กระดานสุขภาพ

ลื่นล้ม เข่าด้านในกระแทกครับ
Chan*****a

6 พฤศจิกายน 2555 04:29:08 #1

เรียนสอบถามคุณหมอ ภาสกร นะครับ (ลื่นล้ม เข่าด้านในกระแทกครับ) ผมอายุ 47 สูง 167ซม หนัก 67 กก ปกติดี วิ่งออกกำลังบ้าง แต่มาเกิดอุบัติเหตุ แค่เดินหน้าบ้านพื้นลี่น แล้ว ขาขวาลี่นไปด้านหน้า ขาซ้ายพับลงเข่าด้านในบิดลงกระแทก ได้ยินเสียงกึกๆ เหมือนเข่าจะหลุด ไม่กล้าขยับขา จับขากลับตรงๆได้ แต่ตึงๆๆ แล้วก็ต้องอุ้มขึ้น ลงน้ำหนักรู้สึกเจ็บๆๆ เข่าบวมนิดหน่อย ไม่มีรอยช้ำ รอยเลือด รีบไปหาคุณหมอกระดูก ส่ง X-ray ดูบอกว่ากระดูกไม่หัก แต่เอ็นด้านข้างน่าจะขาด เอ็นหน้าหลัง ไม่เป็นไร คุณหมอใส่เผือกอ่อนแค่ต้นขากับน่อง (แปลกใจเหมือนกัน เดินได้เลย ไม่เจ็บไม่ปวด) แล้วให้ประคบเย็น ให้ยาลดบวม, AECO กับ Gabutin มาทาน 2อาทิตย์เอาเผือกออก งอขาไม่ได้เอ็นยืด ทานยามารวมเดือนกว่า ค่อยๆๆงอขาได้ จนจะสุดแล้ว เดินก็เกือบปกติ หมอบอกว่าให้เกร็งขายกตรงๆสร้างกล้ามเนื้อ และทานยาต่อไปอีกเดือนก็ปกติแล้ว

ผมถามคุณหมอว่ามันเจ็บแปล๊บๆ ในเข่า ท่านบอกว่าไม่เป็นไรแค่น่ารำคาญ อ่านในนี้คุณหมอบอกให้ทำ MRI เลยถามคุณหมอ ท่านบอกว่าไม่ต้องหรอก แค่นี้พอแล้ว อายุเยอะ ตามวัย ไม่ต้องทำไรมาก ไม่ได้เล่นกีฬาหนักๆ ตอนนี้ก็รู้สึกเข่าขยับซ้ายขวาแล้วจะยังเจ็บอยู่นิดๆ แต่เดินปกติขยับหน้าหลังไม่เป็นไร แต่กล้ามเนื้อยังอ่อนแรงอยู่

ไม่สบายใจเลยไปอีกรพ. คุณหมอจับขายก กด ตรวจดู บอกว่าเอ็นหน้าไม่เป็นไร เอ็นหลังขาด ขาทรุด ให้ใส่ตัวประคองขา และบอกทำ MRI ผลเป็นตามด้านล่าง

MRI OF THE LEFT KNEE; TECHNIQUE AND SEQUENCES; 3.0T Sagittal obl; TSE PD, TSE T2W FS Axial; TSE PD FS Coronal; TSE T1W, TSE T2W FS, T2-FFE Coronal obl; TSE T2W FS

FINDINGS;

The study reveals mild anterior tibial subluxation. There is normal alignment of the patellofemoral joint. There is no gross fracture. There is bone bruise at lateral femoral condyle, lateral tibial plateau and minimally at medial tibial plateau. There is no other abnormal marrow SI.

The medial and lateral meniscus are of normal shape and SI.

ACL is absent in its normal course. There is PCL angulated with increased PDWT2W SI at tibial attachment.

There is thickened increased T2W SI of LCL. MCL and iliotibial band are of normal course and SI. There is increased T2W SI of soft tissue surrounding the MCL.

The quadriceps and patellar tendons are of normal course and SI.

There is thickening with increased T2W SI of the medial patellar retinacula. The lateral patellar retinacula is unremarkable.

