรียนจบไป ทำงานแล้วมันยังไม่หายหละผมจะทำยังไง หรือผมเข้าใจไม่ถูกเอง คิดมากไปเอง ขอคำแนะนำจากคุณหมอด้วยครับ |
|
อายุ: 19 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 82 กก. ส่วนสูง: 175ซม. ดัชนีมวลกาย : 26.78 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9) | |
นพ. สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์แพทย์ออร์โธปิดิกส์ |
16 ตุลาคม 2556 14:50:02 #2 หมอนรองกระดูกสันหลังอาจมีการเคลื่อนออกมากดเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลัง เส้นประสาทนี้มีหน้าที่รับความรู้สึกและควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อจากหลังถึงสะโพก ขา และเท้า คนที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนจะมีอาการปวดเอวร้าวลงจากสะโพกไปถึงขาและเท้า อาการปวดจะเป็นมากขึ้นในบางอิริยาบถ ได้แก่ นั่งนานๆ ยืน หรือเดินนานๆ และยกของหนัก ถ้าอาการเป็นมากจะทำให้เกิดอาการชาบริเวณขาและเท้า รวมทั้งอาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาและเท้าร่วมด้วย การรักษาโดยการหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้อาการปวดมากขึ้น ทำกายภาพบำบัด ทำกายบริหาร เพื่อให้กล้ามเนื้อหลัง หน้าท้อง และขาแข็งแรง อาการของโรคอาจเป็นเรื้อรังเป็นเดือน ส่วนมากบางครั้งมีอาการปวดมาก บางครั้งมีอาการทุเลา ขึ้นกับการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆของผู้ป่วย ถ้าหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมามาก หรือแตก ทำให้ผู้ป่วยอาการปวดมาก ชา หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด คุณยังอายุน้อย การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง และการทำกายบริหาร เป็นหนทางที่ดีในการรักษาและป้องกันไม่ให้อาการเป็นมากขึ้น |
Harm*****y |
17 ตุลาคม 2556 19:50:40 #3 แล้วมันมีโอกาสที่จะกลับเข้าที่ไปเหมือนเดิมไหมครับ หรือว่าผมทำได้แค่พยุงตัวไว้ไม่ให้อาการหนักกว่านี้ |
นพ. สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์แพทย์ออร์โธปิดิกส์ |
22 ตุลาคม 2556 12:52:35 #4 โอกาสที่หมอนรองกระดูกกลับเข้าอย่างเดิมมีน้อยครับ แต่ร่างกายมีโอกาสปรับตัว คือข้อต่อกระดูกสันหลัง ส่วนนี้จะเชื่อมกันแข็งตัว ทำให้การขยับเขยื่อนน้อยลง โอกาสหมอนกระดูกส่วนที่เคลื่อนจะไปกดเส้นประสาทน้อยลง การดูแลรักษาตัวเอง เพื่อไม่ให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนมากขึ้น เป็นวิธีการที่ดีแล้วครับ
นพ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์ |
Harm*****y