กระดานสุขภาพ

การออกกำลังที่เหมาะสมสำหรับ ผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูสันหลัง
Anonymous

30 กรกฎาคม 2559 16:05:10 #1

ผมอยากให้คุณแม่ ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอครับ แต่อยากรู้ว่าท่าทาง, ลักษณะของการออกำลังกายหรือวิธีการแบบไหนที่จะเหมาะสมกับคุณแม่? ควรจะพิจารณาอย่างไร?

** พอดีคุณแม่ อายุ 50 ปี น้ำหนัก 70กิโลกรัม มีอาการชาบริเวณปลายมือ ปลายเท้า ครับ มีอาการปวดเอวเรื้อรังมานานละครับ เป็นๆหายๆแล้วแต่การทำงาน คาดว่า ประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว เคยผ่าตัดมดลูกออกไปบางส่วน .. สองอาทิตย์ก่อนแพทย์แผนจีน วินิจฉัยประกอบกับฟิล์ม Xrayบริเวณคอ(ซึ่งเห็นไม่หมด) ว่าเป็น กระดูกคอเสื่อม ส่วนC5-6 สองวันก่อน ไปหาแพทย์แผนปัจจุบัน ตรวจร่างกาย + ระบบประสาท (ไม่ได้ดูฟิล์ม xray) บอกว่ามีปัญหากระดูกสันหลัง lumbar ซึ่งตอนแรกผมศึกษา ก็คาดว่าเป็น cervical spondylosis แต่ หมอบอกที่ชามืออาจเพราะพังผืดมากกว่า... หมอแนะนำให้ MRI ไปเลย แต่ยังไม่ได้ทำครับ และหมอก็บอกว่า อาการยังไม่หนักมาก และจ่าย arcoxia 90mg กับ vit.ฺB12 มาให้ .

ด้วยความที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายบ่อย จากผลตรวจเลือด คุณแม่มี cholesterol = 293 mg/dl , LDL 196.4mg/dl และ uric acid 6.4mg/dl (BMI >25)

ผมจึงอยากให้คุณแม่ออกกำลังกายครับ ซึ่งตอนนี้ กำลังจะซื้อ เครื่องออกกำลังกาย ใช้เครื่องเดินวงรี แบบตัวนี้

http://haamor.com/media/images/webboardpics/27e66-30467 .jpg

<ซึ่งมีเบาที่นั่งด้วย> ให้คุณแม่ออกกำลังกาย จะเหมาะสมกับ โรค..ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง หรือตามลักษณะที่คุณแม่เป็นไหมครับ?

คืออยากทราบว่าจะทำให้กระดูกมีปัญหาเพิ่มไหม? หรือถ้าใช้เครื่องนี้ได้ควรจะมีข้อควรระวังอย่างไรเป็นพิเศษหรือไม่ ขอคำแนะนำ ชีแนววิธีการปฏิบัติจากคุณหมอด้วยครับ ขอบคุณครับ ^^

อายุ: 50 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 72 กก. ส่วนสูง: 153ซม. ดัชนีมวลกาย : 30.76 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
นพ. ฤทธิ์ อภิญญาณกุล

แพทย์ออโธปิดิกส์

25 สิงหาคม 2559 04:40:57 #2

เนื่องจากไม่สามารถเปิดดูรูปในไฟล์ที่แนบมาได้ จึงยังไม่สามารถระบุได้ว่าสามารถใช้ได้และเหมาะสมกับภาวะหรือโรคที่เป็นอยู่ได้หรือไม่ครับ

โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อม จะมีอาการได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับโครงสร้างที่เป็นปัญหาครับ

- กระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม ร่วมกับภาวะช่องกระดูกสันหลังตีบ(Degenerative spine and lumbar spinal stenosis) จะทำให้มีอาการปวดร้าวลงขา เท้า หรือข้อเท้า มีอาการชามากขึ้นเวลาเดินไกล หรือยืนนาน อาจทำให้มีอาการรองเท้าหลุด เนื่องจากการอ่อนแรง หลังจากเดินไปได้ระยะทางประมาณหนึ่ง ยืนอาบน้ำไม่เสร็จ ต้องหาที่นั่งพัก

- กระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน ร่วมกับภาวะช่องกระดูกสันหลังตีบ(Degenerative spondylolisthesis and lumbar spinal stenosis) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเวลาก้มเงย หยิบของ หรือลุกจากท่านอนเป็นท่านั่ง โดยเฉพาะเวลาช่วงเช้าของวัน หรือลุกจากเก้าอี้ได้ลำบาก หลังจากนั่งเป็นระยะเวลานาน ๆ อาการปวดหลังจะเด่น พอ ๆ กับอาการปวดร้าวลงขา และชาขา

- หมอนรองกระดูกเสื่อม(Degenerative disc disease) จะทำให้มีอาการปวดหลังร้าวลงก้นกบเป็นอาการเด่น อาการปวดร้าวลงขาจะไม่ชัดเจน

- กระดูกสันหลังหักหรือยุบตัว ร่วมกับภาวะกระดูกพรุนชนิดรุนแรง(Vertebral collapse and severe osteoporosis) ผู้ป่วยมักจะปวดเอวเป็นหลัก อาจมีปวดร้าวลงขา หรือชาขา ได้ในกรณีมีการกดทับรากประสาท(nerve root) อาจจำเป็นต้องตรวจ X-ray และ/หรือตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก(Bone mineral density)

แต่ละโรคก็จะมีวิธีการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์ แตกต่างกันไป ซึ่งโดยทั่วไปสามารถที่จะเดิน เดินเร็ว วิ่ง หรือใช้เครื่องออกกำลังกายกลุ่มที่เน้นการเดินหรือวิ่งได้โดยไม่เป็นอันตรายครับ

Anonymous

13 กันยายน 2559 19:31:03 #3

1

http://f.ptcdn.info/703/043/000/o928y55efV6fmFMuVDu-o.jpg

http://df.lnwfile.com/_/df/_raw/q2/t1/y3.jpg

http://cx.lnwfile.com/_/cx/_raw/k1/01/t7.jpg

เครื่องตามรูปนี้เลยครับ