There is small amount of joint effusion. There is moderate amount of fluid in supra-retropatellar bursae and medial-lateral gutters.

There is focal increased T2W SI of medial facet of the patellar cartilage.

The neurovascular structures are intact.

There is diffuse subcutaneous tissue swelling around the knee.

There is a small Baker’s cyst at posteromedial aspect of knee.

IMPRESSION;

- Mild anterior tibial subluxation.

- Bone contusion at lateral femoral condyle, lateral tibial plateau and minimally at medial tibial plateau.

- Complete tear of ACL.

- Partial tear of PCL, at tibial attachment.

- Partial tear of LCL.

- Increased T2W SI of soft tissue surrounding the MCL, possibly due to sprain.

- Partial tear of the medial patellar retinacula.

- Small amount of joint effusion.

- Moderate amount of fluid in supra-retropatellar bursae and medial-lateral gutters, representing bursitis.

- Gr. 2 chondromalacia patellae at medial patellar facet.

- Diffuse subcutaneous tissue swelling around the knee.

- A small Baker’s cyst at posteromedial aspect of knee.

คุณหมอบอกไม่ได้อธิบายอะไรมาก บอกว่าเอ็นหน้าขาด ต้องผ่าตัด แต่ยังไม่รีบ ให้ใส่ตัวประคองไปอีกเดือนก่อน ให้เอ็นหลัง กับข้าง ดีก่อนค่อยผ่าตัด แต่ทำทีเดียวไม่ได้ ท่านบอกว่าขาโก่งนิดหน่อย ต้องผ่าตัดกระดูกแบบเปิดทำให้ตรงก่อน แล้วค่อยซ่อมเอ็นหน้า (ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีอาการปวดเข่าเลย ปกติดีครับ)

ยาวหน่อยนะครับ รบกวนถามคุณหมอ

1. รบกวนขอความเข้าใจใน MRI , มีโอกาสที่จะผิดไหมครับ เพราะตอนตรวจ จับยกขาท่อนล่างดูก็ไม่เป็นไร ไม่ขยับ

2. ถ้าไม่ผ่าตัด ไม่ได้เล่นกีฬาหนัก อาจจะวิ่งออกกำลังบ้าง จะมีปัญหาอะไรในอนาคตไหมครับ

3. ผ่าตัดซ่อมแต่เอ็น โดยไม่ต้องตัดกระดูกได้ไหมครับ

งงกับตัวเองและผลการตรวจครับ รบกวนคุณหมอให้คำแนะนำหน่อยนะครับ

ขอบคุณครับ

อายุ: 45 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 67 กก. ดัชนีมวลกาย : 0.00 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
ผศ.ดร.นพ. ภาสกร วัธนธาดา

(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา และการวิเคราะห์การเคลื่อนไหว)

6 พฤศจิกายน 2555 15:56:13 #2

ขอตอบคุณ chansak.dhanaphatana ตามที่ถามมานะครับ ขอออกตัวก่อนนะครับว่าผมไม่ได้เป็นศัลยแพทย์ ดังนั้นคำถามข้อ 3 ขอไม่ตอบนะครับเนื่องจากเป็นเทคนิคของการผ่าตัดซึ่งผมไม่ได้ติดตามความรู้ในเรื่องของเทคนิคเหล่านี้ รวมทั้งศัลยแพทย์แต่ละคนที่ฝึกมาจากสถาบันที่ต่างกันก็อาจจะทำการผ่าตัดด้วยเทคนิคที่ต่างกันได้ ดังนั้น คุณจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษาคุณ จะได้คำตอบที่เหมาะสมกับกรณีของคุณที่สุดครับ

 

1. ในเรื่องของ MRI ผมไม่ได้เป็นรังสีแพทย์ แต่เคยคุยกับรังสีแพทย์เรื่องความผิดพลาดว่าเกิดขึ้นได้บ้าง ไม่มากครับ อุปมาอุปไมยให้เข้าใจได้อย่างง่ายๆ คือ ภาพเกิดจากจุดสีต่างๆมารวมเป็นภาพ หากสัญญาณมีการรบกวนหรือสั่นไหวบ้าง ก็ทำให้ภาพที่เห็นต่างไปจากที่ควรจะเป็นได้

อย่างไรก็ตาม เรื่องการบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้า (Anterior Cruciate Ligament, ACL) ของคุณ chansak.dhanaphatana มีโอกาสอ่านผิดได้น้อยครับ เพราะอ่านว่าขาดทั้งเส้น การที่จะอ่านผิดเป็นเอ็นขาดทั้งเส้นนั้นต่ำเพราะถ้าเป็นภาพผิดเพี้ยน พื้นที่ที่มีจุดสีเพี้ยนต้องเป็นบริเวณที่กว้างมาก จึงมีโอกาสต่ำมาก ร่วมกับที่อ่านพบว่ามีกระดูกหน้าแข้ง (tibia) เคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อยนั้นเกิดจากที่ ACL มีหน้าที่ยึดไม่ให้ tibia เคลื่อนไปข้างหน้าขณะที่มีการเหยียดขา แต่เมื่อ ACL ขาดทั้งเส้น กระดูกหน้าแข้งจึงเคลื่อนออกไปด้านหน้าผิดจากตำแหน่งที่ควรจะเป็นครับ

ส่วนอื่นที่พบการบาดเจ็บคือ เอ็นไขว้หลัง (Posterior cruciate ligament, PCL)ขาดบางส่วนที่บริเวณยึดติดกับ tibia เอ็นด้านนอกของข้อเข่า (lateral collateral ligament, LCL) มีการขาดบางส่วนด้วย เอ็นด้านในของข้อเข่า (medial collateral ligament, MCL)มีการอักเสบครับ เอ็นด้านข้างกระดูกสะบ้าด้านในมีการฉีกขาดบางส่วน (medial patellar retinacular) พบน้ำในข้อเข่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะที่ด้านหลังส่วนบนของกระดูกสะบ้า ส่วนเรื่องรอยฟกช้ำที่กระดูก (bone contusion)หลายตำแหน่งมักดีขึ้นเองได้ครับแต่ใช้เวลาสักหน่อย

ที่คุณบอกว่าตอนตรวจ ยกขาท่อนล่าง ดูไม่เป็นไร ไม่ขยับ จริงๆมีโอกาสตรวจผิดได้ จากแรงที่แพทย์ออกแรงดึงเพื่อการตรวจอาจไม่เท่ากันทุกครั้ง รวมทั้งในคนที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังแข็งแรงในมุมที่มีการงอเข่า 30-90 องศา กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังจะออกแรงชดเชยการยึดของ ACL กับ tibia ได้ทำให้ตรวจผิดได้ครับ

 

2. เรื่องการผ่าตัด ผมแนะนำว่าควรผ่าตัดเพราะการขาดของ ACL ของคุณเป็นแบบขาดจากกันทั้งเส้น โดยปกติแพทย์จะดูหลายปัจจัยครับ หากจะเลือกทำกายภาพบำบัด เช่น ไม่ขาดทั้งเส้น อายุ ส่วนใหญ่จะใช้ที่มากกว่า 50 และไม่คิดจะทำกิจกรรมหนัก เป็นต้น แต่ในกรณีของคุณที่อายุน้อยกว่า 50 ยังคิดจะวิ่งออกกำลังกาย และการบาดเจ็บเป็นการขาดทั้งเส้น ควรเลือกทำการผ่าตัด ก็น่าจะดีกับข้อเข่าในระยะยาวมากกว่าเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการวิ่งต่อหมอนรองกระดูกและกระดูกอ่อนในอนาคต ที่แพทย์ให้รอการผ่าตัดเพราะ PCL, LCL, MCL, Patellar Retinaculumที่บาดเจ็บมีอาการดีขึ้นก่อน เมื่อผ่าตัด ACLเอ็น PCL, LCL, MCL, Patellar Retinaculumจะได้ช่วยรับน้ำหนักในการเคลื่อนไหวได้ดีครับ รวมทั้งการอักเสบของข้อหรือที่มีน้ำในข้อเพิ่มอาจจะลดลง ลดการบวมทำให้การผ่าตัดง่ายขึ้น ทำให้แผลบวมหลังผ่าตัดไม่มากนักครับ การทำกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัดเมื่อส่วนอื่นของข้อเข่าหายบาดเจ็บ จะดีขึ้นได้รวดเร็วกว่าทำการผ่าตัดในขณะที่มีส่วนอื่นของข้อเข่ายังบาดเจ็บอยู่ครับ

Chan*****a

7 พฤศจิกายน 2555 09:49:56 #3

ขอบพระคุณคุณหมอ ที่ให้ความกระจ่างนะครับ

รบกวนสอบถามอีกนิด

1. ผมล้มขาบิดออกข้างนอก เข่าด้านในกระแทกพื้น คุณหมอท่านแรกบอกว่า เอ็นข้างด้านในขาด MCL, แต่ผล MRI ที่คุณหมอแปลให้ว่าเอ็นด้านนอกขาด LCL แต่ MCL แค่อักเสบ - เป็นไปได้เหมือนกันใช่ไหมครับ

2. ระหว่างรอให้เอ็นส่วนอื่นหายดี ก่อนผ่าตัด เห็นคุณหมอท่านบอกว่าไม่รีบ เลยอยากจะไปผ่าประมาณสิ้นมีนาปีหน้าครับ เมษาจะได้พักพื้น ลางานน้อนหน่อยครับ เพราะลาไปแล้วตอนล้มที่แรก

     - จะมีปัญหาไรไหมครับ หรือต้องรีบผ่า

     - ควรเตรียมตัวออกกำลังสร้างกล้ามเนื้อไว้ก่อนไหมครับ อย่างไร ท่าไร ดีครับ  (ออกกำลังโดยนั่งเกร็งยกขาตรง กับ นอนพับข้อเท้า โดยมีน้ำหนักประมาณ 1Kg ถ่วงดีไหมครับ  จะทำให้บวมไหมครับตอนนี้)

ขอบพระคุณครับ 

ผศ.ดร.นพ. ภาสกร วัธนธาดา

(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา และการวิเคราะห์การเคลื่อนไหว)

8 พฤศจิกายน 2555 15:45:00 #4

ขอตอบคำถามของคุณ chansak.dhanaphatana เป็นข้อๆตามลำดับที่ถามมานะครับ

  1. การบิดของเข่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เอ็นทั้ง MCL และ LCL บาดเจ็บเล็กน้อยจนถึงการฉีกขาดได้ทั้งสองเส้นครับ ส่วนการกระแทกของ LCL กับพื้นทำให้เกิดการบาดเจ็บกับ LCL ได้ครับ
    การตรวจร่างกายโดยแพทย์บางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดได้ครับ เนื่องจากขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บ จะมีกล้ามเนื้อและเอ็นที่บวมมากขึ้น และอาการเจ็บในขณะนั้นจะทำให้ปฏิกิริยาอัตโนมัติ (Reflex) ของร่างกายเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ป้องกันการเคลื่อนไหวของข้อเข่าบริเวณที่บาดเจ็บ และแพทย์อาจจะไม่พยายามตรวจโดยการเคลื่อนไหวเข่าให้มาก เพราะต้องออกแรงมากกว่าปกติ และกังวลว่าการตรวจที่ทำให้มีการเคลื่อนไหวจะทำให้เกิดการบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะถ้ามีการบาดเจ็บที่คาดว่าจะมีเอ็นบาดเจ็บมากกว่า 1 เส้นขึ้นไปแล้ว การทดสอบบางท่า ตรวจเอ็นบางเส้น ก็ทำให้เอ็นเส้นอื่นบาดเจ็บร่วมด้วยครับ ดังนั้นถ้าสงสัยเอ็นบาดเจ็บมากกว่า 1 เส้นมักจะส่งทำ MRI ดูการบาดเจ็บของเอ็นทุกเส้นไปพร้อมกันเลย ซึ่งจะเป็นวิธีที่เชื่อถือได้มากที่สุด
    คงจะไม่สามารถตอบได้ชัดเจนว่าการตรวจร่างกายกับผลของ MRI ที่แตกต่างกันเกิดจากการผิดพลาดขณะตรวจหรือมีอิทธิพลเรื่องของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องนะครับ เพราะฟังเรื่องระยะเวลาจากการบาดเจ็บจนถึงการตรวจ MRI ราว 1 เดือนครึ่ง ในระหว่างนี้อาจมีการบาดเจ็บเพิ่มเติมหรือการซ่อมแซมของเอ็นโดยร่างกายได้ ที่ผมคาดว่าน่าจะเป็นปัญหาจากการตรวจ คือ ไม่พบการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้า (ACL) น่าจะสำคัญกว่าผลการตรวจการบาดเจ็บของ MCL และ LCL ที่ไม่ตรงกับ MRI ครับ แต่ไม่แน่ใจว่ามีการบาดเจ็บเพิ่มเติมหลังการบาดเจ็บครั้งแรกหรือไม่ครับ

  2. การผ่าตัดช้าประเภทนี้ ไม่จำเป็นต้องทำรีบด่วนครับ รอเวลาที่พร้อมได้ เพื่อให้การอักเสบหายสนิท รวมทั้งมีเวลาบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรงจะเป็นผลดีต่อการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดครับ อย่างไรก็ดี ระยะนี้ต้องระวังการบาดเจ็บเพิ่มเติมครับ
    กล้ามเนื้อที่ควรเสริมสร้างมากที่สุด คือ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (hamstrings) ครับ เพราะกล้ามเนื้อนี้จะป้องกันการบาดเจ็บซ้ำของ ACL ซึ่งทำหน้าที่เดียวกันคือ ป้องกันไม่ให้เข่ามีการเหยียดไปด้านหน้ามากเกินไป
    ท่าการออกกำลังกายของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง คือ การงอเข่าจากตำแหน่งขาเหยียดตรงจนถึงด้านหลังน่องกับต้นขาสัมผัสกันครับ ดังในรูปการใช้ leg curl machine ครับ เนื่องจากกรณีคุณ chansak.dhanaphatana เป็นการบาดเจ็บ ACL grade 3 ขาดทั้งเส้น เข่าอาจจะขาดความมั่นคงพอสมควร และไม่ได้ออกกำลังกายมานานช่วงหนึ่ง ถ้าช่วงแรกออกกำลังกายกับ machine นี้ไม่ไหว ก็ลองทำโดยการนอนคว่ำงอเข่าเฉยๆก่อน เมื่อเริ่มเคลื่อนไหวได้สุดช่วง เข่ามีความยืดหยุ่นดีก็เริ่มหาถุงทรายมาผูกข้อเท้าหนัก 1-5 ปอนด์ตามความสามารถ ควรเริ่มจากน้ำหนักน้อยไปหามาก ถ้าทำได้จนรู้สึกไม่ลำบากแล้ว จึงค่อยมาเริ่มฝึกกับ leg curl machine เริ่มต้นไม่ควรใช้น้ำหนักมาก หากจะเพิ่มน้ำหนักแต่ละลำดับควรเพิ่มหลังจากใช้น้ำหนักนั้นแล้วอย่างน้อย 1 เดือน ที่สำคัญน้ำหนักต้องไม่มากไปจนเคลื่อนไหวได้ไม่สุดช่วงที่น่องสัมผัสต้นขาด้านหลัง และทำต่อเนื่องได้ 15 ครั้งต่อเซท ควรพักระหว่างเซท 1-2 นาที และทำอย่างน้อยวันละ 3 เซท ทำสัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง

 

ฝึกกับ leg curl machine
รูปประกอบอ้างอิงจาก: http://broncofit.blogspot.com/2011/02/one-rep-max-workout.html

Chan*****a

9 พฤศจิกายน 2555 09:54:24 #5

ขอบพระคุณ คุณหมอที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากครับ

จะเริ่มทำจากถุงทรายก่อนครับ